Landprocess ภูมิสถาปนิกหญิงไทยคว้ารางวัล UN สู้โลกร้อน
คุณกชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกหญิงไทย ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท Landprocess และ Porous City Network ได้รับรางวัล“2020 UN Global Climate Action Awards”สาขา Women for Results ซึ่งเป็นผลงานออกแบบภูมิทัศน์ของสวนที่โดดเด่นในด้านการแก้ปัญหาด้วยธรรมชาติ เพิ่มความสามารถในการปรับตัวของเมือง ทำให้กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี และสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา เพื่อตอบโจทย์คนเมืองที่ต้องการพื้นที่สีเขียวและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่มากขึ้น
“อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ” ตั้งอยู่บนพื้นที่ 28 ไร่ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ใกล้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นี่ออกแบบเน้นให้มีพื้นที่ที่สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย และยังสร้างเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดกับนิสิตและคนในชุมชน เน้นปลูกต้นไม้ท้องถิ่น
"อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ป็นอาคาร 3 ชั้นที่สร้างเป็นรูปตัว H สื่อความหมายถึงคำว่า Humanity หรือความเท่าเทียมเสมอกันของพลเมืองไทยทุกคน มีความลาดเอียงไล่ระดับเหมือนเนินดินขนาดยักษ์ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 60,000 ตารางเมตร
ความโดดเด่นนั้นอยู่ที่ "สวนป๋วย" หรือ Puey Park for the People ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสวนบนหลังคาของอาคาร โดยเป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า (green roof urban farm) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ประกอบด้วยนาข้าวขั้นบันได แปลงปลูกผักออแกนิก พืชสมุนไพร ที่นี่เปิดเป็นสาธารณะประโยชน์ให้คนทั่วไปได้เข้าใช้
"สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา" อยู่ระหว่างกลางสะพานพระปกเกล้าและสะพานพุทธยอดฟ้า เป็นสวนลอยฟ้าข้ามแม่น้ำแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกของโลก เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางสัญจรทางเท้าและจักรยานระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร พร้อมจุดชมวิวที่แสนสวยงามกลางแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวเพียง 280 เมตร และกว้างเพียง 8.50 เมตร
ทำเป็นสโลปทางเดินต่างระดับให้สามารถใช้พื้นที่กันได้อย่างเต็มที่ โดยได้มีการติดตั้งราวกันตกความสูงประมาณ 2-3 เมตร รวมทั้งติดตั้งลิฟต์สำหรับผู้พิการบริเวณทางขึ้นลงสองฝั่ง ทั้งฝั่งสวนสมเด็จพระปกเกล้าฯ เขตพระนคร และสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ เขตคลองสาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุ
ทีมงาน Wazzadu ขอแสดงความยินดีกับอีกหนึ่งภูมิสถาปนิกที่มีผลงานโดดเด่นและรักษ์โลกอย่าง Landprocess อีกครั้งครับ
อ้างอิงจาก
- https://unfccc.int/climate-action/momentum-for-change/women-for-results/nature-based-solutions?fbclid=IwAR230oN52-uliD5ec-3u_-s07LkZujQqkAAlcWsFWWNiK_2ti1LNU0PcTTw
- https://mgronline.com/travel/detail/9630000114371
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม