Working Space Ergonomic design ออกแบบพื้นที่การทำงานตามหลัก "การยศาสตร์"

ที่มาของคำว่า Ergonomics (เออร์โกโนมิคส์)

คำว่า Ergonomics เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 โดยนักการยศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ KFH Murrell ซึ่งคำว่า Ergonomics เกิดจากการนำเอาคำจากภาษากรีก 2 คำมาสนธิกัน นั่นก็คือคำว่า "ergon" ซึ่งหมายถึง "งาน" หรือ "work" และคำว่า nomos ซึ่งหมายถึง "กฎ" หรือ Law เมื่อรวมแล้วจะเกิดคำใหม่ขึ้นมาคือ Ergonomics หรือ Law of work นั่นเอง

ขอบคุณภาพประกอบจาก www.designmilk.com

ความเจ็บป่วยของร่างกายที่มาจากการทำงาน เกิดได้จากสาเหตุอะไรบ้าง ? 

  • การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  • การนั่งในท่าที่ผิดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  • การใช้ร่างกายทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  • เก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการนั่งในท่าที่ผิด
  • โต๊ะทำงานที่ไม่สมดุลต่อร่างกาย

ขอบคุณภาพประกอบจาก www.fully.com

Ergonomics หรือ การยศาสตร์ คืออะไร ?

Ergonomics หรือ การยศาสตร์  คือหลักการที่มีขึ้นเพื่อศึกษา และพัฒนาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของการทำงาน โดยมีหลักพิจารณาว่าสถานที่ทำงานดังกล่าว ได้มีการออกแบบ หรือ มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง มีความเหมาะสมถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีความไม่ปลอดภัย หรือ มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยทั้งร่างกาย และจิตใจในการทำงาน รวมถึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้หลัก Ergonomics ยังถูกนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ หรือระบบงานต่างๆ เพื่อให้มนุษย์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายและจิตใจให้น้อยที่สุด

แม้หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆแล้วหลัก Ergonomics หรือ การยศาสตร์ นั้นวนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะ 24 ชั่วโมง

ขอบคุณภาพประกอบจาก www.fully.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก www.fully.com

ดังนั้น Ergonomics หรือ การยศาสตร์ จึงเป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักการทางด้านชีววิทยา จิตวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา เพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุทำให้พนักงานเกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ อันเนื่องมาจากการทำงานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ หลักการยศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไข หรือ ป้องกันเพื่อไม่ให้มีการออกแบบพื้นที่การทำงาน เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน หรือ เครื่องมืออุปกรณ์การทำงานต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมของพนักงาน

สรีระศาสตร์ กับลักษณะท่านั่งที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์​ (Ergonomic Chair)

  • หน้าจอ ควรอยู่ห่างจากตัว1 ช่วงแขน และขอบบนของหน้าจอควรอยู่ระดับเดียวกับระดับสายตา
  • ศรีษะ ตั้งตรง หรือ ก้มเล็กน้อย ทำมุม 10-15 องศา สายตาขนานกับพื้น
  • คอ อยู่ในระดับสายตา ไม่เอียง หรือ โน้มไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • หลัง ชิดติดพนักพิง เอนไปทางด้านหลังเล็กน้อย 120 องศา ตัวตรง ไม่แอ่นหรือก้ม
  • ก้น ต้องแนบกับบริเวณมุมฉากของพนัก ลงน้ำหนักที่กล้ามเนื้อก้นซ้าย และขวาให้เท่ากัน
  • ข้อศอก วางแนบชิดลำตัว หรือ วางบนที่พักแขนทำมุม 90 องศา ข้อมือ และศอกอยู่ในแนวเส้นตรง
  • ต้นขา วางราบกับที่นั่ง และแนบชิดกับเบาะรองนั่ง
  • เข่า ข้อพับแนบชิดเบาะรองนั่ง ทำมุม 90 องศา
  • เท้า วางราบกับพื้นแบบเต็มฝ่าเท้า

ข้อกำหนด และลักษณะเก้าอี้ทำงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic Chair) 

  • พนักพิงด้านหลังมีส่วนเว้าเพื่อรองรับเอวช่วงล่าง/หลังให้แนบกับเก้าอี้ และสามารถปรับการล็อคเอนได้ (Backrest tilt angle adjustment)
  • ปรับระดับความสูงของที่รองคอได้ (Headrest height adjustment)
  • ปรับระดับขององศาที่รองคอได้ (Headrest angle adjustment)
  • ที่รองคอเป็นตาข่ายโปร่ง ไม่เก็บฝุ่น ทำความสะอาดง่าย
  • ปรับความหยืดหนุ่นของพนักพิงได้ (Backrest flexible tilt tension adjustment)
  • ที่วางแขนสามารถปรับเข้า-ออกได้ (Arm-pad inward&outward adjustment) และสามารถปรับระดับความสูงได้ (Armrest height adjustment)
  • ปรับรองนั่งสามารถปรับเบาะเข้า-ออกได้ (Seat depth adjustment)
  • สามารถปรับเบาะรองนั่งเข้า-ออกได้ (Seat height adjustment)

Sponsored Ads

นอกจากการจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) การดูแลตัวเองก็สำคัญเช่นกัน

1. การนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อซึ่งส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บตามมา ควรแบ่งเวลาพักในการทำงานทุกๆชั่วโมงเป็นเวลาประมาณ 10 นาที

2. หมั่นลุกเดิน อย่าอยู่กับที่นานจนเกินไป
3. ยืดเส้นยืดสาย เช่น การบริหารคอ หมุนหัวไหล่ หรือบิดตัวก็ช่วยได้
4. พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง เพราะเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ ก็จะทำให้ดวงตาล้าได้ ลองหลับตาดูสัก 5 นาที หรือกรอกตาเป็นวงกลม
5. เลือกโต๊ะแบบที่สามารถปรับให้ยืนได้ เพื่อเปลี่ยนอริยาบทระหว่างทำงาน

ขอบคุณภาพประกอบจาก www.pinterest.com

สนใจการจัดพื้นที่การทำงานแบบ Ergonomics สามารถติดต่อได้ที่

www.ergotrend.com หรือ LINE @ERGOTREND

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก

  • Wazzadu Encyclopedia
  • https://www.ohswa.or.th

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ