หลักการออกแบบห้องน้ำในงานสถาปัตยกรรม (Bathroom design in Architectural)

ห้องน้ำถือเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในอาคาร การออกแบบห้องน้ำให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย และน่าใช้งาน ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงภายในห้องน้ำ ความสวยงาม สไตล์ของห้องน้ำ ความปลอดภัย การออกแบบให้ถูกสุขลักษณะ และออกแบบให้เหมาะสมตามหลักสรีระศาสตร์ 

วันนี้ Wazzadu Encyclopedia ได้รวบรวมข้อมูล หลักการออกแบบห้องน้ำในงานสถาปัตยกรรม (Bathroom design in Architectural) เพื่อให้สถาปนิก นักออกแบบ และผู้ที่สนใจสามารถนำไอเดีย และความรู้ไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดในการทำงาน โดยจะมีหลักการออกแบบที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ 

หลักการออกแบบห้องน้ำในงานสถาปัตยกรรม (Bathroom design in Architectural)

  1. การจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสม  การจัดตำแหน่งของสุขภัณฑ์ในบริเวณห้องน้ำมีความสำคัญมาก การแบ่งโซนแห้ง โซนเปียกอย่างชัดเจน การติดตั้งสุขภัณฑ์ต้องคำนึงถึงการใช้งานจริง ทั้งความสูงต่ำ ความสะดวกสบายในการใช้งาน และจะต้องจัดวางตำแหน่งเหล่านั้นให้ดูไม่อึดอัดจนเกินไป เพื่อให้ดูแล และทำความสะอาดได้ง่าย
  2. การจัดแสงไฟในห้องน้ำ   การจัดแสงไฟภายในห้องน้ำ ควรมีความสว่างที่ไม่มากเกินไป หรือมืดเกินไปจนทำให้ห้องน้ำดูอึดอัด โดยสามารถเลือกใช้ได้ทั้งแสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ เช่น การเจาะช่องเปิดบนผนัง หรือหลังคาให้มีแสงธรรมชาติส่องผ่าน และการติดไฟหลืบไฟซ่อนใช้เทคนิคเล่นไฟให้ห้องน้ำดูสว่าง
  3. การระบายอากาศ  เนื่องจากห้องน้ำนั้นมีความชื้นที่สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะฉะนั้นควรมีหน้าต่างระบายอากาศ เพื่อให้อากาศเข้ามาถ่ายเท เพื่อช่วยให้ภายในห้องน้ำไม่อับจนเกินไป
  4. การเลือกพื้นกระเบื้องห้องน้ำ  การเลือกพื้นกระเบื้องในห้องน้ำก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ควรเลือกพื้นที่ไม่มีผิวลื่นจนเกินไป และไม่มีร่องเยอะจนทำให้ทำความสะอาดได้ยาก ควรเลือกพื้นที่สามารถดูแล และทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นคราบสบู่ และคราบน้ำ

ระยะห่างภายในห้องน้ำ บริเวณพื้นที่สำหรับโถชักโครก

  1. ระยะห่างระหว่างผนังไปยังขอบโถชักโครก ควรมีระยะห่างอย่างน้อย 60 เซนติเมตรขึ้นไป เพื่อเป็นช่องทางเดินเข้าไปยังโถชักโครก
  2. ระยะห่างระหว่างโถชักโครก และชั้นวางของภายในห้องน้ำ ควรมีระยะห่างอย่างน้อย 40 เซนติเมตร เพื่อให้หยิบสิ่งของได้สะดวก และน้ำไม่กระเด็นไปยังชั้นวางของ

ระยะห่างภายในห้องน้ำสำหรับ 1 คน และ 2 คน บริเวณพื้นที่อ่างล้างหน้า

  1. ระยะการติดตั้งอ่างล้างหน้าสำหรับผู้ใหญ่ควรมีความสูงจากพื้นอย่างน้อย 90 เซนติเมตร - 1 เมตร
  2. ระยะการติดตั้งอ่างล้างหน้าสำหรับเด็กควรมีความสูงจากพื้นอย่างน้อย   65 - 80  เซนติเมตร 
  3. การติดตั้งกระจก หรือตู้เก็บยาควรมีความสูงจากพื้น 1.30 เมตร และความสูงของกระจก หรือตู้เก็บยาจากพื้นไม่เกิน 1.80 เมตร

ระยะห่างของพื้นที่อ่างล้างหน้าภายในห้องน้ำ สำหรับ 2 อ่างล้างหน้า

  1. สำหรับห้องน้ำที่มี 2 อ่างล้างหน้า ควรมีระยะห่างระหว่างอ่างล้างหน้าหนึ่งไปยังอ่างล้างหน้าหนึ่ง 40 เซนติเมตรขึ้นไป เพื่อป้องกันน้ำกระเด็น และมีพื้นที่วางของ
  2. ช่องทางเดินหลังพื้นที่ทำกิจกรรมหน้าอ่าง ควรมีความกว้างของช่องทางเดินอย่างน้อย 75 เซนติเมตร

ขนาดความกว้างอ่างอาบน้ำ ขนาดสำหรับ 1 คน และ 2 คน

  1. การเตรียมพื้นที่ห้องน้ำ สำหรับวางอ่างอาบน้ำขนาดสำหรับ 1 คน ควรมีความกว้างอย่างน้อย 70 เซนติเมตร x 1.50 เมตร เหมาะสำหับห้องน้ำที่มีพื้นที่กว้างเพียงพอสำหรับอ่างขนาดมาตราฐานทั่วไป
  2. สำหรับห้องน้ำที่มีความกว้างค่อนข้างมาก สามารถเลือกใช้อ่างที่มีความกว้างพิเศษ ซึ่งมีขนาด 1.20 x 1.75 เมตรเป็นต้นไป 

ขนาดความกว้างของพื้นที่ สำหรับอ่างอาบน้ำ และฝักบัว

  1. ชั้นวางของควรมีความสูงจากระดับพื้น 1 เมตรขึ้นไป เพื่อให้สามารถหยิบจับสิ่งของได้สะดวก
  2. ระยะการติดตั้งวาล์วเปิด - ปิด ฝักบัวสูง 1.20 เมตร และวาล์วอ่างอาบน้ำสูงจากพื้น 85 เซนติเมตร

ระยะห่าง และขนาดความกว้างของห้องอาบน้ำ 

  1. ห้องอาบน้ำควรกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร ให้มีพื้นที่ชั้นวางอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ และราวจับกันล้ม
  2. สำหรับห้องอาบน้ำที่ต้องการที่นั่ง เก้าอี้ทีนั่งภายในห้องน้ำควรมีความสูง 40x30 เซนติเมตร

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการออกแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

อ้างอิงข้อมูลจาก

Human dimension & interior space by Julius Panero and Martin Zelnik

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ