หลักการจัดวางสุขภัณฑ์ห้องน้ำแต่ละรูปแบบ (Bathroom layout in Architectural)
ห้องน้ำถือเป็นส่วนสำคัญภายในบ้านและอาคารเป็นอย่างมาก นอกจากจะใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไปแล้ว ห้องน้ำยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยลดความเหนื่อยล้า และเพิ่มความผ่อนคลายให้กับอาคารได้ หากได้รับการออกแบบและดูแลอย่างดี
โดยการจัดวางสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างสะดวก และสบาย นอกจากนี้การจัดวางให้ถูกหลักการออกแบบห้องน้ำนั้นยังช่วยป้องกันเรื่องอุบัตติเหตุที่จะเกิดขึ้นภายในห้องน้ำได้อีกด้วย
โดยวันนี้ Wazzadu Encyclopedia ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ หลักการจัดวางสุขภัณฑ์ห้องน้ำในงานสถาปัตยกรรม (Bathroom layout in Architectural) โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ
หลักการจัดวางสุขภัณฑ์ห้องน้ำในงานสถาปัตยกรรม (Bathroom layout in Architectural)
การออกแบบและเลือกวัสดุภายในห้องน้ำ
- แยกส่วนแห้งส่วนเปียก ห้องน้ำควรแยกส่วนแห้งกับส่วนเปียก ส่วนแห้งเป็นส่วนที่มีน้ำเลอะเทอะพื้นน้อย ได้แก่ อ่างล้างหน้า โถปัสสาวะ โถชักโครก ส่วนเปียกเป็นส่วนที่มีน้ำเปียกพื้นมาก ได้แก่ส่วนอาบน้ำ ทั้งนี้ควรแยกสองพื้นที่ออกจากกันด้วยการกั้นผนังหรือใช้ม่านห้องน้ำ
- ห้องน้ำควรอยู่ในจุดที่แสงแดดเข้าถึง โดยเฉพาะส่วนเปียก ห้องน้ำจะได้ไม่อับและไม่มีเชื้อราขึ้น โดยแนะนำให้วางผังห้องน้ำให้อยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของอาคาร
- ระบายอากาศด้วยหน้าต่าง ห้องน้ำควรมีช่องระบายอากาศเพื่อลดกลิ่นภายในห้องน้ำ โดยสามารถติดตั้งพัดลมดูดอากาศเพิ่มเติมได้
- วางสุขภัณฑ์ให้ถูกที่ การวางสุขภัณฑ์ควรเรียงลำดับจากการใช้งานไล่ตั้งแต่โซนแห้งไปโซนเปียก ควรวางอ่างล้างมือให้อยู่ใกล้กับประตูมากที่สุด แล้วถัดไปจึงเป็นโถปัสสาวะ และโถชักโครก แล้วจึงเป็นส่วนอาบน้ำหรืออ่างน้ำ
จัดวางสุขภัณฑ์แบบแยกพื้นที่อาบน้ำและกั้นห้องสุขา
- แยกพื้นที่อาบน้ำและห้องสุขาออกจากกัน โดยเว้นตรงกลางเป็นโซนแห้งสำหรับอ่างล้างหน้าและช่องทางเดิน
- เหมาะสำหรับห้องน้ำที่ต้องการแบ่งพื้นที่กิจกรรมอย่างชัดเจนและลดกลิ่นภายในห้องน้ำ สามารถใช้ห้องน้ำพร้อมกันได้ในกรณีที่อยู่มากกว่า 2 คน
จัดวางสุขภัณฑ์แบบแยกโซนแห้งและโซนเปียก
- การจัดวางสุขภัณฑ์ลักษณะนี้มักพบเห็นได้ตามหอพัก อพาร์ทเมนต์ หรือคอนโดมิเนียมห้องสตูดิโอ เนื่องจากมีพื้นที่ค่อนขข้างน้อย
- โดยทำการแบ่งพื้นที่เป็นสองฝั่ง และเว้นช่องทางเดินตรงกลาง
จัดวางสุขภัณฑ์แบบมีอ่างล้างหน้ายาวและชั้นวางของ
- การจัดวางลักษณะนี้เหมาะกับผู้ใช้งานที่มีสิ่งของวางค่อนข้างมาก โดยการเลือกใช้เป็นอ่างล้างหน้ายาว และติดตั้งชั้นวางของใต้อ่างอีกชั้น
- เว้นช่องตรงกลางไว้เป็นทางเดิน สามารถเปิดประตูเข้าได้แค่ตรงกลาง
จัดวางสุขภัณฑ์แบบไล่ลำดับโซนแห้งและเปียก
- การจัดวางลักษณะนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เหมาะกับอาคารทุกประเภท โดยเรียงลำดับสุขภัณฑ์ ตามลำดับความแห้งไปเปียกมากที่สุด
- สามารถทำช่องประตูได้ทั้งตรงกลางและเข้าทางด้านข้าง
นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว การจัดวางและเลือกสุขภัณฑ์ ยังควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น
- การจัดวาง และเลือกสุขภัณฑ์เหมาะสมกับขนาดตัวของผู้ใช้ โดยอ้างอิงได้จากหลัก Human Scale ในงานสถาปัตยกรรม
- เน้นฟังก์ชั่นการใช้งาน มากกว่าความสวยเพื่อความสะดวกสบาย และปลอดภัย
- หากมีผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ควรออกแบบห้องน้ำให้ถูกหลัก Universal Design หรือการออกแบบเพื่อคนทุกคน
เป็นต้น
องค์ความรู้ทฤษฏีการออกแบบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia
อ้างอิงข้อมูลจาก
- Lfdesign_bayarea
- baania.com
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม