Breathe Brick อิฐหายใจได้ นวัตกรรมอิฐที่ช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศ เสมือนเครื่องดักจับฝุ่น

Breathe Brick เป็นวัสดุที่จะถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร ทำหน้าที่เสมือนอิฐที่หายใจได้และกรองฝุ่นจากอากาศภายนอกก่อนจะเข้าไปสู่ภายในบ้าน โดยอิฐ Breathe Brick เป็นนวัตกรรมวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Carmen Trudell ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะสถาปัตยกรรม Poly San Luis Obispo และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Both Landscape and Architecture

Breathe Brick มีการทำงานอย่างไร?

Breathe Brick ส่วนประกอบสำคัญสองส่วน ได้แก่ คอนกรีตอิฐ และคอปเปลอร์พลาสติก เป็นอิฐที่ทำมาจากคอนกรีตพรุนซีแพค ส่วนกลางด้านในมีการติดตั้งระบบดักฝุ่นแบบไซโคลนอยู่ภายใน ซึ่งจะแยกอนุภาคฝุ่นหรือมลพิษออกจากอากาศและทิ้งลงในถังพักแบบถอดได้ที่ฐานของผนัง การกรองฝุ่นและมลพิษจากอากาศของ Breathe Brick จะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับการหมุนของพายุไซโคลน และแบ่งการหมุนวนเพื่อกรองอากาศออกเป็น 2 ชั้น โดยมีการคาดการณ์ว่าหากพัฒนาต่อยอดไปได้ ก็จะช่วยป้องกันทางด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศหรือฝุ่น ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยากในยุคปัจจุบัน

ปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบกันท้วนหน้าไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อีกหลายประเทศทั่วโลกก็ต้องเผชิญเช่นเดียวกัน ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับฝุ่นละออง PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนเป็นวงกว้าง เพราะสามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด ก่อให้เกิดการระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ และที่อันตรายที่สุดอาจเสี่ยงถึงขั้นเป็นมะเร็งปอด และปัญหานี้เป็นปัญหาที่ยังไม่มีวิธีแก้ไขที่จะทำให้หายขาดได้ แต่ก็มีหลายประเทศที่พยายามคิดค้นนวัตกรรมทางด้านวัสดุ ที่จะมาช่วยในการลดหรือแก้ปัญหาด้านสุขภาพทางเดินหายใจของผู้คน

แหล่งอ้างอิง

www.archdaily.com/771767/this-innovative-brick-sucks-pollution-from-the-air-like-a-vacuum-cleaner?ad_medium=gallery

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ