คณะสถาปัตย์ฯ สจล. เปิดตัว ‘AAD CREATOR HUB’ จับมือภาคอุตสาหกรรม สร้างนวัตกรรมออกแบบยั่งยืน เชื่อมโลกการเรียนรู้สู่ภาคธุรกิจจริง
คณะสถาปัตย์ฯ สจล. เปิดตัว ‘AAD CREATOR HUB’ จับมือภาคอุตสาหกรรม สร้างนวัตกรรมออกแบบยั่งยืน เชื่อมโลกการเรียนรู้สู่ภาคธุรกิจจริง ภายใต้แนวคิด
‘We, The Future Creator ต้องเป็นนักสร้างสรรค์ ที่ไม่ทำลายโลก’
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “AAD CREATOR HUB” เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยร่วมมือกับพันธมิตรจากภาคอุตสาหกรรมหลักอย่าง ISOWALL, SJJ, วัสดุนิยม, FAMELINE, 4D8 Construction ที่ร่วมสร้างสรรค์พื้นที่เรียนรู้ใหม่ที่ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริงจากโจทย์จริง พร้อมผลักดันแนวคิดการออกแบบที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ Zero Carbon, Circular Economy และเป้าหมาย SDGs
ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะฯ กล่าวว่า
แนวคิดที่สืบทอดกันมาของคณะสถาปัตย์ลาดกระบัง คือ ลาดกระบังเรียนจบมาสามารถทำจริงได้เลย เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิด AAD CREATOR HUB เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างนักสร้างสรรค์กับเหล่าผู้ประกอบการ ที่จะเข้ามาสนับสนุนให้ผลงานเกิดขึ้นได้จริง ไม่เพียงแค่สนับสนุนทุนให้นักศึกษา แต่ยังรวมการสนับสนุนด้านวัสดุ เช่น อาคาร CREATOR HUB ซึ่งออกแบบโดยนักศึกษาสถาปัตย์ชั้นปีที่ 3 ก็ได้เห็นผลงานของตัวเองเกิดขึ้นจริงด้วยการสนับสนุนจากผู้ประกอบการ และกลายมาเป็นสถานที่สำหรับรองรับกิจกรรมดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นอกเหนือจากพันธมิตรหลักภายในงานแล้ว ยังมีกลุ่มเครือข่ายที่สนใจเข้าร่วมอีกกว่า 7 บริษัท โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคือ 1. เป็นพาร์ตเนอร์ที่เคยทำ MOU กับคณะสถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง 2. มีสินค้าที่สอดคล้องกับโครงการ 3. มีทิศทางของผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในอนาคต และระหว่างทางก็ทำให้นักศึกษาได้เห็นว่าผลงานจะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร ส่วนผู้ประกอบการเองก็จะเห็นถึงไอเดียใหม่ ๆ ที่มาจากนักสร้างสรรค์วัยเยาว์ เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ทำให้นักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการได้มาเจอกันเร็วขึ้นใน AAD CREATOR HUB แห่งนี้
โดยทาง ผศ.ดร.อันธิกา คาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการที่ทำให้ผลงานวิจัยเกิดขึ้นได้จริง ส่งผลกระทบให้โลกดีขึ้นได้ และปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษาเป็นนักสร้างสรรค์ที่ไม่ทำลายโลกไปพร้อมกัน
ท้ายที่สุด ผศ.ดร.อันธิกา ได้ฝากถึงนักศึกษาว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมจะไม่ใช่เรื่องไกลตัว ต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ เช่น หากเปลี่ยนแบบตรงนี้อีกนิดเดียวก็ลดการใช้พลังงานในอาคารได้ หรือการเลือกใช้วัสดุที่ลดผลกระทบต่อธรรมชาติมากขึ้น เพียงเท่านี้ นักสร้างสรรค์ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โลกของเรามีความยั่งยืนได้
ไม่เพียงเท่านั้น InnovatorX มีโอกาสได้สัมภาษณ์ตัวแทนจากพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมของ AAD CREATOR HUB ว่ามีมุมมองและความคาดหวังต่อโครงการนี้อย่างไรต่อโครงการมาฝากกันอีกด้วย
คุณสายฝน เขียวเกิด Chief Executive Officer ตัวแทนจาก SJJ Group ผู้พัฒนานวัตกรรมวัสดุเมทัลชีท กล่าวว่าสิ่งสำคัญของการเข้าร่วมโครงการคืออยากให้เหล่านักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุจริงโดยเฉพาะวัสดุเมทัลชีท ที่ในปัจจุบันนั้นเมทัลชีทพัฒนาไปไกลมากกว่าแค่เป็นวัสดุมุงหลังคา หรือแม้แต่นวัตกรรมที่เป็นจุดเด่นล่าสุดของ SJJ คือ ใช้วัสดุที่ได้รับมาตรฐานจากออสเตรเลีย อย่างนวัตกรรม COLORBOND เมทัลชีทเคลือบสี
จากบลูสโคป ที่ช่วยป้องกันการเกิดฝุ่นและสามารถทำความสะอาดตัวเองได้จากการชะล้างออกด้วยน้ำฝน อีกทั้งยังลดการดูดซับความร้อนทำให้ประหยัดพลังงาน โดย SJJ หวังว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนนักศึกษาให้มีมุมมองที่กว้างขึ้นผ่านวัสดุเมทัลชีท
คุณพรอนันต์ เปลี่ยนสมาน ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ตัวแทนจาก Thai ISOWALL ผู้พัฒนาผนังกันเสียงและฉนวนความร้อน ซึ่งก็ได้ใช้ทำหลังคาของอาคาร AAD CREATOR HUB ด้วย กล่าวว่าทาง ISOWALL อยากสนับสนุนให้นักศึกษาได้ปรับตัวเพื่อรู้จักวัสดุก่อสร้างใหม่ ๆ ในยุคปัจจุบันที่มีอัตราค่าแรงสูงขึ้นก่อนที่จะออกไปทำงานจริง ในด้านเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสนับสนุนโครงการนี้คือตัววัสดุที่มีจุดเด่นด้านคุณสมบัติการทนไฟทำให้นำมาใช้ในอาคารที่อยู่อาศัยได้ และในกรณีที่เกิดการลุกไหม้จะไม่ปล่อยแก๊สพิษออกมา และมีจุดเด่นที่ตามมาคือช่วยประหยัดพลังงาน ลดระยะเวลาในการติดตั้งเพราะสามารถถอดประกอบได้อย่างง่ายนั่นเอง
คุณสิรวิชญ์ มั่นคงธนาภรณ์ Founder & CEO ตัวแทนจากบริษัทวัสดุนิยมจำกัด ผู้พัฒนาวัสดุปูพื้นและผนังที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้พูดถึงความตั้งใจของทางแบรนด์ที่อยากให้ตลาดได้มีความรู้ความเข้าใจและใช้วัสดุทดแทนไม้ที่แพร่หลายมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทดแทนวัสดุธรรมชาติของวัสดุนิยมนั้น ไม่เพียงแค่ใช้แทนเพื่อลดการใช้วัสดุจริงจากธรรมชาติ แต่ยังสามารถนำมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ Upcycle WPC ซึ่งได้ร่วมพัฒนากับทาง AAD จึงอยากช่วยผลักดันนักศึกษาและนักสร้างสรรค์ให้เห็นถึงความสามารถของวัสดุทดแทนธรรมชาติในยุคปัจจุบัน
คุณชยกฤต พงศ์ภพไพบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการ ตัวแทนจาก FAMELINE Product ผู้พัฒนาวัสดุอลูมิเนียมเพื่ออาคารและสถาปัตยกรรม กล่าวว่าการที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ทำให้แบรนด์ได้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และความต้องการของนักออกแบบทั้งจากนักศึกษาและอาจารย์ที่จะทำให้ FAMELINE ได้นำไปพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ โดยสินค้าใหม่ที่ตรงกับความต้องการของ AAD คือ วัสดุอลูมิเนียมคอมโพสิตชนิดไส้กลางเป็นรังผึ้ง โดยมีการเพิ่มสารหน่วงไฟ ทำให้ไม่ลามไฟเพิ่มความปลอดภัยกับอาคาร ส่วนไส้กลางที่เป็นลักษณะรังผึ้งทำให้มีโครงสร้างแข็งแรง เหมาะกับงานชิ้นใหญ่ ๆ มากขึ้น นอกเหนือจากนั้น FAMELINE ยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยวัสดุทุกอย่างสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด ลดการเกิดขยะจากการก่อสร้าง และพร้อมที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับวัสดุคืนให้กับนักศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจแล้วต่อยอดในการใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น
เรียกได้ว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างมากต่อนักออกแบบรุ่นใหม่และต่อโลก InnovatorX เองก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประชาสัมพันธ์โครงการดี ๆ นี้ และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าองค์กรและบุคคลที่เล็งเห็นถึงเป้าหมายเดียวกันกับทางคณะสถาปัตย์ลาดกระบัง จะเข้ามาร่วมมือช่วยผลักดันแวดวงการออกแบบบ้านเราให้ไปสู่ Net Zero ไปด้วยกันครับ!
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางฟีเจอร์ต่างๆดังนี้
Search - ค้นหา และจัดเก็บ ทั้งไอเดีย และสินค้า และบริการสำหรับการออกแบบตกแต่ง
Sourcing - จัดหาสินค้า และเปรียบเทียบราคาโดยการติดต่อ ผ่านแบรนด์ต่างๆ หรือบริการในแพลตฟอร์ม
Spec - เครื่องมือสเปคข้อมูลวัสดุ โดยแสดงข้อมูลเพื่อการออกแบบ เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงลึก ทั้งการติดตั้ง ขนาด ราคา และรีวิวการใช้งาน
แบรนด์ / ผู้จัดจำหน่ายสามารถเปิดโปรไฟล์ และอัพโหลดสินค้าได้ฟรี
ติดต่อเราที่ 02-714-0454
Email: contact@wazzadu.com ... อ่านเพิ่มเติม