GREAT WRAP ฟิล์มถนอมอาหาร พลาสติกชีวภาพจากแป้งเปลือกมันฝรั่งที่ย่อยสลายได้
การใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้นเป็นจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยากมีอยู่มากมายและเพิ่มขึ้นทุกวัน ในปัจจุบัน จึงได้มีการคิดค้นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างเช่น ฟิล์มถนอมอาหาร Great Wrap ที่ถูกคิดค้นโดยบริษัทเอกชนในประเทศออสเตรเลีย โดยฟิล์มถนอมอาหาร Great Wrap สามารถย่อยได้เองตามธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาวัสดุกรีนที่น่าสนใจ
ฟิล์มถนอมอาหาร Great Wrap ทำมาจากแป้งที่ได้จากเปลือกมันฝรั่ง ที่เรียกว่า “เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช” ซึ่งถือเป็น bio-based product หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบทั้งหมดหรือบางส่วนที่ได้มาจากพืชและสามารถทดแทนทดแทนได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว แป้งจากพืชนั้นไม่สามารถขึ้นรูปได้โดยกระบวนการทางความร้อนเหมือนพลาสติกทั่วไป จึงจำเป็นต้องถูกพัฒนาแป้งให้เป็นเทอร์โมพลาสติกเพื่อให้กลายเป็นวัสดุที่สามารถขึ้นรูปได้เหมือนกับพลาสติกทั่วไป
การพัฒนาฟิล์มถนอมอาหาร Great Wrap เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ โดยการนำไปผสมเข้ากับสารยึดเหนี่ยว และส่วนผสมอื่นๆ รวมไปถึงน้ำมันที่ใช้แล้วจากการปรุงอาหาร จากนั้นจึงนำไปผ่านความร้อนจนทำให้ตัววัสดุมีความยืดหยุ่น และมีลักษณะโปร่งใส ไม่แตกต่างจากพลาสติกทั่วไป แต่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และนำไปใช้ทำจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักลักษณะเดียวกับเศษอาหารในครัวได้อีกด้วย
ผู้ผลิตได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ฟิล์มถนอมอาหาร Great Wrap สามารถเข้าไมโครเวฟได้โดยใช้ความร้อนต่ำในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้ความร้อนปานกลางหรือสูง และมีข้อจำกัดเรื่องการย่อยสลายในน้ำทะเล แต่ทางทีมพัฒนาก็ได้มีการปรับเพิ่มวัสดุที่ช่วยให้ Great Wrap สามารถย่อยสลายในน้ำทะเลได้
ฟิล์มถนอมอาหาร Great Wrap จากแป้งที่ได้จากเปลือกมันฝรั่ง ถือเป็นอีกหนึ่งวัสดุทางเลือกในแง่ของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดการลดขยะจากเศษอาหารและยังสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เป็นอีกหนึ่งไอเดียดีๆ ที่ Wazzadu Green Lab นำมาฝากผู้อ่านทุกท่านกันครับ
แหล่งอ้างอิง
- https://www.dezeen.com/2022/08/26/great-wrap-compostable-cling-film-alternative-potato-waste/
- http://asp.plastics.or.th/
ดูเนื้อหาอื่นๆ ด้าน Green & Sustainable Design เพิ่มเติมได้ที่
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม