รวมบ้านกลิ่นอายพื้นถิ่นที่สร้างเอกลักษณ์จากบริบทที่เปรียบต่าง และการตีความอย่างร่วมสมัย
หากไม่ได้อิงอย่างตรงไปตรงมาตามตำราสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ความหมายของเรือนพื้นถิ่นในภาษาบ้าน ๆ ก็อาจพอจะกล่าวได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดจากวิถีชีวิต ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อวิถีชีวิตของมนุษย์เรานั้นมีการวิวัฒน์และมีความหลากหลายมากขึ้นเท่าไหร่ รูปแบบของเรือนที่พักอาศัยก็ย่อมเปลี่ยนไปตามวิถีและพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมและบริบท
หากแต่ในปัจจุบันที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตนั้นมีการผสมผสานกันมากขึ้น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจึงถูกนำมาหลอมรวมสู่บริบทสมัยใหม่ ที่สะท้อนภาษาและกลิ่นอายอันเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมผ่านการตีความทางสถาปัตยกรรมได้อย่างแยบยล และนี่คือ 10 บ้านร่วมสมัยกลิ่นอายพื้นถิ่นที่ตั้งใจนำมาบอกเล่าความน่าสนใจของการประสานวัฒนธรรม แนวคิด วิถีชีวิต และยุคสมัยได้อย่างลงตัว
โฮมบุญ
บ้านที่เกิดจากวิถีชีวิตของคนในบ้านและชุมชน
จากการที่สถาปนิกได้เข้าไปสัมผัส พูดคุยกับคนในครอบครัว พบว่าบ้านหลังนี้มีเสน่ห์บางอย่างที่น่าดึงดูด เป็นเสน่ห์ในบริบทสังคมคนอีสานที่มีต่อคนในครอบครัว นั่นคือในตอนกลางวันบ้านนี้จะเป็นศูนย์รวมของสมาชิกในหมู่บ้าน เป็นที่พบปะ นั่งคุย และนั่งเล่น ส่วนในช่วงที่มีเทศกาลงานบุญต่างๆ พื้นที่บ้านแห่งนี้จะเปลี่ยนเป็นที่จัดเตรียมข้าวของสำหรับจัดงาน ซึ่งในเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ผู้คนมักจะใช้เพียงบริเวณพื้นที่ semi-outdoor หรือมักนั่งบนแคร่และบนพื้นบ้าน เพราะถือว่าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ไม่จำกัดจำนวนผู้นั่ง สถาปนิกจึงนำเอกลักษณ์และวิถีชีวิตนี้มาเป็นแรงบันดาลใจสู่การออกแบบ ‘บ้านโฮมบุญ’
.
Designer : S Pace Studio
อ่านบทความบ้านโฮมบุญ เต็มๆ ได้ที่ : https://dsignsomething.com/2017/12/28/โฮมบุญ-บ้านที่เกิดจากวิ/
Long An House
บ้านทรอปิคอลที่แฝงแนวคิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของเวียดนาม
Long An House บ้านสไตล์ทรอปิคอลหลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมือง Long An ประเทศเวียดนาม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่นำมาใช้ จึงเป็นการออกแบบพื้นที่ให้เปิดโล่ง ใช้แสงแบ่งขอบเขตพื้นที่ในอาคารมาผสมผสานกับความโมเดิร์น และการเลือกใช้ “อิฐ” เป็นวัสดุหลัก ไปพร้อมๆ กับการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมอย่างชาญฉลาดและลงตัว เพราะเวียดนามเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้น ซึ่งคล้ายกับภูมิอากาศของประเทศไทย แนวคิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเวียดนามดังกล่าวจึง
.
Designer : Tropical Space
อ่านบทความบ้าน Long An House เต็มๆ ได้ที่ : https://dsignsomething.com/2018/03/21/สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-เพิ/
FOOTHILL HOUSE
บริบท วัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ สู่บ้านที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข
ความน่าสนใจของบ้านเรือนกลุ่มนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าคือเรื่องการเลือกใช้วัสดุ ซึ่งผู้ออกแบบได้นำ “อิฐ” มาออกแบบพื้น ผนังอาคารและผนัง Façade บริเวณอัฒจันทร์ ที่เชื่อมโยงมาถึงส่วนของ Master bedroom โดยนำอิฐมาเรียงเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเกิดโครงสร้างที่แข็งแรงและมั่นคงแล้วยึดด้วยโครงเหล็กเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กำแพงเพิ่มขึ้นอีก การใช้อิฐทำพื้นทางเท้าหรือแม้กระทั่งผนังด้านในอาคารนั้น ต้องนำอิฐสองแผ่นมาต่อกันก่อนแล้วจึงนำไปก่อเป็นผนังและพื้น จากนั้นใช้โครงเหล็กและผนังขาวทึบมาตัดให้เกิดความหลากหลาย
.
Designer : SITE – SPECIFIC : ARCHITECTURE & RESERCH
อ่านบทความบ้าน FOOTHILL HOUSE เต็มๆ ได้ที่ : https://dsignsomething.com/2019/10/13/foothill-house-บริบท-วัฒนธรรม-ไลฟ์สไต/
‘เรือนพินรัตน์’
กลิ่นอายแห่งความสุขของสถาปัตยกรรมเพื่อระลึกถึงบุคคลอันเป็นที่รัก
จากความผูกพัน ความทรงจำ การระลึกถึงคนในครอบครัวอย่างคุณตาคุณ สู่โจทย์ที่แฝงไปด้วยความรู้สึกมากมาย การออกแบบเรือนพินรัตน์หลังนี้จึงค่อนข้างละเอียดอ่อนมากเป็นพิเศษ แต่ถึงแม้จะมีจุดเริ่มต้นจากความทรงจำในอดีต เจ้าของบ้านก็ไม่ได้ต้องการยกบ้านหลังเดิมมาสร้างใหม่ให้เหมือนของเก่า แต่เป็นการนำองค์ประกอบที่มีคุณค่าทางความรู้สึกมาผสมผสานกับการออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิกได้นำลักษณะของเรือนพื้นถิ่นของพัทลุงในยุคสมัยนั้นเข้ามาใช้ เพื่อถ่ายทอดภาพความทรงจำของคุณตาคุณยาย ผ่านการผสมผสานรูปแบบใหม่ที่เข้ากับบริบท และวิถีปัจจุบันมากขึ้น
.
Designer : ตื่นดีไซน์สตูดิโอ และอรวี เมธาวี
อ่านบทความ เรือนพินรัตน์ เต็มๆ ได้ที่ : https://dsignsomething.com/2020/05/14/เรือนพินรัตน์-กลิ่นอา/
“บ้านฟ้าบ่กั้น”
เรือนอีสานยุคใหม่ที่ผสมผสมผสานความชนบทและความทันสมัยอย่างกลมกล่อม
“ฟ้าบ่กั้น” คือชื่อหนังสือวรรณกรรมที่เล่าถึงเรื่องราวของคนอีสาน เปรียบดั่งภาพตัวแทนของวิถีชีวิตคนชนบทอีสานได้เป็นอย่างดี ซึ่งเจ้าของบ้านที่เป็นคู่รักข้าวใหม่ปลามันนี้ ฝ่ายชายเป็นคนอีสานโดยกำเนิด มีความผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอีสานมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีความชื่นชอบวรรณกรรมเรื่องนี้มาก จึงได้ ริเริ่มความคิดในการสร้างบ้านหลังใหม่ที่ถ่ายทอดกลิ่นอายความเป็นอีสานชนบทผสานเข้ากับยุคสมัยปัจจุบันไว้ด้วยกัน
.
Designer : S Pace Studio
อ่านบทความบ้านฟ้าบ่กั้น เต็มๆ ได้ที่ : https://dsignsomething.com/2020/07/17/บ้านฟ้าบ่กั้น-เรือนอี/
บ้านเรือนไทย
ภายใต้ความโมเดิร์น และความผูกพันเก่าแสนอบอุ่นเรียบง่าย
ภาพความเรียบง่ายของบ้านรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวสไตล์โมเดิร์น และบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่นจากระแนงไม้ที่อยู่ใจกลางชั้นสองของบ้าน ใครจะคิดว่าภายในได้บรรจุ “บ้านเรือนไทย” พื้นที่แห่งความผูกพันที่เป็นหัวใจสำคัญของทุกคนในครอบครัวไว้ สถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างกลมกลืนนี้ และถ่ายทอดความต้องการของสมาชิกทุกคนไว้ได้อย่างลงตัว
.
Designer : Case Studio
อ่านบทความ เรือนพินรัตน์ ได้ที่ : https://dsignsomething.com/2018/06/08/baan-p-pong/
“บ้านนนท์”
เมื่อความสุขแปลงกายเป็นสถาปัตยกรรม
จากความเป็นครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวนำมาสู่การวางผังบ้านครอบครัวขยาย ภายใต้โจทย์การเพิ่มพื้นที่ใช้สอยสำหรับความเป็นอยู่ของครอบครัว 3 เจนเนอเรชัน โดยบ้านเก่าสองชั้นขนาด 300 ตารางเมตรบนที่ดินเดิมได้ถูกรีโนเวทให้มีฟังก์ชันเพิ่มขึ้น ส่วนบ้านหลังใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อขยายเรื่องราวของลูกๆ ซึ่งอาจจะมีครอบครัวเป็นของตัวเองในอนาคต
.
Designer : Space Story Studio
อ่านบทความ เรือนพินรัตน์ ได้ที่ : https://dsignsomething.com/2021/03/12/baannon/
ทั้งนี้จะเห็นว่าบ้านแต่ละหลังที่ได้คัดสรรมาให้ได้ชมกันนั้น ล้วนแต่เป็นบ้านที่มีเรื่องราวของวิถีชีวิตแฝงอยู่ และในส่วนของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็เป็นความงามทางด้านวัฒนธรรมและวิถีในวันเก่าที่นำมาบอกเล่าร่วมกับยุคสมัย พร้อมกับเติมเต็มวิถีชีวิตในปัจจุบันให้ได้อย่างลงตัวสะดวกสบาย ด้วยวัสดุ เทคนิคในงานโครงสร้าง หรือแม้แต่กลิ่นอายที่ชวนให้คิดถึงวันเก่าๆ ของบุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัวได้อย่างแยบยล
ข้อมูลสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม