หลักการออกแบบ "บันได" ในงานสถาปัตยกรรม Staircase Design Architecture

(มีข้อมูลปรับปรุงเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการฯ 4 มี.ค. 2564)

หลักการออกแบบสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน เป็นการพัฒนางานสถาปัตยกรรม เพื่อให้งานออกแบบนั้นมีความเป็นสากล ส่งผลให้เกิดรากฐานที่ดีในการดำเนินชีวิต สร้างความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่บุคคลที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ไปจนถึงผู้ทุพพลภาพ

วันนี้ Wazzadu Encyclopedia จึงขอหยิบยกหลักการออกแบบ Universal Design ในหัวข้อ "หลักการออกแบบบันไดในงานสถาปัตยกรรม สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ" โดยในบทความจะพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดและรูปแบบของ "บันได" ในงานสถาปัตยกรรมที่น่ารู้ มาฝากทุกคนกันครับ...

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกแบบ "บันได" สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ

โดยทั่วไปมีข้อกำหนดดังนี้

  • ไม่กำหนดเรื่องความกว้างสุทธิและชานพักบันได (ปรับปรุงเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการฯ 4 มี.ค. 2564)
  • ให้มีราวบันไดทั้งสองข้างเมื่อมีความต่างระดับกันตั้งแต่ 600 มม.ขึ้นไป (ปรับปรุงเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการฯ 4 มี.ค. 2564)
  • ควรกําจัดความแตกต่างในระดับขั้น หรือลดให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อสะดวกต่อการเดินทางของผู้พิการ
  • ควรจัดเตรียมทางลาดหรือลิฟต์เพื่อผู้พิการ ในพื้นที่ที่มีขั้นบันได
  • ขั้นบันไดควรจัดให้อยู่ในแบบเดียวกัน สอดคล้องกันในทุกระดับชั้น
  • ควรหลีกเลี่ยงบันไดเวียน

ข้อกำหนดเกี่ยวกับป้าย

  • มีป้ายแสดงทิศทาง ตําแหน่ง หรือหมายเลขชั้นของอาคาร ที่ผู้พิการทางการมองเห็น และคนชราสามารถ ทราบความหมายได้ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นและทางลงของบันไดที่เชื่อมระหว่างชั้น

 

ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “บันได” โดยตรง

  • สําหรับบันไดทางเดียว ควรกว้างอย่างน้อย 900 มิลลิเมตร
  • สําหรับทางที่สามารถเดินสวนกันได้ ควรมีความกว้างบันไดอย่างน้อย 1,500 มิลลิเมตร (กฎกระทรวงฯ 2548 กําหนดให้มีความกว้าง ของบันไดสุทธิ 1,500 มิลลิเมตร)
  • ในกรณีที่บันไดที่กว้างมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ควรติดตั้งราวจับตรงกลางเพิ่มอีกราว 

ลูกตั้งและลูกนอนของบันได 

(ปรับปรุงเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการฯ 4 มี.ค. 2564)

  • ลูกตั้งบันได สูงไม่เกิน 180 มม.
  • ลูกนอนบันได กว้างไม่น้อยกว่า 280 มม.
  • ผลรวมของลูกตั้งกับลูกนอน ไม่น้อยกว่า 430 มม. (เดิมไม่เกิน 150 x 280 มม.)
  • ลูกตั้งอาจเป็นช่องโล่งได้หากลูกนอนบันไดยกขอบด้านใน สูงไม่น้อยกว่า 50 มม.  (เดิมเป็นช่องโล่งไม่ได้)

 

  • พื้นผิวของลูกนอนต้องไม่ลื่น และควรมีสีที่ตัดกับลูกตั้ง

จมูกบันได

  • จมูกบันได ไม่ควรมีขอบที่แหลมคม และไม่ลื่น
  • ไม่แนะนำให้ออกแบบบันไดที่มีขั้นเหลื่อมกัน หรือมีจมูกบันไดยื่นเลยออกมาจากแนวของลูกตั้ง แต่ในกรณีจำเป็นต้องมี ให้มีระยะเหลื่อมกันหรือจมูกบันไดต้องยื่นเลยออกมาจากแนวลูกตั้ง ไม่เกิน 20 มิลลิเมตร โดยด้านล่างของส่วนที่ยื่น ต้องทำเป็นเส้นตรงเข้าหาลูกตั้ง หรือเป็นส่วนโค้ง

ข้อกำหนดของ “พื้นที่ใต้บันได” เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บกพร่องในการมองเห็น

  • ต้องจัดให้มีสิ่งกันตรงพื้นที่ใต้บันได เพื่อเป็นการเตือน
  • สิ่งกั้นนั้นต้องมีความสูงระหว่าง 700-800 มิลลิเมตร
  • ติดตั้งไว้ก่อนถึงบริเวณพื้นที่ใต้บันได ตรงส่วนที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 2000 มิลลิเมตร เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็น

ข้อกำหนดของชานพักบันได

  • ควรจัดเตรียมชานพัก ทุกระยะในแนวดิ่งไม่เกิน 2,000 มิลลิเมตร
  • ติดตั้งสิ่งกีดขวางใต้บันได เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บกพร่องทางการมองเห็น
  • ชานพักควรจะมีความกว้างอย่างน้อย 1,200 มิลลิเมตร

 

ข้อกำหนดของ "ราวจับบันได"

  • ในกรณีที่บันไดที่กว้างมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ควรติดตั้งราวจับตรงกลางเพิ่มอีกราว 
  • ระยะระหว่างราวจับของทั้งสองด้านควรมีความกว้างไม่เกิน 1,500 มิลลิเมตร
  • ราวจับของบันไดควรมีส่วนยื่นออกมาทั้งด้านบนสุดและล่างสุดของราวไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 400 มิลลิเมตร
  • ราวจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 900 มิลลิเมตร
  • ราวจับด้านที่อยู่ติดผนังให้มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า 120 มิลลิเมตร และผนังบริเวณราวจับต้องเป็นผนังเรียบ
  • ราวจับต้องยาวต่อเนื่อง และส่วนที่ยึดติดกับผนังต้องไม่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ของผู้พิการ ทางการมองเห็น

ข้อกำหนดพื้นผิวต่างสัมผัส

  • ควรมีสัญลักษณ์อยู่บริเวณก่อนและสิ้นสุดทางบันได และชานพักระหว่างบันได เพื่อที่จะเตือนให้มองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • พื้นผิวต่างสัมผัสเดือน (Warning Block) ควรมีความยาวเท่ากับและขนานกับความกว้างของช่องทางสัญจรของบันได และขอบของพื้นผิวต่างสัมผัสอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นของทางขึ้นหรือลงบันไดไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 350 มิลลิเมตร
  • พื้นผิวต่างสัมผัสเตือน (Warning Block) ควรจะมีสีที่ตัดกับสิ่งแวดล้อมทั่วไป เพื่อที่จะชี้นําทางสําหรับผู้พิการทางการมองเห็น
  • พื้นผิวของบันไดต้องใช้วัสดุที่ไม่ลื่น

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

มาตรฐานออกแบบ.pdf >> file:///C:/Users/User/Desktop/Encycropidia/ramp%20universal%20design/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A.pdf

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

>> BAEDRFA.pdf

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ