Isolator Switch คืออะไร ทำไม? ต้องติดตั้งข้างๆ คอมแอร์

Isolator Switch คืออะไร ทำไม? ต้องติดตั้งข้างๆ คอมแอร์ ในกลไกของอุปกรณ์ไฟฟ้ามักจะมีความซับซ้อน และมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายชิ้นในวงจรการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีอุปกรณ์หลายชนิดอยู่ร่วมกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกชิ้นล้วนมีความสำคัญ และมีไว้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบในวงจรไฟฟ้า รวมทั้งความปลอดภัย ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์ที่หลายคนสงสัยว่ามีหน้าที่อะไร ติดตั้งเพื่ออะไร ก็คือ Isolator Switch

Isolator Switch คืออะไร

Isolator Switch คืออุปกรณ์ที่ช่วยแยก และตัดการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวงจรจากแหล่งจ่ายกระแสหลักได้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีเพื่อแยกถ่ายข้อมูลทำให้การทำงานเกิดขึ้นเฉพาะช่วงที่มีกระแสไหลผ่านระบบเป็นศูนย์เท่านั้น ซึ่งการที่มีตัวแยกแบบนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการใช้งานด้วย รวมทั้งยังง่ายต่อการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งไม่เพียงแค่เรื่องของการแยกอุปกรณ์ไฟฟ้าจากกระแสหลักเท่านั้น แต่ Isolator Switch ก็ยังมีคุณสมบัติในการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจากความผิดปกติต่างๆ อีกด้วย หากต้องการเพิ่มความปลอดภัยสูงสุด จึงควรติดตั้งอยู่เสมอ และส่วนใหญ่เรามักจะได้เห็นอุปกรณ์ชนิดนี้ติดตั้งอยู่ใกล้กับ คอมแอร์

หลักการทำงาน

สำหรับหลักการทำงานของโซเลเตอร์ สวิตช์ นั้นจะทำงานอย่างไม่ซับซ้อนมากนั้น โดยมีการทำงานที่หลากหลายทั้งแบบกึ่งออโต้ และแบบแมนวล รวมทั้งแบบอัตโนมัติทั้งหมด ซึ่งการใช้งานก็สามารถเปิดปิดได้ตามความจำเป็น ซึ่งนอกจากการทำงานจากระบบของตัวสวิตช์แล้ว ในส่วนของการทำงานของช่างไฟฟ้าที่ต้องการเข้าไปเซอร์วิสงานไฟฟ้า หรือกรณีที่ต้องการตรวจเช็กคอมแอร์ ก็สามารถทำงานได้ง่ายโดยไม่เสียเวลาและปลอดภัย

Isolator Switch มีกี่ประเภท

อย่างไรก็ตาม ไอโซเลเตอร์ สวิตช์ ก็มีอยู่หลายประเภทเพื่อให้รองรับต่อการทำงานที่เข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น 7 ประเภทหลักด้วยกัน คือ

Air Break Isolator Switch

สำหรับประเภทนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำหน้าที่ในการตัดกระแสไฟ เช่นเดียวกับคัตเอาต์สวิตช์ โดยหน้าที่หลักคือการแยกวงจรขณะที่ไม่มีโหลดเท่านั้น และไม่สามารถทำงานได้เมื่อมีจ่ายโหลด หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ ไม่สามารถที่จะสับ หรือปลดวงจรออกได้ในขณะที่มีการใช้ไฟฟ้า 

Gas Insulated Isolator Switch

เป็นรูปแบบของสวิตช์หุ้มฉนวนก๊าซ ซึ่งก๊าซจะเป็นวัสดุฉนวนที่ช่วยให้เกิดการหยุดชะงัก หรือเป็นการขัดจังหวะ รวมทั้งเป็นฉนวนกันความร้อน โดยส่วนใหญ่จะเป็นก๊าซสูตรเคมีแบบ SF6 ที่ปลอดภัย ไม่มีพิษ กลิ่น และไม่ไวต่อปฏิกิริยา แต่มักจะใช้ในงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 

Load Break Switch

เป็นรูปแบบของการรวม Switch และ Disconnector เพื่ออุปกรณ์นั้นสามารถที่จะเชื่อมต่อวงจรได้ไปพร้อมๆ กับการตัดวงจรได้ อีกทั้งยังมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดสำหรับ Isolator Switch 

Disconnecting Circuit Breaker (DCB)

เป็นอุปกรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และสามารถตัด DS ออกจากระบบได้ เหมาะที่จะติดตั้งในวงจรที่มีอุปกรณ์จำนวนน้อย เพราะจะช่วยลดความเสี่ยง รวมทั้งลดขั้นตอนในการทำงานให้น้อยลงด้วย 

Pantograph Isolator Switch

สำหรับตัวแยกประเภทนี้จะสำคัญสำหรับการติดตั้งระบบสวิตช์เกียร์ และจะใช้ฉนวนปฏิบัติการในการทำงาน เช่นเดียวกันกับฉนวนโพสต์ ซึ่งข้อดีของสวิตช์รูปแบบนี้ก็คือไม่ต้องใช้พื้นที่จำนวนมากในการติดตั้ง

Single Break Isolator Switch

สำหรับตัวแยกแบบเดี่ยวนี้ จะใช้หน้าสัมผัสแขนในการแบ่งส่วนออกเป็นสองส่วน ซึ่งแขนแรกจะเป็นสัมผัสตัวผู้ ขณะที่แขนอีกฝั่งจะเป็นสัมผัสตัวเมีย ซึ่งทั้งสองฝั่งจะเป็นหน้าสัมผัสที่มีการปรับเปลี่ยนเมื่อมีการจ่ายกระแสเกิดขึ้น

Double Break Isolator Switch

สำหรับประเภทนี้จะเป็นแบบที่มีการแยกส่วนประกอบของฉนวนออกเป็นสามโหลด ซึ่งฉนวนที่อยู่ตรงกลางจะสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ และมีสัมผัสตัวผู้ในการเชื่อมต่อและตัดการเชื่อมต่อบริเวณปลายสุดของวงจร ขณะที่สัมผัสตัวเมียจะทำหน้าที่ในการแยกหรือตัดการเชื่อมต่อในทันทีเมื่อมีการถูกสัมผัสตัวผู้ 

ทำไมต้องติดตั้ง

สาเหตุสำคัญของการติดตั้ง Isolator Switch ก็คือเรื่องของความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน และผู้ที่จะเข้าทำการซ่อมบำรุง ซึ่งการติดตั้งใกล้ๆ กับคอยร้อนสำหรับเครื่องปรับอากาศจะช่วยให้เข้าถึงการบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า การไปจัดการที่ตู้เบรกเกอร์โดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ห่างจากจุดติดตั้งคอยร้อนทำให้เสียเวลาในการทำงาน อีกทั้งการจัดการผ่าน Junction box ซึ่งมีอันตรายต่อผู้ซ่อมบำรุงมากกว่า

ความแตกต่างระหว่าง ISOLATOR และ CIRCUIT BREAKER

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมองว่า Isolator Switch นั้นเหมือนกันกับ Circuit Breaker แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยหลักๆ แล้วจะต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น การทำงาน ฟังก์ชันการใช้งานบางอย่าง รวมทั้งการทำงาน เป็นต้น โดยสิ่งที่ทั้งสองอุปกรณ์มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ เรื่องของอายุการใช้งานที่เบรกเกอร์มักจะถูกออกแบบให้เป็นอุปกรณ์สำหรับการป้องกันมากกว่า ทำให้เหมาะสำหรับการทนต่อกระแส Short circuit ต่ำ และเมื่อมีกระแสที่สูงก็จะตัดวงจร ทำให้อายุการใช้งานของเบรกเกอร์นั้นสั้นกว่า ไอโซเลเตอร์ สวิตช์ นอกจากนี้ในการทำงานไอโซเลเตอร์ สวิตช์ก็สามารถทำงานผ่านอุปกรณ์ได้ในทันทีโดยไม่ต้องพึ่งพาการทำงานของ เบรกเกอร์ นั่นเอง

ทั้งนี้ใครที่ต้องการอุปกรณ์เกี่ยวกับไอโซเลเตอร์ สวิตช์หรือระบบที่ช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับวงจรไฟฟ้ามากขึ้น แนะนำที่ www.se.com ที่มีอุปกรณ์ครบครัน พร้อมกับการให้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ มั่นใจได้เลยว่าข้อมูลครบถ้วน กับอุปกรณ์ที่คุ้มค่า และปลอดภัยสูงสุดแน่นอน นึกถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าต้อง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถติดต่อสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.se.com

ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่

เว็บไซต์: www.se.com

Facebook: Schneider Electric

Instagram: schneiderelectric_th

LinkedIn: Schneider Electric

Lazada: Schneider Electric

shopee: Schneider Electric official

LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

Gate

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ