CELOUR สีดักจับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ภาพประกอบจาก

https://www.bongbong.work/work/celour

ในปัจจุบันโลกมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลดลงบ้างแล้ว แต่กลับมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมสูงขึ้น และแตะระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ ทุกวงการหันมาให้ความสนใจการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากยิ่งขึ้น รวมถึงวงการสถาปัตยกรรมที่มีการคิดค้นนวัตกรรมการก่อสร้าง และวัสดุเพื่อช่วยลดโลกร้อน กักเก็บ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ภาพประกอบจาก

https://www.dezeen.com/2021/08/06/carbon-capturing-celour

บัณฑิตด้านการออกแบบ Kukbong Kim ได้ทำการพัฒนาสี Celour มาจากผงคอนกรีต และเศษเหลือจากการรีไซเคิลคอนกรีต โดยปกติเศษคอนกรีตจะถูกนำไปฝังกลบ ซึ่งจะทำให้ดินเป็นด่าง และส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในบริเวณนั้น โดยปกติคอนกรีตที่ถูกรื้อถอนจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ร้อยละ 20 ของน้ำหนัก และสี Celour ที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถกักคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 27 กรัมต่อสีที่ใช้ทุก ๆ 135 กรัม

ภาพประกอบจาก

https://www.dezeen.com/2021/08/06/carbon-capturing-celour

กลไกในการทำงานของสี Celour จะผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า Mineral Carbonation ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อสีทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศรอบ ๆ สี Celour จึงสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตซีเมนต์ได้ตั้งแต่แรก

Kim กล่าวว่า “เป้าหมายของฉันคือการทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เพราะมีอยู่ในอากาศที่ระดับสูงแล้ว และเราต้องมีส่วนร่วมในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ในชีวิตประจำวันของเราด้วย”

ภาพประกอบจาก

https://www.dezeen.com/2021/08/06/carbon-capturing-celour

ปูนซีเมนต์มีส่วนผสมของคาร์บอนมากที่สุด และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 8 ของการปล่อยก๊าซสู่โลก แต่เมื่อคอนกรีตถูกนำกลับมาใช้ใหม่จะนำเพียงมวลหลักมาใช้เท่านั้น ขณะที่สารยึดเกาะซีเมนต์จะถูกบดให้เป็นผง และส่งไปยังหลุมฝังกลบทำให้เกิดการรบกวนดินบริเวณรอบ ๆ เนื่องจากมีแคลเซียมออกไซด์สูงเมื่อผสมกับน้ำใต้ดิน หรือน้ำในดินจะกลายเป็นแคมเซียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่างอย่างรุนแรง

ภาพประกอบจาก

https://www.bongbong.work/work/celour

จากการศึกษาของ Kukbong Kim พบว่าซีเมนต์สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณร้อยละ 43 ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตผ่านกระบวนการแร่คาร์บอเนต

Celour สามารถปรับปรุงความสามารถในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการนำเศษคอนกรีตมาบด ผสมกับสารยึดเกาะ น้ำ และเม็ดสี นอกจากนี้ ผงหยาบถูกกรองเพิ่มเติม และเป็นผงให้ละเอียดมากขึ้นเพื่อเพิ่มพื้นผิวในขณะที่สารยึดเกาะโพลีไวนิงแอลกอฮอล์ (PVA) จะสร้างช่องว่าง ๆ เพื่อให้มีอากาศเข้าไปได้

ภาพประกอบจาก

https://www.dezeen.com/2021/08/06/carbon-capturing-celour

ระยะเวลาที่สีสามารถเก็บกักคาร์บอนได้นั้นขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสีหลังจากที่ไม่ต้องการใช้แล้ว แต่คิมบอกว่ามันอาจถูกล็อกไว้ได้เป็นพันๆ ปี เว้นแต่จะได้รับความร้อนจัดซึ่งจะทำให้โครงสร้างทางเคมีของคาร์บอเนตเปลี่ยนแปลงไป

สรุปประเด็นที่น่าสนใจของ Celour สีดัก และกับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์

  1. Celour คือสีที่นำเศษคอนกรีตจากการรีไซเคิลซีเมนต์ มาบดเป็นผงละเอียดผสมกับสารยึดเกาะ น้ำ และเม็ดสี เป็นสีที่ทาได้ทั้งในร่มแ และนอกอาคารสามารถดูดซึม และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ Celour ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยลดโลกร้อน เป็นการนำเศษเหลือของการรีไซเคิลซีเมนต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  และทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
  2. Celour ถือเป็นนวัตกรรมที่ทำให้ทุกคนหันมาสนใจการคิดค้น และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแต่ป้องกันจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ยังช่วย กักเก็บ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อลดโลกร้อน และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ยั่งยืน 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

  1. https://www.dezeen.com/2021/08/06/carbon-capturing-celour-paint-allows-anyone-to-participate-in-co2-removal-in-their-daily-lives/
  2. https://www.bongbong.work/work/celour

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

อ่านเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Wazzadu Material and Design Innovation ได้ที่

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ