ไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineered Wood) คืออะไร

อีกวัสดุที่ใช้แทนไม้จริงได้ โดยที่มีหน้าตาเหมือนกับไม้จริงมากที่สุดคือ “ไม้เอ็นจิเนียร์” ที่มีเลเยอร์ชั้นแรกเป็นผิวของไม้จริง ทำให้เมื่อมองเทียบกันแล้วระหว่างพื้นไม้เอ็นจิเนียร์กับพื้นไม้จริงจะแยกไม่ออก เพราะต่างเป็นพื้นผิวจากไม้ธรรมชาติ ต้องใช้วิธีแยกออกมาเป็นแผ่นถึงจะเห็นชั้นเลเยอร์ว่าเป็นไม้จริงทั้งแผ่นหรือมีเลเยอร์ชั้นต่างๆ ประกอบเป็นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

ไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineered Wood) คืออะไร :

“ไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineered Wood)” เป็นไม้ที่พัฒนาเรื่องคุณสมบัติและชั้นโครงสร้างของวัสดุเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ใช้ทรัพยากรของเนื้อไม้จริงที่ลดปริมาณลง สู่การขายสินค้าพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ภายใต้ราคาที่ถูกกว่าพื้นไม้จริง เนื่องด้วยราคาไม้จริงในตลาดนั้นค่อนข้างสูง ไม้เอ็นจิเนียร์จึงเป็นอีกตัวเลือกสำหรับคนชอบ texture ของไม้จริงที่ต้องการประหยัดต้นทุนการออกแบบและตกแต่ง

รูปภาพประกอบจาก : https://www.archdaily.com

โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างของไม้เอ็นจิเนียร์จะมี 3 เลเยอร์หลักๆ คือ

  • ชั้นที่ 1 : เป็นชั้นผิวของไม้จริงที่เน้นความสวยงาม มีให้เลือกหลายชนิดซึ่งขึ้นอยู่กับว่าต้องการตกแต่งเป็นลายไม้ของชนิดไหน เช่น ลายไม้โอ๊ค ลายไม้สัก ลายไม้วอลนัท เป็นต้น ในชั้นเลเยอร์นี้ เนื้อไม้จะมีความหนาประมาณ 3 - 4 mm. และมีการทาเคลือบผิวให้พร้อมใช้งาน
  • ชั้นที่ 2 : เป็นไม้ชนิดไม้ยางพาราที่ฝานเป็นชิ้นเล็กๆ เรียงตัว 90 องศากับผิวหน้าไม้จริง และเว้นช่องไฟเล็กน้อย ทำเป็นไส้แกนกลางเพิ่มความแข็งแรงของพื้นไม้ โดยจะวางไม้คนละแนวกับชั้นแรกเพื่อให้โฟลของอากาศไหลผ่านแต่ละชั้นได้สะดวก ทำให้พื้นไม้มีการหดตัว-ขยายตัวที่ต่ำ ลดปัญหาเรื่องการติดตั้งที่ไม่เรียบร้อย
  • ชั้นที่ 3 : เป็นไม้ยางพาราหรือไม้ชนิดอื่นที่เอามาเสริมความแข็งแรงอีกชั้น เป็นแบบเต็มแผ่น

 

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 700 – 4,000 บาท / ตารางเมตร

รูปภาพประกอบจาก : https://www.rejuvenateproducts.com

คุณสมบัติต่างๆ ของไม้เอ็นจิเนียร์ :

ข้อดี

- มีลายไม้จากธรรมชาติที่สวยงามให้เลือกหลากหลายและสัมผัสได้ถึงผิวไม้จริง

- ชั้นบนสุดของพื้นไม้เคลือบผิวด้วย UV พร้อมใช้งาน จึงไม่ต้องขัดทำสี

- ไม่ทำให้เกิดฝุ่นไม้ เพราะไม่ต้องตกแต่งเพิ่ม

- ใช้เวลาในการติดตั้งที่น้อยกว่ากับพื้นไม้จริง

 

ข้อเสีย

- ไม่ทนชื้น ไม่ทนน้ำ

- ไม่ทนทานต่อการขูดขีด

- หากเทียบกับพื้นไม้ชนิดอื่น จะมีราคาสูงกว่าพื้นไม้ลามิเนต

รูปภาพประกอบจาก : https://www.archdaily.com

การนำไม้เอ็นจิเนียร์ไปใช้งาน :

ส่วนใหญ่แล้วไม้เอ็นจิเนียร์มักใช้ตกแต่งพื้นเป็นหลัก เหมาะกับการตกแต่งพื้นที่ภายในอาคารและต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่ใกล้กับบริเวณที่มีความชื้นสะสมหรือพื้นที่ที่อาจโดนน้ำอยู่บ่อยๆ อย่างห้องครัวและห้องน้ำ ห้องที่สามารถใช้ตกแต่งได้ คือ ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน ห้องนอน และบริเวณทางเดินภายในอาคารที่ต้องการเพิ่มบรรยากาศของความเป็นธรรมชาติมากขึ้น

อ้างอิงโดย :

https://www.doublefloor.co.th/พื้นไม้เอ็นจีเนีย-คือ/#:~:text=พื้นไม้เอ็นจิเนียร์%20หรือ%20Engineered%20Wood%20Flooring,ไม้เอ็นจิเนียร์

https://www.youtube.com/watch?v=xNWnHU72GII

https://propholic.com/prop-talk/ไขข้อข้องใจ-เจาะลึกวัส

 

อ้างอิงรูปประกอบ :

https://www.archdaily.com

https://www.rejuvenateproducts.com

ข้อมูล Wazzadu Encyclopedia อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับไม้

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ