หน้ากากกระดาษฟางข้าวฝังเมล็ดของดอกไม้ ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 100%

นั้บตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ขยะจากหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งก็กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และระบบการจัดการขยะอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้เกิดเป็นไอเดียการคิดค้นหน้ากากอนามัยที่สามารถย่อยสลายได้ 100% โดยมีวัสดุที่ทำจากกระดาษข้าวและฝังเมล็ดดอกไม้ เรียกว่า “Marie Bee Blooms”

Marianne de Groot กราฟฟิกดีไซเนอร์ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เกิดไอเดียการสร้างสรรค์หน้ากากอนามัยที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ 100% วัสดุที่นำมาใช้เป็นวัสดุจากธรรมชาติ ทั้งสายคล้องหูที่ทำมาจากขนแกะ ตัวหน้ากากที่ทำจากกระดาษฟางข้าว ถูกฝังเมล็ดของดอกไม้ท้องถิ่นเอาไว้ภายใน เมื่อหน้ากากนี้ถูกใช้เสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไปฝังลงดินก็จะเติบโตขึ้นกลายเป็นดอกไม้ที่สวยงาม

หน้ากากอนามัยแทบจะกลายเป็นอุปกรณจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคนี้ เพราะโรคระบาดและอากาศที่แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันปัญหาขยะจากการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไอเดียการใช้หน้ากากอนามัยที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาตินี้ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดีๆ ที่หากนำมาใช้งานได้อย่างแพร่หลาย เพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต

แล้วคุณล่ะ คิดว่าไอเดียนี้สามารถนำมาต่อยอดใช้งานได้ในระยะยาวหรือไม่?

แหล่งอ้างอิง

www.dezeen.com/2021/05/07/marie-bee-bloom-flower-seed-face-mask-design

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ