นวัตกรรมเส้นใยไผ่ตง ทางเลือกใหม่ของวัสดุธรรมชาติเพื่อสิ่งแวดล้อม

ในยุคปัจจุบัน ปัญหามลภาวะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุธรรมชาติที่ยั่งยืน อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีการใช้ทรัพยากรสูง และผลิตขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะจากเส้นใยสังเคราะห์ที่ทำจากปิโตรเคมี ซึ่งใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย และโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library ได้พบกับงานวิจัยงานหนึ่งที่มาจากวัสดุธรรมชาติ

 

ซึ่งวัสดุธรรมชาติ เช่น ฝ้าย, ป่านและไผ่ กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะไผ่ ด้วยความเป็นพืชที่เติบโตเร็ว ใช้น้ำน้อยและสามารถปลูกหมุนเวียนได้ ทำให้เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงสิ่งทอและวัสดุตกแต่ง นอกจากนี้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังช่วยให้สามารถพัฒนาเส้นใยไผ่ที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้สามารถนำไปผลิตเป็นเสื้อผ้าและของใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

และงานวิจัยนี้คือ...

 

ชื่องานวิจัย : การพัฒนาเส้นใยไผ่ตงผสมสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อม
เจ้าของผลงาน : นางชลธิชา สาริกานนท์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

การวิจัยนี้ยืนยันว่าเส้นใยไผ่ตงเป็นวัตถุดิบยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมีคุณสมบัติดูดซับความชื้นและระบายอากาศดี เมื่อนำมาผสมเส้นใยพอลิเอสเตอร์รีไซเคิลในสัดส่วน 30:70 จะได้เส้นด้ายที่แข็งแรงและมีผิวสัมผัสเฉพาะตัว ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นได้รับความพึงพอใจจากผู้บริโภคสูงถึง 84.7% อีกทั้งช่วยลดการใช้สารเคมี ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สีเขียว และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

 

ไผ่ตงไม่ได้เป็นเพียงพืชเศรษฐกิจที่เติบโตเร็ว แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของชุมชน การปลูกไผ่ตงช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีมากเท่ากับพืชบางชนิด เช่น ฝ้าย อีกทั้งยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ ทำให้มีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน

 

ในด้านเศรษฐกิจ ไผ่ตงเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้ทั้งในรูปแบบของเส้นใยธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ และใช้ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายใน การนำเส้นใยไผ่ไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับไผ่ตง และช่วยสร้างโอกาสให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการมุ่งสู่ความยั่งยืน

คุณสมบัติของไผ่ตงที่เหมาะกับการเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

ไผ่ตง (Dendrocalamus asper) เป็นไผ่เศรษฐกิจที่มีการเพาะปลูกอย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเด่นที่เหมาะสำหรับการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ดังนี้

 

1. เส้นใยยาวและเหนียว : ไผ่ตงมีเส้นใยที่ยาวกว่าพืชบางชนิด ทำให้ทอเป็นผ้าได้ง่าย และมีความแข็งแรงสูง

2. ระบายอากาศและดูดซับความชื้นได้ดี : โครงสร้างของเส้นใยไผ่มีรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้สามารถดูดซับเหงื่อได้ดี และช่วยระบายความร้อน เหมาะกับการทำเสื้อผ้าและชุดกีฬา

3. ลดการสะสมของแบคทีเรีย : เส้นใยไผ่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียโดยธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดกลิ่นอับและความอับชื้น ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเสื้อผ้า เครื่องนอน และวัสดุตกแต่ง

4. ความอ่อนนุ่มและเป็นมิตรกับผิว : เส้นใยไผ่มีพื้นผิวที่เรียบเนียนและนุ่มนวล ทำให้เหมาะสำหรับการทำผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และเครื่องแต่งกาย

5. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : ไผ่สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีมากเท่ากับพืชเศรษฐกิจอื่น เช่น ฝ้าย นอกจากนี้ กระบวนการผลิตเส้นใยไผ่ยังสามารถลดการใช้สารเคมีให้น้อยลงได้

6. สามารถผสมกับเส้นใยพอลิเอสเตอร์รีไซเคิล : งานวิจัยพบว่าการผสมเส้นใยไผ่ตงกับพอลิเอสเตอร์รีไซเคิลในสัดส่วน 30:70 ช่วยให้เส้นด้ายมีความแข็งแรงขึ้น และสามารถใช้ผลิตสินค้าในระดับอุตสาหกรรมได้

 

ด้วยคุณสมบัติที่ดีทั้งด้านความแข็งแรง ความอ่อนนุ่ม ความสามารถในการระบายอากาศ และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนานวัตกรรมเส้นใยไผ่สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดวัสดุยั่งยืน ไม่เพียงแต่ช่วยลดขยะและมลพิษ แต่ยังเป็นก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและวัสดุตกแต่งในอนาคต

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ