Common sands กระเบื้องแก้วรีไซเคิลที่ทำมาจากเศษแก้ว และขยะอิเล็กทรอนิกส์

ภาพประกอบจาก

https://www.dezeen.com/awards/2021/longlists/common-sands-forite-tiles/

หากเราพูดถึงทรายทุกคนคงนึกถึงชายหาดหรือสนามเด็กเล่น แต่จริง ๆ ทรายถือทรัพยากรสำคัญที่ทำให้สังคมของเราขับเคลื่อนไปได้ด้วยเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แสงสว่าง การก่อสร้าง การสื่อสารที่รวดเร็ว        และการนำพลังงานมาใช้อย่างยั่งยืนล้วนมีทรายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

ภาพประกอบจาก

https://snohetta.com/projects/569-common-sands-forite

ในปัจจุบันหลาย ๆองค์กรมีความพยายามอย่างมากที่จะนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาแปรรูปเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแต่ก็ทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เมื่อหมดอายุการใช้งานก็มักจะใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้แล้ว

ภาพประกอบจาก

https://snohetta.com/projects/569-common-sands-forite

จากการวิจัยวัสดุและขยะต่าง ๆที่มีอยู่จำนวนมากโดย Studio Plastique Common Sands – Forite ได้พัฒนามาเป็นโครงการวิจัยร่วมกันระหว่าง Studio Plastique และ Snøhetta โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจประสิทธิภาพในการใช้งานของแก้ว E-waste รีไซเคิลผ่านต้นแบบ และรูปแบบต่าง ๆ มากมาย กระบวนการรีไซเคิลส่วนประกอบแก้วของขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนา นำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่จะแปรรูปทราย เศษแก้ว และขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็น กระเบื้องแก้ว Common sands

ในเวลาต่อมาผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกของอิตาลี Fornace Brioni ได้เข้าร่วมทีม โดยนำประสบการณ์ ความรู้ทางอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต และศักยภาพในการทำงานมาสนับสนุน และพัฒนาโครงการ Common sands ให้เกิดผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น

ภาพประกอบจาก

https://snohetta.com/projects/569-common-sands-forite

Common sands ได้รับการพัฒนาออกมาเป็นสองขนาดที่แตกต่างกัน มีทั้งแบบทึบ และโปร่งแสง โดยแต่ละแผ่นมีลวดลาย และการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยคุณภาพของวัสดุที่มีลักษณะเหมือนหินขัดสวยงาม จึงเหมาะสำหรับการใช้งานด้านสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย รวมถึงงานพื้นผิว  และเป็นส่วนประกอบของผนังกึ่งโปร่งแสง 

ภาพประกอบจาก

https://snohetta.com/projects/569-common-sands-forite

การร่วมมือระหว่าง Snøhetta, Studio Plastique และ Fornace Brioni นี้ สะท้อนให้เราได้มองเห็นถึงความท้าทาย ความทะเยอทะยานในการเปลี่ยนขยะไร้ค่าให้กลับมามีมูลค่า และสามารถใช้งานได้จริง 

สรุปประเด็นที่น่าสนใจของ Common sands

  1. เป็นนวัตกรรมการผลิตวัสดุรีไซเคิลจากเศษแก้ว และขยะอิเล็กทรอนิกส์ นำมาแปรรูปเป็นกระเบื้องแก้วสำหรับงานสถาปัตยกรรมไม่ว่าจะเป็นงานพื้นผิว หรือส่วนประกอบของผนังโปร่งแสง ที่สามารถช่วยลดโลกร้อน และเป็นการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  2. Common sands ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทำให้เราหันมามองเห็นคุณค่าของทรัพยากรทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆอย่างคุ้มค่า รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาทำให้คุณภาพชีวิตยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

อ้างอิงจาก

  • https://snohetta.com/projects/569-common-sands-forite
  • https://www.dezeen.com/awards/2021/longlists/common-sands-forite-tiles/#:~:text=Common%20Sands%20%E2%80%94%20Forite%20is%20a,discarded%20ovens%20and%20microwave%20ovens.

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่

Material and Design Innovation

อ่านเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Wazzadu Green ได้ที่

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ