หลักการออกแบบ “ห้องครัว” สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ (Universal Design Kitchen for Disabled & Elderly)

หลักการออกแบบห้องครัวสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย Detail สำคัญในการออกแบบ ที่ให้ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน โดยอยู่บนพื้นฐานการออกแบบเพื่อมวลชน  (Universal Design) ที่มีความเหมาะสมกับขนาดสรีระ หรือลักษณะของผู้พิการ และผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถแบ่งรายละเอียดการออกแบบตามพื้นที่การใช้งานจุดต่างๆได้ดังนี้

ห้องครัว

ช่องว่างระหว่างตู้ด้านล่าง ด้านบนของเคาน์เตอร์ อุปกรณ์ หรือผนังที่อยู่ในบริเวณครัว

  • ครัวรูปแบบตัว I (I-Shaped) ครัวที่ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้จากปลายทั้งสองด้านของเคาน์เตอร์

ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์แบบขนานกัน 2 ด้าน หรือมีเคาน์เตอร์ด้านเดียว ช่องว่างระหว่างตู้ เคาน์เตอร์ และอุปกรณ์ ต้องไม่น้อยกว่า 1,000 มม.

  • ครัวรูปแบบตัว U (U-Shaped) ครัวที่ผู้ใช้เข้าได้จากปลายด้านเดียวของเคาน์เตอร์

ไม่ว่าจะเป็น เคาน์เตอร์รูปตัวยู หรือเคาน์เตอร์แบบขนานกัน 2 ด้าน หรือมี เคาน์เตอร์ด้านเดียว ช่องว่างระหว่างตู้ เคาน์เตอร์ และอุปกรณ์ หรือ ผนังที่อยู่ในบริเวณครัว ต้องไม่น้อยกว่า 1,500 เพื่อให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อ สามารถหมุนตัวกลับได้

  • ครัวรูปแบบตัว L (L-Shaped) ครัวที่ผู้ใช้เข้าได้จากปลายทั้ง 2 ด้านของเคาน์เตอร์ (ตัวเลือกเพิ่มเติม)

กรณีเคาน์เตอร์ครัวรูปแบบตัว L ที่มีกำแพงห้องอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับเคาน์เตอร์ พื้นที่ช่องว่างของทางเข้า ระหว่างตู้เคาน์เตอร์ กับกำแพงฝั่งตรงข้าม ต้องไม่น้อยกว่า 1,100 มม.

หลักการออกแบบ “ห้องครัว” สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ

(Universal Design Kitchen for Disabled & Elderly)

เคาน์เตอร์ปรุงอาหาร

ต้องจัดให้มีพื้นที่สําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ สามารถใช้งานได้ โดยจัดให้มี ช่องว่างสําหรับเข่าและเท้า และคํานึงถึงการป้องกันอันตรายจาก อุปกรณ์ที่อาจมีในพื้นที่ว่างสําหรับเขาและเท้า ตําแหน่งของจุดควบคุม อุปกรณ์ในการปรุงอาหารต้องไม่มีการเอื้อมข้ามเตา

หลักการออกแบบ “ห้องครัว” สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ

(Universal Design Kitchen for Disabled & Elderly)

อุปกรณ์ในครัว

  • อุปกรณ์แต่ละตัว ต้องจัดพื้นที่ให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข้าใช้งานแบบใช้ด้านข้าง เข้าหรือใช้ด้านหน้าเข้า โดยอุปกรณ์แต่ละตัวสามารถวางซ้อนกันได้ แต่ ต้องวางให้ที่ควบคุมอุปกรณ์แต่ละตัวนั้นสูงไม่เกินระยะที่ผู้ใช้เก้าอี้ล้อ สามารถเอื้อมถึง
  • เตาอบ ต้องมีที่ควบคุมอยู่ด้านหน้า และมีเคาน์เตอร์เตรียมอาหารอยู่ ติดกับด้านข้างของเตาอบอย่างน้อยข้างหนึ่ง เตาอบชนิดบานพับข้าง เคาน์เตอร์จะต้องอยู่ติดข้างฝั่งมือจับของเตาอบ สําหรับเตาอบชนิด บานพับล่าง เคาน์เตอร์จะอยู่ข้างใดก็ได้ ควรออกแบบให้มีชั้นวางของ อยู่ด้านหน้าของเตาอบชนิดบานพับข้างชั้นวางนี้จะเป็นแบบไม่ถาวรก็ได้

หลักการออกแบบ “ห้องครัว” สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ

(Universal Design Kitchen for Disabled & Elderly)

เคาน์เตอร์เตรียมอาหาร และอ่างล้าง

  • ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 750 มม. สูงไม่น้อยกว่า 800 มม. แต่ไม่เกิน 900 มม. เหนือพื้นครัว เว้นแต่ความสูงของเคาน์เตอร์และอ่างล้างที่สามารถปรับได้โดย ต้องสูงไม่น้อยกว่า 700 มม. แต่ไม่เกิน 900 มม. อ่างล้างต้องลึกไม่เกิน 170 มม.
  • เคาน์เตอร์และอ่างล้างสําหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อใช้งาน ต้องจัดให้อยู่ใน ตําแหน่งที่ผู้ใช้เก้าอี้ล้อใช้ด้านหน้าเข้า และต้องมีช่องว่างสําหรับเข่า และเท้าอยู่ใต้เคาน์เตอร์หรืออ่างล้าง กรณีมีผู้อยู่ใต้เคาน์เตอร์หรือ อ่างล้าง ผู้นั้นต้องสามารถเคลื่อนย้ายออกได้ และผิวพื้นห้องครัวต้อง ถูกปูใต้ตู้นั้นทั้งหมด
  • ต้องไม่มีผิวที่มีคมหรือขรุขระที่จะเป็นอันตรายอยู่ใต้เคาน์เตอร์ที่เตรียม อาหาร ท่อและผิวใต้อ่างล้างต้องป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สัมผัสถูกโดยตรง ไม่น้อยกว่า 750 มม.

หลักการออกแบบ “ห้องครัว” สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ

(Universal Design Kitchen for Disabled & Elderly)

สวิตช์และเต้ารับไฟฟ้า

  • สวิตซ์ไฟควรติดตั้งสูงจากพื้นไม่ต่ํากว่า 900 มม. แต่ไม่เกินกว่า 1,200 มม.
  • สวิตช์ไฟส่องสว่างควรติดตั้งในแนวเส้นทางสัญจร หรือที่บริเวณตําแหน่งเข้า-ออกของห้องหรือพื้นที่
  • ควรพิจารณาเลือกใช้สวิตช์ที่มีขนาดใหญ่ และตัวสวิตซ์ควรมีสีที่ต่างกับบริเวณที่ติดตั้งเพียงพอที่จะสามารถสังเกตเห็นได้
  • ควรพิจารณาเลือกใช้สวิตช์ชนิดที่มีไฟสัญญาณส่องสว่างเมื่อปิดสวิตช์ เพื่อสามารถมองเห็นตําแหน่งสวิตซ์ได้ในที่มืด และควรหลีกเลี่ยงสวิตช์ที่ต้องใช้การบิดหมุน
  • ควรพิจารณาเลือกใช้สวิตซ์ไฟส่องสว่างสองทาง ในบริเวณพื้นที่ใช้งานที่มีทางเข้า-ออกเป็นคนละตําแหน่ง เช่น บันได ฯลฯ
  •  เต้ารับไฟฟ้าควรติดตั้งสูงจากพื้นไม่ต่ํากว่า 400 มม. แต่ไม่เกินกว่า 1,000 มม. เพื่อให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อสามารถเข้าถึงได้

ขอบคุณภาพประกอบจาก Pinterest.com

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

>> BAEDRFA.pdf

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ