รวมข้อมูล Specification กระจกแต่ละประเภท สำหรับใช้ในงานสถาปัตยกรรม ทั้งภายนอกและภายในอาคาร

กระจกนั้นมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นกระจกที่เน้นการเลือกใช้จากคุณสมบัติเฉพาะ หรือกระจกที่ใช้สำหรับงานตกแต่ง วันนี้ Wazzadu Encyclopedia จึงได้รวบรวมข้อมูล ตัวอย่างกระจกที่นิยมใช้ในงานสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและภายใน จะมีกระจกชนิดไหนบ้าง ติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass หรือ T/P)

กระจกนิรภัยเทมเปอร์คืออะไร?

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass หรือ T/P ) หรือที่เรียกว่ากระจกอบ คือการนำกระจกธรรมดาไปผ่านกระบวนการอบที่ความร้อนสูงประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วนำมาเป่าด้วยลมแรงดันสูงให้เย็นตัวลงทันที เพื่อให้กระจกเกิดความแข็งแกร่งกว่าเดิม 3-5 เท่า ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และมีความปลอดภัยมากขึ้น

กระจกนิรภัยเทมเปอร์จะมีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strength) เมื่อเปรียบเทียบกับกระจกธรรมดา ที่ความหนาเท่ากัน 5 มม. กระจกธรรมดาจะมีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้กระจกหักงออยู่ที่ 500- 600 กก./ซม.2 ส่วนกระจกนิรภัยเทมเปอร์จะมีค่าสูงถึง 1,500 กก./ซม.2

ประเภทกระจก : กระจกนิรภัย

ในกรณีที่กระจกเทมเปอร์เกิดการแตกหัก จะแตกออกเป็นเม็ดคล้ายเม็ดข้าวโพด ซึ่งมีความแหลมคมไม่มาก ทำให้มีโอกาสเกิดอันตรายน้อยกว่ากระจกธรรมดา เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงต่อการแตกร้าว และต้องการความปลอดภัยที่เกิดจากกระจกแตกร้าว (safety)

คุณสมบัติของกระจกนิรภัยเทมเปอร์

  • ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เพราะเมื่อกระจกแตก จะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดทั่วทั้งแผ่น จะไม่แตกเป็นปากฉลามแบบเดียวกับการแตกของกระจกธรรมดา 
  • มีความแข็งแรง สามารถรับแรงกระแทก แรงกด และแรงบีบได้ดี
  • ทนความร้อนได้สูงถึง 290ºC โดยกระจกไม่แตก
  • ทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ถึง 150ºC
  • ถ้าหากตัดกระจกบนโต๊ะตัดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเที่ยงตรงสูง จะสามารถตัดได้หลากหลายรูปแบบ

การนำไปใช้งาน

ใช้งานได้ทั้งภายนอก และภายในอาคาร โดยสามารถนำไปใช้งานได้ ดังนี้

  • ใช้เป็นประตูบานเปลือย ,ฉากกั้นอาบน้ำ ,ผนังกั้นภายใน ,ผนังกระจกทั้งสองหน้า 
  • ใช้ทำเป็นตู้โทรศัพท์ ห้องโชว์ ตู้สินค้าอัญมณีที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ทนต่อแรง กระแทก ให้ความปลอดภัยสูง
  • ใช้ทำเป็นกระจกงานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า
  • ใช้ทำเป็นหน้าต่างกระจก ผนังกระจกทั่วไป หรือ ผนังกระจกของอาคารในบริเวณที่เผชิญกับความร้อนสูงกว่าปกติ
  • ใช้ทำประตูบานเปลือย และผนังกระจกทั้งสองหน้าภายในตัวอาคาร
  • ใช้ทำผนังกระจกอาคารขนาดใหญ่ และอาคารสูง (Glass Curtain Wall) ในบริเวณที่ต้องรับแรงปะทะของกระแสลมที่มีความเร็วสูง
  • พื้นที่ ที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ก็ต้องการความคงทนต่อแรงกระแทกในเวลาเดียวกัน

กระจกลามิเนต (Laminated Glass)

กระจกลามิเนตคืออะไร?

กระจกลามิเนต คือ การนำกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safe Glass) หรือกระจกธรรมดา (Annealed Glass / Floated Glass) ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป มาทำการ "ลามิเนต" ทำเป็นชั้นๆ โดยประกบคั่นกลางระหว่างแผ่นกระจกด้วยฟิล์ม PVB (Poly Vinyl Butyral) หรือ EVA (Ethylene Vinyl Acetate) เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต้องการความแข็งแกร่งมากขึ้น และตอบสนองการใช้งานในด้านความปลอดภัยที่สูงกว่ากระจกประเภทอื่น 

จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการรีดด้วย Roller ซึ่งทำให้ PVB Film ยึดติดเข้ากับกระจก หลังจากนั้นกระจกที่ประกบแล้วจะถูกนำไปอบในเตา Auto Clave ที่ควบคุมอุณหภูมิ และความดันที่เหมาะสมเพื่อไล่อากาศออกจนหมด ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต โดยขนาด และความหนารวมในท้องตลาดที่สามารถผลิตได้ มีตั้งแต่ 6.38 ถึง 80 มม.

ประเภทกระจก : กระจกนิรภัย

จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง ที่เวลาแตกแล้วเศษกระจกจะยังคงยึดติดกันโดยไม่ร่วงหล่น เพราะมีชั้นฟิล์มที่ยึดเกาะระหว่างแผ่นกระจกเหมือนกับใยแมงมุม

คุณสมบัติของกระจก

  • เมื่อกระจกได้รับความเสียหายจนเกิดการแตก เศษกระจกจะไม่ร่วงหล่นลงมา ซึ่งช่วยลดอันตรายได้มากขึ้น 
  • ช่วยป้องกันเสียงรบกวนภายนอก และเก็บเสียงได้ดีกว่ากระจกธรรมดา
  • ช่วยป้องกันความร้อนได้ดี และกันรังสียูวีได้มากกว่า 90 %
  • ทนต่อแรงดันลมในที่สูง ทนต่อแรงอัดกระแทก และช่วยป้องการบุกรุกจากการโจรกรรมได้
  • สามารถเคลือบสีได้ตามความต้องการ

การนำไปใช้งาน

ใช้งานได้ทั้งภายนอก และภายในอาคาร โดยสามารถนำไปใช้งานได้ ดังนี้

  • ใช้ตกแต่งภายใน เช่น ฝ้า พื้น ผนังห้อง และบานประตู
  • ใช้เป็นกระจกด้านนอกของอาคาร โดยเฉพาะกระจกที่ต้องการป้องกันการบุกรุก หรือต้องการลดเสียงรบกวน เช่น หน้าต่างช่องเปิดแบบต่างๆ
  • ใช้เป็นกระจกอาคารสูงตามกฎหมายควบคุมอาคาร
  • ใช้ทำระเบียงราวกันตก ,หลังคา Skylight ,กันสาด และ Facade 
  • ใช้ทำเป็นกระจกนิรภัยสำหรับเฟอร์นิเจอร์

กระจกกันเสียง (Acoustic Glass)

กระจกกันเสียง (Acoustic Glass) คืออะไร?

กระจกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะนำกระจกประเภทใดมาทำก็จะต้องมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 12 มม.(ในกรณีที่ใช้กระจกแบบสองชั้น จะต้องมีช่องว่างระหว่างกระจก 70 มม.ขึ้นไป) และควรมีค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ถ้าหากกระจกมีความหนามากกว่า 12 มม. ก็จะยิ่งมีค่า STC สูง ยิ่งค่า STC สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งป้องกันเสียงรบกวนได้มากขึ้นตามไปด้วย

ส่วนประกอบของกระจกกันเสียง (Acoustic Glass Raw Material) 

ในการทำกระจกกันเสียงนั้น ประเภทกระจกที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

1. กระจกชั้นเดียว (Single Glazing) คือ กระจกที่มี Layer เดียวแบบเพียวๆไม่ว่าจะเป็นกระจกใส หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ฯลฯ

2. กระจกลามิเนต (Laminated Glass) คือ การนำกระจก 2 แผ่นขึ้นไป มาประกบกันแบบสนิท โดยมีชั้นฟิล์ม PVB (Polyvinyl Butyral) ,EVA (Ethylene-vinyl acetate) หรือ SentryGlas ขั้นกลางระหว่างกระจกทั้งสองแผ่น ซึ่งฟิล์มจะช่วยยึดเกาะแผ่นกระจกไม่ให้ร่วงหล่นเวลาแตก

3. กระจกสองชั้น (Double Glazing) คือ การนำกระจก 2 แผ่น (จะใช้กระจกชั้นเดียว หรือ กระจกลามิเนต ก็ได้) มาประกบกันโดยเว้นช่องว่างระหว่างกระจกไว้

4.  ฟิล์มอคูสติก (Acoustic PVB)  วัสดุฟิล์ม PVB ชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่งที่ผลิตมาเพื่อกันเสียงโดยเฉพาะ เรียกว่าฟิล์มอคูสติก (Acoustic PVB) ผลิตมาที่ความหนา 0.50 มม. (โดย Kuraray) และความหนา 0.76 มม. (โดย Kuraray / Eastman / Sekisui) ซึ่งฟิล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติเหมือนฟิล์ม PVB ที่ใช้ในการผลิตกระจกลามิเนตทุกประการ แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการกันเสียงได้มากกว่าฟิล์มธรรมดาอีกอย่างน้อย 2-3 เดซิเบล

ประเภทกระจก : กระจกกันเสียง

การเลือกกระจกกันเสียงดูได้จากค่า STC ซึ่งค่า STC เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบในห้องทดลอง ด้วยการแบ่งห้องว่างออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรกจะเป็นห้องที่มีผนังหนามิดชิดเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก จากนั้นก็จะนำวัสดุที่ต้องการทดสอบ เช่น ประตู แผ่นผนังสำเร็จรูป แผ่นฝ้าเพดาน หรือ กระจก มาติดตั้งขั้นกลางระหว่าง 2 ห้อง จากนั้นจะปล่อยพลังเสียงที่มีความดัง แล้วทำการวัดเสียงแบบแยกความถี่ทั้ง 2 ห้อง เพื่อหาส่วนต่าง หรือเรียกว่าค่า Transmission Loss คือ ค่าที่วัสดุที่ทำการทดสอบสามารถป้องกันเสียงได้นั่นเอง

จากนั้นจะนำค่า Transmission Loss หรือ TL ออกมาแยกความถี่ในระดับต่างๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ระว่างความถี่ (Hz) และค่าเดซิเบลที่ได้ จากนั้นจะนำความสัมพันธ์ในระดับต่างๆไปคำนวนด้วยกราฟเพื่อหาค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ที่เหมาะสมต่อไป

คุณสมบัติของกระจก

  • มีความแข็งแรง ทนต่อการบุกรุก หรือ โจรกรรม มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • สามารถทำความสะอาดได้ง่าย 
  • ช่วยลดรังสียูวี และป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนำไปใช้งาน

การนำกระจกกันเสียง (Acoustic Glass)​ ไปใช้ในงานสถาปัตยกรรม

โดยส่วนใหญ่แล้วกระจกกันเสียงจะถูกนำไปติดตั้งเป็นผนัง ประตู หรือ หน้าต่าง เป็นหลัก การนำกระจกกันเสียงไปใช้งาน ค่า STC จะต้องมีความสัมพันธ์เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่การใช้งานแบบต่างๆ ดังนี้

  • STC 30-39 เหมาะกับอาคารที่พักอาศัยทั่วไป
  • STC 40-49 เหมาะกับร้านค้า ร้านอาหาร และอาคารสาธารณะทั่วไป
  • STC 50-59 เหมาะกับห้องประชุม พื้นที่สำนักงาน พิพิธภัณฑ์ หรืออาคารพักอาศัยที่ต้องการความเป็นส่วนตัว 
  • STC 60-69 เหมาะกับห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องอัดเสียงจัดรายการ หรือ สนามบิน
  • STC 70-74 เหมาะสำหรับโรงภาพยนตร์  โรงละคร หรือ เธียเตอร์สำหรับจัดงานคอนเสิร์ต
  • STC 75 ขึ้นไป เหมาะกับสถานบันเทิง

กระจกลามิเนตสี (Laminated Color) 

กระจกลามิเนตสี (Laminated Color) คืออะไร?

กระจกลามิเนตสี เกิดจากการนำฟิล์มลามิเนตชนิด PVB ที่มีสีในเนื้อฟิล์ม มาลามิเนตกับกระจก โดยสามารถผสมฟิล์มสีต่างๆ เพื่อสร้างเฉดสีใหม่ๆ ได้นับพันเฉดสี มีคุณสมบัติของกระจกนิรภัยที่ช่วยยึดกระจกให้อยู่ด้วยกันเป็นแผ่นเมื่อแตก ภายใต้มาตรฐาน มอก.1222-2539 เช่นเดียวกับกระจกลามิเนตชนิดฟิล์มใส

ประเภทกระจก : กระจกสำหรับตกแต่ง

คุณสมบัติ

  • เหมาะกับการตกแต่งภายใน สร้างสีสันและความสวยงามให้กับงานสถาปัตยกรรม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้กั้นพื้นที่ระหว่างห้อง โดยจำกัดส่วนของการมองเห็นเพื่อความเป็นส่วนตัว เช่นห้องทำงาน ห้องประชุม ฟิตเนส
  • กระจกลามิเนตพิมพ์ลายไล่โทนด้วยหมึกยูวี สำหรับงานท็อป กระจกเฟอร์นิเจอร์สีสันสดใส เพิ่มความน่าสนใจให้กับพื้นที่

กระจกลามิเนตผ้า-กระดาษ (Fabic Laminated)

กระจกลามิเนตผ้า-กระดาษ (Fabic Laminated) คืออะไร?

คือการผสมผสานที่ลงตัวของลวดลายผิวสัมผัสของเนื้อผ้าที่หล่อหลอมลงในกระจกลามิเนต กลายเป็นกระจกลามิเนตลายผ้า เพื่อการตกแต่งภายใน เลือกจากลายผ้ามาตรฐาน สามารถสั่งผลิดให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ มาลามิเนตกับกระจกในชนิดผิวและความหนาต่างๆ ได้ตามต้องการ แต่ละลวดลาย ของกระจกลามิเนตลายผ้าจะสร้างอารมณ์ และอรรถบทขึ้นในแบบของตนเอง ซึ่งให้ทั้งความรู้สึกอบอุ่น มีรสนิยม และยุคสมัยได้เป็นอย่างดี

ประเภทกระจก : กระจกสำหรับตกแต่งภายใน

คุณสมบัติของกระจก

  • ลวดลายของกระจกที่มีความเฉพาะตัว เหมาะกับการตกแต่งภายในที่หลากหลาย
  • กระจกที่ให้ความปลอดภัยต่อการใช้งาน ทำความสะอาดง่าย
  • สามารถสั่งผลิดให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ

การนำไปใช้งาน

  • เหมาะสำหรับใช้ในงานตกแต่งภายใน กรุผนัง และกรุเฟอร์นิเจอร์
  • เหมาะกับการใช้เฉพาะจุดที่ต้องการแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจนมากขึ้น 

  • เหมาะกับการใช้เฉพาะจุดที่ต้องการให้โดดเด่น สะดุดตา เป็นจุดเด่นของงานตกแต่ง

ข้อมูลผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกระจก

  • Evalam series 2021-Orla Deco

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    400 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam-Sprinkle Pearl

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    750 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam-Steel Thread

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    1,050 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam series 2021-Pale Sack

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    450 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam-MONET WHITE

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    650 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam series 2021-Tanny Cloud

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    400 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam series 2021-Tic Tac

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    450 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam series 2021-Temptation

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    400 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Evalam-Shadow Light

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    550 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • lamiglas

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    325 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • Mystique MT-03

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    600 บาท/ตารางฟุต

    Online
  • กระจกลามิเนต ลายผ้า

    กระจก และวัสดุโปร่งแสง กระจกตกแต่งภายใน

    790 บาท/ตารางฟุต

    Online

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ