หลักการออกแบบ "ห้องน้ำ" สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ (Universal Design Bathroom for Disabled & Elderly)
หลักการออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ (Universal Design for Bathroom) กับ Detail สำคัญในการออกแบบ ที่ให้ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน สามารถแบ่งรายละเอียดการออกแบบตามพื้นที่การใช้งานจุดต่างๆได้ดังนี้...
การเลือกใช้แสงสว่าง และการถ่ายเทอากาศภายในห้องน้ำ
- สีของวัสดุปูพื้น และผนัง ควรมีเฉดสีที่ต่างกับสีของชุดสุขภัณฑ์อย่างชัดเจน
- ทัศนวิสัยที่ชัดเจนในการมองเห็นคือสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ การออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการควรมีช่องแสงธรรมชาติส่องสว่างอย่างเพียงพอ เพื่อบรรยากาศที่สว่างปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด นอกจากนี้การเลือกใช้หลอดไฟควรเลือกใช้แสงสีขาว ซึ่งจะได้มุมมองที่ชัดเจนกว่าโทนแสงสีอื่นๆ
- ควรออกแบบช่องระบายอากาศให้สามารถถ่ายเทอากาศได้อย่างเหมาะสม อย่างน้อย 1 จุด เพื่อเพิ่มอากาศดีไล่อากาศเสีย ซึ่งจะช่วยลดความอับชื้น และการสะสมของเชื้อโรคภายในห้องน้ำได้
พื้นที่อาบน้ําแบบฝักบัว
- ต้องติดตั้งราวจับบนผนังทั้ง 3 ด้านของพื้นที่อาบน้ําสูงจากระดับพื้น 850- 900 มิลลิเมตร โดยราวจับต้องอยู่ห่างจากผนังด้านติดกันไม่เกิน 150 ยกเว้น เมื่อมีที่นั่งในพื้นที่อาบน้ําไม่ต้องมีราวจับในตําแหน่งเหนือที่นั่ง สําหรับ พื้นที่อาบน้ําทางเข้าแคบ ไม่ต้องติดตั้งราวจับบนผนัง ฝั่งตรงกันข้ามกับ ผนังควบคุมและเหนือที่นั่ง
- ที่นั่งแบบพับได้ จะมีรูปแบบเป็นแบบสี่เหลี่ยมหรือแบบหักมุมก็ได้
- ในพื้นที่อาบน้ําแบบผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข้าไม่ได้ ที่นั่งต้องยาวจากผนังด้านหลังถึงจุดที่ห่างจากทางเข้าไม่เกิน 75 มิลลิเมตร ในพื้นที่อาบน้ําแบบนั่งเก้าอี้ล้อ เข้าได้ ที่นั่งต้องยาวจากผนังควบคุมถึงจุดไม่เกิน 75 มิลลิเมตร ของความกว้าง ขั้นต่ําของผนังที่นั่ง
ฝักบัว
- ต้องมีสายยาวไม่ต่ํากว่า 1500 มิลลิเมตร และสามารถใช้สอดกับที่หรือใช้มือถือก็ได้
- สําหรับพื้นที่อาบน้ําแบบผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข้าได้ฝึกบัวต้องอยู่บนผนังด้านหลัง และห่างจากผนังด้านข้างไม่เกิน 700 มิลลิเมตร ในกรณีที่มีราวในแนวตั้งที่สามารถปรับความสูงของหัวฝักบัวได้ ราวนี้ต้องไม่ไปขวางการใช้ราวจับ
ม่านหรือส่วนที่ปิดพื้นที่อาบน้ํา
- ต้องไม่ขวางจุดควบคุม หรือกีดขวางการย้ายจากเก้าอี้ล้อ ไปที่นั่งอาบน้ํา
พื้นที่อาบน้ําแบบผู้ใช้เก้าอี้ล้อ เข้าได้
- พื้นที่อาบน้ํา ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 750 มิลลิเมตร ยาวไม่น้อยกว่า 1500 มิลลิเมตร และต้องมีที่ว่างด้านหน้า ของพื้นที่อาบน้ํากว้างไม่น้อยกว่า 750 มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 1500 มิลลิเมตร ไปตามด้านหน้าของพื้นที่อาบน้ํา อ่างล้างหน้าและ มือสามารถวางให้อยู่ในที่ว่างนี้ได้ โดยต้องอยู่ด้านตรงกันข้ามกับผนังด้านที่มีที่นั่ง
- ที่นั่งในพื้นที่อาบน้ําแบบผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข้าได้ ถ้ามี ต้องเป็นที่นั่งแบบพับได้ อยู่ติดกับผนังด้านที่มีจุดควบคุมอุปกรณ์อาบน้ํา ที่นั่งต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 500 มิลลิเมตร
- พื้นที่อาบน้ําแบบนี้ จะมีที่นั่งหรือไม่มีที่นั่งก็ได้
พื้นที่อาบน้ําแบบผู้ใช้เก้าอี้ล้อ เข้าได้แต่ทางเข้าแคบ
- ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร ยาวไม่น้อยกว่า 1200 มิลลิเมตร และต้องมีความกว้าง ของทางเข้าที่ด้านหน้า กว้างไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร โดยจะต้องอยู่ที่ปลาย ด้านยาวของพื้นที่อาบน้ํา ด้านตรงกันข้ามกับผนังด้านที่มีจุดควบคุม
พื้นที่อาบน้ําแบบผู้ใช้เก้าอี้ล้อ เข้าไม่ได้
- พื้นที่ต้องกว้าง 900 มิลลิเมตร ลึก 900 มิลลิเมตร และต้องมีที่ว่างหน้าพื้นที่อาบน้ํายาว ไม่น้อยกว่า 1200 มิลลิเมตร โดยวัดจากผนังที่ควบคุมและกว้างไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร
- ต้องจัดให้มีที่นั่งในพื้นที่อาบน้ํา
- ต้องติดตั้งราวจับบนผนังที่มีจุดควบคุมฝักบัว และผนังด้านหลัง โดยมีความยาวตลอดแนวผนังควบคุมและยาวเลยเข้าไปในผนังด้านหลัง ไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร
ห้องส้วมและโถส้วม
- ห้องส้วมสําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ ต้องมีที่ว่างขั้นต่ําเพื่อใช้สําหรับการหมุนตัวของผู้ใช้เก้าอี้ล้อ เป็นพื้นที่รูปวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1500 มิลลิเมตร โดยไม่มีสิ่งอื่นใดกีดขวางในที่ว่างนี้ เว้นแต่ราวจับ ที่แขวน กระดาษชําระ อ่างล้างหน้าที่ใต้อ่างมีพื้นที่ว่างสําหรับเท้าและเข่าที่สามารถซ่อนอยู่ในที่ว่างนี้ได้
- ประตูห้องส้วมสําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ ควรเป็นบานเลื่อนหรือบานเปิดออกกรณีเป็นบานเปิดออก ต้องมีราวจับในแนวนอนที่ฝั่งบานประตูด้านใน เพื่อให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อสามารถปิดประตูได้
- ประตูของห้องส้วมสําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ กรณีที่จําเป็นต้องใช้บานเปิดเข้า และเปิดเข้ามาในที่ว่างขั้นต่ําของห้องส้วมจะต้องมีพื้นที่ว่างเหลือเพียงพอ ที่ผู้ใช้เก้าอี้ล้อ สามารถเบี่ยงตัวและเก้าอี้ล้อเพื่อปิดหรือเปิดประตูได้
- โถส้วมควรมีผนังอยู่ด้านหลัง โดยกึ่งกลางของโถส้วมต้องอยู่ห่างจาก ผนังด้านข้างไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร
- ความสูงของโถส้วมชนิดนั่งราบ สูงจากพื้น 400-450 มม. (เดิม 450-500 มม.)
- สําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ ควรวางโถส้วมให้เป็นลักษณะการหันด้านข้างเข้าใช้
- กรณีโถส้วมติดตั้งโดยกึ่งกลางของโถส้วมห่างจากผนังด้านข้างไม่เกิน 500 มิลลิเมตร ต้องมีราวจับที่อยู่บนผนังด้านข้าง ยาวไม่น้อยกว่า 1000 มิลลิเมตร และอยู่ห่างจาก ผนังด้านหลังไม่เกิน 300 มิลลิเมตร ราวจับบนผนังด้านหลังต้องยาวไม่น้อยกว่า 600 มิลลิเมตร และอยู่กึ่งกลางของโถส้วม
- กรณีโถส้วมติดตั้งโดยกึ่งกลางของโถส้วมห่างจากผนังด้านข้างเกิน 500 มิลลิเมตร ต้องมีราวจับติดตั้งยื่นออกมาจากผนังด้านหลังของโถยาวไม่น้อยกว่า 550 มิลลิเมตร ห่างจากขอบโถไม่น้อยกว่า 150 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 200 มิลลิเมตร สําหรับผู้ชราหรือ ผู้อ่อนแรงใช้พยุงตัว และต้องใช้ราวจับชนิดพับเก็บได้ เพื่อไม่กีดขวางการเข้าใช้งานของผู้ใช้เก้าอี้ล้อ
- ที่แขวนกระดาษชําระ หรือสายฉีดชําระ ควรติดตั้งอยู่ในระดับความสูงระหว่าง 550 มิลลิเมตร ถึง 1200 มิลลิเมตร โดยห่างจากแนวขอบด้านหน้าของโถส้วมระหว่าง 180 มิลลิเมตร ถึง 230 มิลลิเมตร
อ่างล้างหน้าและอ่างล้างมือ
- พื้นที่สําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ ต้องจัดให้เป็นลักษณะการหันด้านหน้าเข้าใช้ โดยมีที่ว่างวัดจากกึ่งกลางของอ่างทั้งสองด้าน กับผนังหรือสิ่งกีดขวางที่ยื่นออกมา ห่างไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร และต้องมีช่องว่างสําหรับเท้าและเข่า โดยคํานึงถึงแนวท่อสําหรับระบายน้ําด้วย
- ความสูงของอ่าง ต้องสูงไม่น้อยกว่า 750 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 800 มิลลิเมตร โดยวัดจากพื้น ถึงจุดสูงจุดของขอบอ่างหรือผิวเคาน์เตอร์ ความลึกของอ่าง ต้องลึกไม่เกิน 170 มิลลิเมตร
- กรณีเป็นอ่างลอย (ไม่มีเคาน์เตอร์) ควรมีราวจับทั้งสองข้างของอ่างล้าง สําหรับคนชราหรือผู้อ่อนแรงใช้พยุงตัว ขอบอ่างต้องห่างผนังไม่น้อยกว่า 200 มิลลิเมตร
- ควรมีการป้องกันหรือวางตําแหน่งท่อน้ํา ท่อระบายน้ํา ไม่ให้ผู้ใช้สัมผัสได้โดยตรง และต้องไม่มีสิ่งแหลมคม หรือผิวที่เป็นอันตรายอยู่ใต้อ่าง
- ไม่ควรมีชั้นวางของอยู่เหนืออ่าง และควรมีกระจกเงาที่สามารถปรับมุมได้เพื่อความสะดวกสําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ
- ก๊อกน้ําควรเป็นชนิดก้านโยก ก้านกด ก้านหมุน หรือระบบอัตโนมัติ
- กรณีก็อกน้ําสองก้อกระบบน้ําร้อนน้ําเย็น ช่องว่างระหว่างก๊อกน้ําทั้งสองก๊อก ไม่ควรน้อยกว่า 200 มิลลิเมตร และก๊อกด้านซ้ายมือควรเป็นก๊อกน้ําร้อน
โถปัสสาวะชาย
- พื้นที่สําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อต้องจัดเป็นลักษณะการหันด้านหน้าเข้าใช้ และต้องมีพื้นที่ว่างหน้าโถปัสสาวะอย่างน้อยกว้าง 900 มิลลิเมตร ลึก 1200 มิลลิเมตร เพื่อการเข้าถึง
- โถปัสสาวะชายควรเป็นชนิดที่ขอบโถอยู่ระดับพื้นอย่างน้อย 1 ที่ และอยู่ในตําแหน่งที่เข้าถึงได้ก่อนโถอื่น และทั้งสองข้างของโถควรมีราวจับ สําหรับให้ผู้อ่อนแรงหรือคนชราใช้พยุงตัว สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1000 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1100 มิลลิเมตร โดยยื่นออกมาจากผนังไม่น้อยกว่า 550 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตร และราวจับทั้งสองข้างห่างกัน 600 มิลลิเมตร
- ด้านบนของโถควรมีราวจับในแนวนอนสําหรับใช้จับหรือใช้อกพิง สูงจาก พื้นไม่น้อยกว่า 1200 มิลลิเมตรแต่ไม่เกิน 1300 มิลลิเมตร โดยราวจับควรยาวไม่น้อยกว่า 600 มิลลิเมตร ห่างจากผนังระหว่าง 350 - 400 มิลลิเมตร ราวจับแนวนอนนี้จะเป็นชนิดที่ต่อเชื่อมเป็นชิ้นเดียวกันกับราวจับที่ยื่นออกมาทั้งสองข้างของโถก็ได้
- กรณีเป็นโถชนิดมีคนกดชักน้ํา ควรติดตั้งให้ระดับคันกดอยู่สูงจากพื้น 1100 มิลลิเมตร
ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ
เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia
อ้างอิงข้อมูลจาก
- มาตรฐานออกแบบ.pdf
>> file:///C:/Users/User/Desktop/Encycropidia/ramp%20universal%20design/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A.pdf
- สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
>> BAEDRFA.pdf
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม