หลักการออกแบบลิฟต์โดยสารสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ (Elevators Universal Design)
ลิฟต์ตัวแรกของโลก เกิดขึ้นมานานตั้งแต่เมื่อ 300-400 ปีที่แล้ว โดยในยุคแรกๆ การทำงานของลิฟต์จะเป็นลักษณะการพึ่งพาแรงของมนุษย์ในการทำให้ลิฟต์สามารถเคลื่อนที่ได้ ใช้สำหรับการขนส่งสิ่งของต่างๆ ขึ้นไปบนที่สูง ต่อมาจึงพัฒนาไปเป็นระบบลิฟต์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ สู่การปรับเปลี่ยนเป็นระบบไฮดรอลิก และจากระบบไฮดรอลิก ก็พัฒนาเป็นระบบไฟฟ้าที่เราใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งลิฟต์โดยสารนั้นเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ทุพพลภาพไปจนถึงผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้ลิฟต์ในการโดยสารขึ้นอาคารที่มีหลายชั้น โดยไม่ต้องขึ้นบันไดหลายๆ ขั้นให้เกิดความลำบากหรือความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
และสำหรับวันนี้ Wazzadu Encyclopedia Detail Design จะพาไปชม หลักการออกแบบลิฟต์โดยสารสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ (Elevators Universal Design) ว่าจะมีข้อกำหนดอะไรที่ควรรู้บ้าง ติดตามในบทความนี้กันได้เลยครับ...
ตัวลิฟต์
- ขนาดของห้องภายในลิฟต์ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1,100 มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 1,400 มิลลิเมตร
กลางตัวลิฟต์
- ตัวลิฟต์ควรมีความสูงอย่างน้อย 2,300 มิลลิเมตร
- ลิฟต์ที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราใช้ได้ ต้องสามารถขึ้นลงได้ทุกชั้น
- มีระบบควบคุมลิฟต์ ที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราสามารถควบคุมได้เอง ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และจัดไว้ในบริเวณที่ สามารถใช้ได้สะดวก
โถงหน้าลิฟต์
- มีป้ายแสดงหมายเลขชั้น เพื่อแสดงทิศทางบริเวณโถงหน้าประตูลิฟต์ ติดอยู่ในตําแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
- พื้นที่บริเวณโถงหน้าลิฟต์ต้องไม่มีอุปสรรคกีดขวางทางเข้า-ออกของผู้โดยสาร และทางเชื่อมต่อมีขนาด
- กว้างพอสําหรับผู้โดยสารทุกสภาวะ เป็นพื้นที่ว่างอย่างน้อย 1,500 x 1,500 มิลลิเมตร
-
ควรจัดเตรียมที่นั่งไว้ทุกชั้นเพื่อรับรองผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ที่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง สามารถใช้นั่งระหว่างรอขึ้น-ลงลิฟต์ได้
ประตูลิฟต์
- สีของประตูลิฟต์ควรตัดกับสีของบริเวณรอบๆ ตัวลิฟต์ ทั้งนี้เพื่อช่วยในการสังเกตของผู้พิการทางการมองเห็น
- ช่องประตูลิฟต์ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร)
- ประตูลิฟต์ต้องมีระบบแสงเพื่อป้องกันไม่ให้ประตูลิฟต์หนีบผู้โดยสาร
- ลิฟต์ระหว่างสองชั้น อาจทําประตูสองด้านตรงกันข้ามได้ เพื่อผู้ใช้เก้าอี้เข็นคนพิการ (Wheelchair) จะได้ไม่ต้องกลับรถ
- ให้มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการติดไว้ที่ช่องประตูด้านนอกของลิฟต์ที่จัดไว้ให้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราใช้ได้
ภายในลิฟต์
- ควรหลีกเลี่ยงการติดกระจก เนื่องจากจะทําให้ผู้ที่มีอุปสรรคในการมองเห็นเกิดการสับสนได้
ราวจับ
- มีราวจับโดยรอบภายในลิฟต์ โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ทําด้วยวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับและไม่ลื่น
- มีลักษณะกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 40 มิลลิเมตร - สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 900 มิลลิเมตร
ปุ่มกดและป้าย
- ป้ายสัญลักษณ์อัตโนมัติแสดงตําแหน่งของชั้น จะต้องใช้งานได้สะดวก ง่ายต่อการมองเห็นและการอ่าน
- ปุ่มกดล่างสุดอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร ปุ่มกดบนสุดอยู่สูงจากพื้นไม่เกินกว่า 1,200 มิลลิเมตร และห่างจากมุมภายในห้องลิฟต์ไม่น้อยกว่า 400 มิลลิเมตร ในกรณีที่ห้องลิฟต์มีขนาดกว้าง และยาวน้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร
- แผงควบคุมควรจัดให้มีปุ่มกดล่างสุดสูงไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร และปุ่มกดบนสุดสูงไม่เกิน 1,200 มิลลิเมตร ทั้งนี้ปุ่มฉุกเฉินควรจัดให้อยู่ในบริเวณล่างสุดของแผงควบคุมซึ่งจะต้องไม่ต่ํากว่า 900 มิลลิเมตร
- ปุ่มกดลิฟต์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 20 มิลลิเมตร และมีอักษรเบรลล์ ประกอบอยู่ ด้านซ้ายของปุ่มกดลิฟต์ โดยมีลักษณะเป็นตัวเลขอารบิกหรือเป็นสัญลักษณ์ เมื่อกดปุ่มต้องมีเสียงดัง และมีแสง (กฎกระทรวงฯ 2548 กําหนดให้มีอักษรเบรลล์กํากับไว้ทุกปุ่ม)
- ไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณปุ่มกดลิฟต์ ควรมีทั้งสัญญาณเสียงและภาพในการเตือนผู้ใช้ในตัวลิฟต์ ในกรณีที่ลิฟต์ถึงชั้นที่ต้องการ และเมื่อลิฟต์หยุด ขึ้น-ลง หรือในกรณีฉุกเฉิน ปุ่มควบคุมเสียงต้องอยู่สูงจากพื้นไม่ต่ํากว่า 900 มิลลิเมตร และสูงจากพื้นไม่เกินกว่า 1,200 มิลลิเมตร
- ในกรณีที่ลิฟต์ขัดข้อง ให้มีทั้งเสียงและแสงไฟเตือนภัยเป็นไฟกระพริบสีแดง เพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็นและผู้พิการทางการได้ยินทราบ และให้มีไฟกระพริบสีเขียวเป็นสัญญาณให้ผู้พิการทางการได้ยิน ทราบว่าผู้ที่อยู่ข้างนอกรับทราบแล้วว่าลิฟต์ขัดข้องและกําลังให้ความช่วยเหลืออยู่
- ควรมีปุ่มกดที่ทําให้ประตูลิฟต์เปิดค้างนาน (extended door opening) สําหรับผู้มีความพิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา
- ปุ่มกดควรจะมีสีและสะท้อนแสงเห็นได้ชัด แตกต่างจากสิ่งรอบๆ เพื่อง่ายต่อการใช้ หรืออาจเป็นปุ่มเรือง (light touch call buttons)
- ปุ่มกดลิฟต์ไม่ควรไวต่อการสัมผัสจนเกินไป
โทรศัพท์
- มีโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินภายในลิฟต์ ซึ่งสามารถติดต่อกับภายนอกได้ โดยต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1,200 มิลลิเมตร
- มีอักษรเบรลล์บอกบนแผงควบคุมโทรศัพท์ พร้อมแสงและเสียงชี้แจงข้อมูลด้านในและนอกลิฟต์
พื้นผิวต่างสัมผัส
- มีพื้นผิวต่างสัมผัสเตือนบนพื้นบริเวณหน้าประตูลิฟต์กว้าง 300 มิลลิเมตร และยาว 900 มิลลิเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากประตูลิฟต์ไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 350 มิลลิเมตร
พื้นผิวภายในลิฟต์
- พื้นผิวของลิฟต์ควรกันลื่นได้ดี และส่วนอื่นของลิฟต์ไม่ควรประกอบจากวัตถุที่สะท้อนแสง
ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ
เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก
- มาตรฐานออกแบบ.pdf
>> file:///C:/Users/User/Desktop/Encycropidia/ramp%20universal%20design/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A.pdf
- สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
>> BAEDRFA.pdf
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม