รีไซเคิลเปลือกหอยแมลงภู่ Quagga ที่รุกรานระบบนิเวศน์ กลายเป็น “กระเบื้องแก้ว” ตกแต่งเปลือกอาคาร
“กระเบื้องแก้ว” เป็นวัสดุตกแต่งที่ผลิตจากเปลือกหอยแมลงภู่ผสมกับทรายท้องถิ่น ซึ่งเปลือกหอยแมลงภู่ชนิดนี้คือสายพันธุ์ Quagga สายพันธุ์ของหอยแมลงภู่ที่รุกรานระบบนิเวศน์ จนเกิดปัญหาการอุดตันในอุโมงค์ส่งน้ำของแม่น้ำเทมส์ จนเป็นเหตุให้ต้องกำจัดออก และมักจะต้องฝังกลบเป็นจำนวนมาก โดยกระเบื้องแก้วจากเปลือกหอยแมลงภู่นี้ เป็นวัสดุตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ในอนาคต
“กระเบื้องแก้ว” วัสดุตกแต่งที่ถูกคิดค้นขึ้นจากการตั้งคำถามว่าจะสามารถนำมาใช้สร้างวัสดุหุ้มอาคารด้วยแนวคิดอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Katerina Dionysopoulou และ Billy Mavropoulos ผู้ก่อตั้ง Bureau de Change ได้ทำงานร่วมกับ Harrison นักศึกษาปริญญาโทสาขา Material Futures ที่ Central Saint ได้สร้างสรรค์วัสดุตกแต่งสำหรับงานสถาปัตยกรรม
โดย “กระเบื้องแก้ว” นั้นเป็นวัสดุที่มีความยั่งยืนอยู่แล้ว เมื่อนำทำเป็นวัสดุตกแต่งจึงสามารถรีไซเคิลได้ไม่จำกัด อีกทั้งการออกแบบยังได้แรงบันดาลใจมาจากเตาผิงดินเผาและลวดลายท่อน้ำของลอนดอน จุดเด่นของวัสดุคือลวดลายที่มีความสวยงามตามแบบของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของลอนดอน ที่สำคัญคือแต่ละแผ่นจะมีลักษณะของสีหรือลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
แหล่งอ้างอิง : https://www.dezeen.com/2022/05/19/thames-glass-tiles-mussels-bureau-de-change-lulu-harrison/
ผู้เขียนบทความ