ออกแบบ Working Space อย่างไร ให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคในยุค โควิด-19

ในช่วงเวลาที่สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่แน่ชัดว่าจะจบลงที่ตอนไหน สิ่งที่ผู้คนหรือองค์กรต่างๆ กำลังพยายามอย่างยิ่ง คือการปรับตัวให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างปลอดภัยและผ่านพ้นไปได้ อีกหนึ่งปัญหาที่หลายองค์กรต้องเจอ คือการทำงานร่วมกันของพนังงานในองค์กรที่มีอยู่หลายคน จะดูแลตัวเองและพนักงานในบริษัทอย่างไรให้ปลอดภัยมากที่สุดในกรณีที่จำเป็นต้องเข้ามาทำงานในออฟฟิศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ Wazzadu Encyclopedia จึงรวบรวมข้อมูลและไอเดียออกแบบออฟฟิศ หรือ Working Space ให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคในยุค โควิด-19 มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านกันครับ...

SOCIAL-DISTANCING AT WORK

Designer: Keith Melbourne Studio

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> https://www.yankodesign.com/

วิวัฒนาการของรูปแบบออฟฟิศหรือพื้นที่การทำงานในแต่ละยุคสมัย

ออฟฟิศรูปแบบ The Cubicle Farm ช่วงยุค 1980 

ออฟฟิศรูปแบบนี้จะเป็นการออกแบบพื้นที่เป็นบล็อกๆ บรรยากาศจะค่อนข้างตึงเครียด และกดดัน เน้นการทำงานอย่างคุ้มค่า โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบ Space ให้อำนวยต่อการเกิดความคิดสร้างสรรค์มากนัก

ออฟฟิศรูปแบบ The Open Plan Office ช่วงยุค 1990 

จนถึงปัจจุบันรูปแบบของออฟฟิศส่วนใหญ่ก็ยังเป็นแบบนี้อยู่ การออกแบบออฟฟิศแบบเปิด เพื่อให้พนักงานเกิดปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

ออฟฟิศรูปแบบ The Activity Based Workshop ช่วงยุค 2000 

การออกแบบออฟฟิศที่เริ่มคำนึงถึงพนักงานมากขึ้น การสร้าง Space ที่ทำให้คนทำงานรู้สึกเกิดไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายกว่า และเอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> Pinterest.com

การออกแบบพื้นที่การทำงาน ปลอดภัยจากเชื้อโรคในยุค โควิด -19

  • เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร

สิ่งสำคัญของการจัดวางโต๊ะทำงานให้ปลอดภัยจากเกิดแพร่กระจายของเชื้อโรค คือการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลที่นั่งใกล้กัน 1-2 เมตร 

  • ใช้โต๊ะที่ว่างในการช่วยรักษาระยะห่าง

จัดวางที่นั่งสำหรับการทำงาน โดยเว้นว่างโต๊ะระหว่างบุคคลเอาไว้ เพื่อให้เกิดช่องว่างระหว่างกัน ลดความแออัดของพื้นที่และความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคน ควรทำสัญลักษณ์ social distancing ในออฟฟิศ เช่น มาร์คตำแหน่งระยะห่างระหว่างที่นั่ง กำหนดที่นั่งที่ห้ามใช้

  • ใช้ฉากกั้นพื้นที่เป็นตัวช่วยเสริม

หลายๆ ออฟฟิศที่เป็นออฟฟิศยุคใหม่ จะจัดวางโต๊ะหรือพื้นที่การทำงานต่างๆ แบบเปิดโล่ง หรือตั้งโต๊ะแบบเรียงต่อกัน โดยไม่ได้ใช้ฉากกั้นแบบออฟฟิศในหลายปีก่อน ดังนั้น การใช้ฉากกั้นกันเชื้อโรคจึงเป็นไอเทมเสริมที่สามารถนำมาใช้ได้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่ง

 

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> Pinterest.com

ออฟฟิศรูปแบบ The Cubicle Farm ช่วงยุค 1980

อาจจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง...

การออกแบบออฟฟิศหรือพื้นที่การทำงานแบบกั้นเป็นบล็อก ลักษณะเหมือนกับการนำเอากล่องสี่เหลี่ยมมากั้นล้อมรอบผู้ที่นั่งทำงานเอาไว้ เรียงรายเป็นแถวและแนวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย คือภาพจำของออฟฟิศสำนักงาน หรือพื้นที่การทำงานที่ได้รับความนิยมในช่วงยุค 80 ภาพลักษณ์ของพื้นที่การทำงานที่เราสามารถสัมผัสได้ถึงความจริงจัง และเคร่งครัด แต่การออกแบบพื้นที่การทำงานแบบนี้ กลับกลายเป็นว่าอาจจะเหมาะกับการนำมาปรับใช้ในการออกแบบออฟฟิศในยุคที่เชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด และอาจจะเป็นไอเดียในการแบบออฟฟิศยุคใหม่ไปเลยก็เป็นได้

ออฟฟิศรูปแบบ The Cubicle Farm ช่วงยุค 1980

ขอบคุณภาพประกอบจาก lunarice.com

การดีไซน์พื้นที่การทำงานแบบเป็นบล็อกๆ

จะไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกกดดันจนเกินไป หากเพิ่มดีไซน์และลูกเล่นที่ดูสนุก

 

  • การใช้ความโค้งของรูปทรงในการช่วยลดความเป็นเหลี่ยมมุมของฉากกั้นแบบเดิมๆ
  • การใช้รูปทรงทางเลขาคณิต ในการดีไซน์ฉากกั้น เช่น ฉากกั้นรูปทรงหกเหลี่ยม เรียงต่อกันจนมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง
  • การนำฟังก์ชันของเฟอร์นิเจอร์แบบอรรถประโยชน์มาประยุกต์ใช้ เช่น การดีไซน์ฉากกั้นโต๊ะทำงาน โดยมีจุดเชื่อมต่อเป็นพื้นที่พักผ่อน
  • เพิ่มสีสันในการตกแต่ง สร้างบรรยากาศที่ดูสนุกสนาน

SOCIAL-DISTANCING AT WORK

Designer: Keith Melbourne Studio

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> https://www.yankodesign.com/

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> www.archiproducts.com/

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> www.archiproducts.com/

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> Pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> Pinterest.com

จัดสรรพื้นที่ Safe Zone

จัดสรรพื้นที่สำหรับเป็นจุดฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าพื้นที่ทำงานโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่บริเวณประตูทางเข้าออฟฟิศสำนักงาน โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มการคัดกรองให้เข้มข้นขึ้น เช่น

  • หน้ากากอนามัย

1. หน้ากากทางการแพทย์ สามารถป้องกันเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ สารคัดหลั่งจากผู้อื่น ผลิตจากพลาสติกพอลิโพรพิลีนที่มีความปลอดภัย ป้องกันเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้ถึง 99% ป้องกันฝุ่นละออง และเกสรดอกไม้ ขนาดเล็ก 3 ไมครอน ได้ถึง 66.37% (ป้องกัน PM 2.5 ไม่ได้)

2. หน้ากาก N95 สามารถป้องกันเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ สารคัดหลั่ง กรองกลิ่น กันฝุ่น PM 2.5 ได้ ผลิตจากพอลิโพรพิลีน ป้องกันการเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ มีประสิทธิภาพสูงกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป ลักษณะของ N95 จะครอบลงไปที่ปากและจมูกอย่างมิดชิด จึงทําให้เชื้อไวรัสไม่สามารถลอดผ่านได้ อีกทั้งมีประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 และ PM 10 ได้ไม่น้อยกว่า 95% (ป้องกัน PM 2.5 ในระดับดีมาก)

  • อลกอฮอล์เข้มข้น ตั้งแต่ 70% ขึ้นไป

(ในส่วนผสมทั้งหมด 100 ส่วน มีแอลกอฮอล์ 70 ส่วน) ส่วนเจลล้างมือที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 70% ก็สามารถฆ่าเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่มีประสิทธิภาพมากพอสำหรับใช้กับสถานการณ์โรคระบาด

  • เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก 

สามารถวัดอุณหภูมิและบอกได้ว่าใครมีไข้ จึงถูกนำมาใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อทำการคัดกรองเบื้องต้น ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัส อุณหภูมิปกติของร่างกายคนเราจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หากวัดค่าได้สูงกว่านั้น จะถือว่ามีไข้ แต่ทั้งนี้อาการไข้ไม่ได้บ่งบอกว่าติดโควิด-19 ได้ เพราะไข้อาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป

 

นวัตกรรมของวัสดุ หรืออุปกรณ์เสริมต่างๆ

ที่ถูกคิดค้น หรือนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อรับมือกับโควิด-19

1. ฟิล์มทองแดง

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลหะทองแดง เอาไว้ว่า

โลหะทองแดง รวมถึงโลหะชนิดอื่นๆ นั้นเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยา Oxidation ซึ่งในช่วงเวลาที่มีการเกิด Oxidation หากมีเชื้อไวรัส หรือเชื้อโรคตกกระทบลงบนพื้นผิว หรือแม้แต่ลอยเข้ามาใกล้ อิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นจะเริ่มทำปฏิกิริยา โดยการเจาะให้ผนังเซลล์ของเชื้อไวรัสเปิด เมื่อผนังเซลล์เปิด เชื้อโรคก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ 100% จนกระทั่งค่อยๆ ตายไป

ในต่างประเทศมีการนำทองแดงมาขึ้นรูปเป็นท่อน้ำ ด้ามจับประตู รวมถึงเป็นวัสดุที่ใช้ทำพื้นผิวหลาย ๆ แบบ เพราะมีคุณสมบัติกำจัดเชื้อโรค แม้แต่แวดวงการแพทย์ก็มีการนำทองแดงมาใช้งานเป็นเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ท่อ ที่ใช้ลำเลียงของเหลวเข้าสู่ตัวผู้ป่วย

ดังนั้น ทองแดงจึงไม่ได้มีศักยภาพในการฆ่าแบคทีเรียเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถฆ่าเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนาได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://workpointtoday.com/copper-plus-film/

ขอบคุณภาพประกอบจาก bp.blogspot.com

2. ที่จับประตู (โดยไม่ต้องใช้มือจับ)

การใช้มือในการจับสิ่งของต่างๆ ในที่สาธารณะ โดยเฉพาะด้ามจับประตู ถือเป็นความเสี่ยงที่เราจะรับเชื้อโรคมาโดยที่เราไม่รู้ตัว แรงบันดาลใจการออกแบบ hands-free door หรือด้ามจับประตูที่ไม่ต้องใช้มือจับ เกิดจาก Fried Vancraen ซีอีโอของ Materialise ที่ต้องการดูแลความปลอดภัยในออฟฟิศของตัวเอง โดยใช้ทักษะทางวิศวกรรมผสมผสานกับการใช้งานเครื่อง 3d printing เพื่อผลิตส่วนประกอบต่าง ๆ

โครงสร้างของอุปกรณ์ตัวนี้ ใช้เพียงตัวพิมพ์ขึ้นรูปจาก 3D ปริ้นต์ 2 ชิ้น นำมายึดติดกันด้วยสกรู จึงสามารถยืดหยุ่นและใช้งานได้กับราวจับทุกขนาด ทุกขั้นตอนคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่คนทั่วไปจะสามารถนำไปผลิตต่อได้ที่บ้าน

การทำงานของอุปกรณ์ด้ามจับประตูนี้ คือการใช้ “แขน” หรือ “ศอก” โดยการเปิดประตูจะใช้วิธีสอดแขนเข้าไปเพื่อควบคุมแทนมือ จากระดับตำแหน่งแขนกับประตู การส่งแรงจะเพียงพอสำหรับการเปิด และเรายังสามารถเอามือออกได้อย่างสะดวกอีกด้วย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.buildernews.in.th/news-cate/33632

ขอบคุณภาพประกอบจาก >> www.buildernews.in.th

3. ฉากกั้นที่ดีไซน์มาให้สามารถติดตั้งใช้งานได้แบบง่ายๆ

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก

  • https://workpointtoday.com/copper-plus-film/
  • https://www.buildernews.in.th/news-cate/33632
  • https://allwellhealthcare.com/thermometer/
  • https://adecco.co.th/en/knowledge-center/detail/new-normal-safely-back-to-work-after-pandemic
  • https://www.officemate.co.th
  • https://www.yankodesign.com/
  • https://www.dezeen.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ