ไม้เนื้อแข็งปานกลาง ที่ใช้ในงานก่อสร้าง มีกี่ชนิด?

ข้อมูลการแบ่งชนิดของไม้ในหมวดหมูของไม้เนื้อแข็งปานกลางนั้นมีหลายข้อมูลที่อาจจะไม่ตรงกัน ดังนั้น เราจึงอ้างอิงตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ ซึ่งจัดแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ ไม้เนื้อแข็งปานกลางตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ กับ ไม้เนื้อแข็งปานกลางแต่ความทนทานตามธรรมชาติต่ำหรือไม่มี ซึ่งการวัดหรือจัดแบ่งประเภทของไม้เนื้อแข็งปานกลาง จะดูจากค่าความแข็งแรงในการตัด M.O.R ค่าสัมประสิทธิ์ของการหัก ซึ่งก็คือแรงสูงสุดของการทดสอบที่ทำให้ไม้แตกหักเสียหาย

  • ไม้เนื้อแข็งปานกลางตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ : คือไม้ที่มีความแข็งแรงในการในการดัด (M.O.R) ของไม้แห้ง 600-1,000 กก./ตารางเซนติเมตร และมีความทนทานตามธรรมชาติ 2-6 ปี
  • แข็งปานกลางแต่ความทนทานตามธรรมชาติต่ำ/ไม่มี : คือไม้ที่มีความแข็งแรงในการในการดัด (M.O.R) ของไม้แห้ง 600-1,000 กก./ตารางเซนติเมตร และมีความทนทานตามธรรมชาติต่ำกว่า 2 ปี

หมายเหตุ ไม้แห้ง จะมีความแข็งแรงจากการดัดประมาณ 1.5 เท่าของไม้เปียก

ไม้จำปาป่า

เนื้อไม้สีน้ำตาลแกมเหลืองอ่อน หรือสีน้ำตาลปนขาว ถูกจัดอยู่ในไม้อเนกประสงค์ คือ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของภาคใต้และของประเทศ เนื่องจากไม้จำปาป่าเป็นไม้โตเร็ว สูงใหญ่ ลำต้นตรง เนื้อไม้คุณภาพดี เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียดสม่ำเสมอ เสี้ยนตรง น้ำหนักเบา และมีความแข็งแรงปานกลาง ทำให้สามารถนำไปใสกบ ตกแต่งได้ง่าย เหมาะกับการนำไปใช้เป็นไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน บุผนัง ทำบานประตู หน้าต่าง ในภาคใต้เกษตรกรยังนิยมนำไม้จำปาป่ามาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้างบ้านเรือน ใช้งานในร่ม เช่น ใช้ทำโครงหลังคาบ้าน กระดานกั้น กระดานปูพื้น เป็นต้น

ข้อดี

  • เนื้อไม้ละเอียด เสี้ยนตรง น้ำหนักเบา
  • เหมาะกับการนำไปใช้เป็นไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน
  • ลำต้นสูงใหญ่ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
  • ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนจึงสามารถย้อมทำสีได้ง่าย

ข้อเสีย

  • เนื้อไม้ที่ไม่ค่อยทนทานต่อความชื้นมากนัก
  • ไม่เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคารที่ต้องเจอกับสภาพอากาศและความชื้นโดยตรง
  • มีกลิ่นที่ค่อนข้างฉุน

ช่วงราคา

  • ราคาโดยประมาณ 1,000-3,500 บาท/แผ่น

ไม้ยางพารา (Rubber Wood) 

ไม้ยางพารา เสี้ยนใหญ่ เนื้อหยาบ และมีความอ่อนตัวค่อนข้างมาก จึงทำให้การตัดแต่งสามารถทำได้ง่าย อีกทั้งยังมีราคาไม่แพง สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด นอกจากนี้ไม้ยางพารายังมีโทนสีอ่อน จึงสามารถนำไปทำสีได้ง่ายตามที่ต้องการ จึงนิยมนำไปใช้ในงานตกแต่งภายใน เช่น ไม้พื้นบันได ,ประตู ,วงกบ หรือ เฟอร์นิเจอร์

แต่ในขณะเดียวกันไม้ยางพาราก็ยังเป็นไม้ที่มีอัตราการยือหดตัวสูง เมื่อหดตัวยางไม้จะปะทุออกจากเนื้อไม้ เมื่อตอกตะปูเนื้อไม้จะแตกได้ง่าย ภายในเนื้อไม้ยางพารานั้นจะมีสารอาหารของปลวก และเชื้อรา จึงทำให้บิดงอ และขึ้นราง่าย ดังนั้นจึงต้องอัดน้ำยากันปลวก และอบแห้งเพื่อให้เนื้อไม้คงทนแข็งแรง ไม้ยางพาราจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยราวๆ 7 -10 ปี

Benefit : ข้อดี

  • ไม้ยางพารา มีความอ่อนตัวค่อนข้างมากจึงทำให้การตัดแต่งทำได้ง่าย
  • ไม้ยางพารา มีโทนสีอ่อน จึงสามารถนำไปทำสีได้ง่ายตามที่ต้องการ
  • ไม้ยางพารา มีราคาที่ไม่แพง และสามารถหาซื้อได้ง่าย

Disadvantage : ข้อเสีย

  • ไม้ยางพารา เป็นไม้ที่มีอัตราการยือหดตัวสูง และบิดงอได้ง่าย
  • เมื่อนำไม้ยางพาราไปแปรรูป ตัด-ซอยออกมาเป็นท่อน-แผ่น จะมีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก
  • ไม้ยางพารา มีขีดจำกัดในการรับน้ำหนัก เพราะมีเนื้อไม้ที่ค่อนข้างอ่อน
  • ภายในเนื้อไม้จะมีสารอาหารของปล

ช่วงราคา

  • ราคาโดยประมาณ 200-2,700 บาท/แผ่น

ไม้นนทรี

นนทรี หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum จัดเป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ตามชายป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ และขึ้นตามป่าโปร่งชื้น ทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีชมพูถึงน้ำตาลแกมแดง เนื้อเป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง เป็นคลื่นเล็กน้อย น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 575 กก. /ลบ.ม.  เนื้อไม้มีความหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งได้ง่าย ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำหีบ ทำพื้น เพดาน ฝา พานท้ายปืน คันไถ ฯลฯ หรือใช้เผาทำถ่าน อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นไม้มงคลอีกด้วย

ข้อดี

  • เหมาะกับการนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ทำพื้น เพดาน ฝา รอด ตง อกไก่
  • นำไปใช้ในงานตกแต่งต่างๆ เช่น ทำหีบ พานท้ายปืน คันไถ 
  • เนื้อไม้มีความหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งได้ง่าย 

ข้อเสีย

  • ปลวก มอดสามารถกินเนื้อไม้ได้ในบางจุด

ช่วงราคา

  • ราคาโดยประมาณ 900-6,000 บาท/แผ่น

ไม้กระบาก

มีถืนกำเนิดที่มักจะขึ้นตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเบญจพรรณที่มีความชื้นทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-400 เมตร มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ลักษณะของเนื้อไม้มีสีเหลือง สีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน หรือสีน้ำตาลคล้ำ เสี้ยนตรงและเนื้อไม้ที่ค่อนข้างหยาบแต่สม่ำเสมอ แข็ง เหนียว เด้งพอประมาณ เลื่อยไสกบตกแต่งได้ไม่ยาก น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความทนทานตามธรรมชาติจากการทดสอบด้วยการปักดินฉลี่ย 5-6 ปี

ข้อดี

  • เป็นไม้ที่ค่อนข้างทนความชื้นได้ดี 
  • เหมาะกับการนำไปใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต เพราะโดนน้ำแล้วโอกาสโค้งหรือบิดงอน้อย/ไม่มี
  • เป็นไม้ที่แห้งง่าย และโอกาสผุพังต่ำ
  • นำไปใช้ทำเครื่องเรือน/ราคาไม่แพง

ข้อเสีย

  • เนื้อไม้เป็นทราย จึงส่งผลให้กัดคมเครื่องมือและทำให้เครื่องมือทื่อเร็ว 

ช่วงราคา

  • ราคาโดยประมาณ 50-250 บาท/แผ่น

ไม้กระท้อน

ไม้กระท้อน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ขึ้นตามป่าดิบชื้นทั่วประเทศ มีความแข็งแรงระดับปานกลาง มีความทนทานตามธรรมชาติจากการทดสอบด้วยการปักดิน ประมาณ 2-7 ปี ปริมาณความชื้นของไม้อยู่ที่ 15% ลักษณะเนื้อไม้มีสีแดงเรื่อปนเทา เสี้ยนไม้ตรง และค่อนข้างมีความหยาบ เหมาะกับการใช้งานภายในอาคาร ตกแต่งไสกบและขัดเงาได้ง่าย มักนิยมนำไปใช้ในการทำพื้น เพดาน หรือเครื่องเรือนต่างๆ

ข้อดี

  • เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้เป็นของตกแต่งหรือเครื่องเรือนต่างๆ เช่น โต๊ะกินข้าว โต๊ะหมูบูชา กล่องไม้ต่างๆ
  • ตกแต่งไสกบและขัดเงาได้ง่าย

ช่วงราคา

  • ราคาโดยประมาณ 450-1500 บาท/แผ่น

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • หนังสือ ไม้เนื้อแข็งของประเทศไทย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้

  • ฐานข้อมูลกรมป่าไม้ ต้นจำปาป่า.pdf

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ