Interior Design Trends 2021 แนวโน้มเทรนด์การออกแบบภายใน ปี 2021

ขอบคุณภาพประกอบจาก https://design-milk.com/

การดีไซน์พื้นที่แบบอรรถประโยชน์

 

แนวโน้มการมองหาที่พักอาศัยที่สามารถเดินทางได้สะดวกที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่พักอาศัยรูปแบบคอนโดมิเนียมหรืออะพาร์ตเมนต์ และด้วยความที่รูปแบบที่พักอาศัยแบบอาคารชุดซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการลดลงของพื้นที่ลงไปด้วย ดังนั้น แนวโน้มการตกแต่งหรือการออกแบบที่พักอาศัยนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะออกแบบพื้นที่ให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย เพื่อให้คุ้มค่ากับพื้นที่ที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด

เลือกเฟอร์นิเจอร์แบบอรรถประโยชน์ (Multi-function furniture)

การเลือกเฟอร์นิเจอร์แบบอรรถประโยชน์ หรือรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ 1 ชิ้นที่มีฟังก์ชันการใช้งานมากกว่า 1 อย่าง เป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับคอนโดมิเนียมหรืออะพาร์ตเมนต์พื้นที่จำกัด เพราะจะช่วยลดการใช้เฟอร์นิเจอร์ลงไปได้มาก ทำให้ประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้มีพื้นที่ว่างเหลือมากขึ้น อีกตัวเลือกหนึ่งคือการเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถหดหรือพับเก็บได้ เช่น เตียงนอนที่สามารถพับเก็บหรือเปลี่ยนให้กลายเป็นโซฟาได้ เตียงนอน 2 ชั้นที่มีชั้นวางหนังสือหรือลิ้นชักในตัว โต๊ะรับประทานอาหารที่สามารถพับเก็บเก้าอี้เข้าไปได้ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้งาน

เลือกเฟอร์นิเจอร์แบบติดตาย (Built-in Furniture)

การตกแต่งห้องเพื่อลดความทึบตันโดยใช้เทคนิคการบิลท์อินเฟอร์นิเจอร์เป็นอีกรูปแบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในการตกแต่งคอนโดมิเนียมพื้นที่จำกัดในปัจจุบันนี้ เพราะเป็นการใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า ถึงแม้การบิลท์อินจะทำให้เสียพื้นที่ไปส่วนหนึ่ง แต่คุณสามารถดีไซน์พื้นที่ให้เหมาะกับการใช้งานของคุณได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด หรือสามารถออกแบบให้พอดีกับพื้นที่ได้อย่างพอดี ไม่สูญเสียพื้นที่ไปโดยเปล่าประโชยน์ เช่น สามารถบิลท์อินเตียงให้มีพื้นที่เก็บของ สำหรับซ่อนของที่ไม่ได้ใช้งานให้เป็นระเบียบ หรือการบิลท์อินตู้เสื้อผ้าในมุมเล็กๆ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้

ขอบคุณภาพประกอบจาก dezeen.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก dezeen.com

Home office/Woking space พื้นที่การทำงานในที่พักอาศัย

สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2020 ที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายองค์กรออกนโยบายการทำงานที่บ้าน หรือ Work from home กันมากขึ้น ดังนั้น ในปี 2021 จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการออกแบบที่พักอาศัย ให้สามารถเป็นพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย จะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เนื่องจากการทำงานนานๆ จำเป็นต้องมีพื้นที่เฉพาะเพื่อให้สามารถแยกชีวิตส่วนตัวกับชีวิตการทำงานออกจากกันได้ แต่การออกแบบพื้นที่การทำงานในที่พักอาศัยของตนเองนั้น มีข้อดีคือสามารถควบคุมแนวทางการออกแบบ หรือสามารถออกแบบพื้นที่โดยลดความตึงเครียด ให้เรานั่งทำงานได้อย่างมีความสุข

  • การใช้ความโค้งของรูปทรงในการสร้างสรรค์พื้นที่การทำงานที่ดูผ่อนคลาย
  • การดีไซน์พื้นที่การทำงานแบบอรรถประโยชน์ ใช้งานได้หลากหลาย 
  • มุมสงบที่เหมาะกับการทำงานที่มีความเป็นส่วนตัว
  • เพิ่มสีสันในการตกแต่ง สร้างบรรยากาศที่ดูสนุกสนาน

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

นวัตกรรมวัสดุใหม่ๆ หรือวัสดุรีไซเคิล

จะถูกนำมาใช้ในงานตกแต่ง หรือก่อสร้างมากขึ้น

1. วัสดุก่อสร้างรีไซเคิลที่ทำจากเส้นใยเซลลูโลสจากเศษกระดาษ

Honest บริษัทสตาร์ทอัพในบาร์เซโลนา ได้พัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนเพื่อทดแทนไม้กระดาน ด้วยเส้นใยเซลลูโลซึ่งมาจากกระบวนการผลิตกระดาษที่ในแต่ละปีเส้นใยเหล่านี้ประมาณ 7 ล้านตันจะถูกส่งไปฝังกลบหรือเผาให้กลายเป็นขยะอย่างไร้ค่า ด้วยกระบวนการที่ Honext พัฒนาขึ้น เส้นใยเหล่านั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นไม้กระดานที่เหมาะสำหรับการเป็นวัสดุปิดผิว ใช้วิธีการบำบัดด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เส้นใย โดยเฉพาะที่มีความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร เชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องใช้เรซิน แต่ใช้ส่วนผสมแค่ 3 อย่าง คือ เส้นใย น้ำ และเอนไซม์ โดยความแข็งแรงของแผ่นกระดานจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของเส้นใยที่ใส่ลงไป หลังจากนั้นจะใส่สารเติมแต่งที่ปลอดสารพิษเพื่อเพิ่มความทนทานต่อรังสียูวี และถูกบีบอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น ก่อนจะผ่านอุโมงค์อบแห้ง ไม้กระดานที่ได้จะปราศจากการปล่อยมลพิษ ซึ่งแตกต่างจากวัสดุที่คล้ายกันเช่น MDF หรือ drywall และยังมีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ดูดซับเสียงได้ดีกว่าอีกด้วย

Credit1 : www.baramizi.co.th/trend/trend-fast-track-%e2%80%a8-material-trend/

Credit 2 : https://www.dezeen.com/2020/11/26/honext-recyclable-construction-material-cellulose-paper/

 

ขอบคุณภาพประกอบจาก dezeen.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก dezeen.com

2. แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่จากเศษผักเหลือทิ้ง

Carvey Ehren Maigue ได้ประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่จากเศษผักเหลือทิ้งซึ่งสามารถดูดรังสียูวีเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีชื่อว่า AuREUS สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้แม้พื้นที่นั้นจะมีแต่เมฆฝน เพราะแผงโซลาร์เซลล์นี้ดูดซับรังสี UV แทนที่จะเป็นแสงแดดที่ตามองเห็นได้แต่จะดูดซับแสงที่มองไม่เห็นผ่านก้อนเมฆ หรือจากรังสียูวี ที่สะท้อนออกมาจากตึก ถนน และกำแพงรอบข้าง เช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาแทน ซึ่งต่างจากแผงโซลาร์เซลล์แบบเดิม การทดสอบในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า “Aereus” สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด เมื่อเทียบกับ 15-22 เปอร์เซ็นต์ที่แผงโซลาร์มาตรฐานทั่วไปผลิตออกมา ซึ่งแสงที่เข้ามาพวกนี้จะถูกจับ และแปลงเป็นไฟฟ้าด้วย เซลล์โฟโตวอลเทอิก (Photovoltaic) เช่นเดียวกับที่พบในแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป และจะสามารถจัดเก็บเป็นพลังงาน หรือใช้ได้ทันทีด้วยความช่วยเหลือของแผงวงจรควบคุมไฟฟ้า AuReus มีชื่อมาจาก ออโรร่าโบเรียลิส หรือ แสงเหนือนั่นเอง ซึ่งจากผลงานนี้ทำให้เค้าได้รับรางวัล James Dyson Awards ผู้ชนะเลิศด้านความยั่งยืนระดับโลกคนแรก

Credit 1 : www.baramizi.co.th/trend/trend-fast-track-%e2%80%a8-material-trend/

Credit 2 : www.dezeen.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก dezeen.com

3. ฟิล์มทองแดง

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลหะทองแดง เอาไว้ว่า

โลหะทองแดง รวมถึงโลหะชนิดอื่นๆ นั้นเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยา Oxidation ซึ่งในช่วงเวลาที่มีการเกิด Oxidation หากมีเชื้อไวรัส หรือเชื้อโรคตกกระทบลงบนพื้นผิว หรือแม้แต่ลอยเข้ามาใกล้ อิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นจะเริ่มทำปฏิกิริยา โดยการเจาะให้ผนังเซลล์ของเชื้อไวรัสเปิด เมื่อผนังเซลล์เปิด เชื้อโรคก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ 100% จนกระทั่งค่อยๆ ตายไป

ในต่างประเทศมีการนำทองแดงมาขึ้นรูปเป็นท่อน้ำ ด้ามจับประตู รวมถึงเป็นวัสดุที่ใช้ทำพื้นผิวหลาย ๆ แบบ เพราะมีคุณสมบัติกำจัดเชื้อโรค แม้แต่แวดวงการแพทย์ก็มีการนำทองแดงมาใช้งานเป็นเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ท่อ ที่ใช้ลำเลียงของเหลวเข้าสู่ตัวผู้ป่วย

ดังนั้น ทองแดงจึงไม่ได้มีศักยภาพในการฆ่าแบคทีเรียเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถฆ่าเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนาได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://workpointtoday.com/copper-plus-film/

ขอบคุณภาพประกอบจาก dezeen.com

แพตเทิร์นยอดนิยม ที่ได้แรงบันดาลใจจากลวดลายธรรมชาติ

ลวดลายจากธรรมชาติต่างๆ นิยมนำมาประยุกต์ใช้เป็นแพตเทิร์ตสำหรับทำของตกแต่งหรือของใช้ต่างๆ เช่น ลวดลายของผลไม้ ใบไม้ ลายไม้ เทคเจอร์ของพืชชนิดต่างๆ ลายหินอ่อน เพื่อเพิ่มกลิ่นอายของความเป็นธรรมชาติ ซึ่งลวดลายจากเอกลักษณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ สามารถนำไปทำเป็นลายผ้าม่าน วอลเปเปอร์ ปลอกหมอน และของตกแต่งอื่นๆ อีกมากมาย เกิดเป็นสไตล์ Botanical หรือ สไตล์ที่มีความใกล้เคียงกับ Tropical แต่ให้ความรู้สึกของการพักผ่อน หรือภาพจำง่ายๆ คือช่วงซัมเมอร์ ที่มีความสดใสและสดชื่น

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

เทรนด์สียอดนิยม

เมื่อไม่นานมานี้ ทาง Pantone บริษัทด้านการออกแบบและการพิมพ์ของสหรัฐอเมริกา ได้เปิดตัวสีแห่งปี 2021 ออกมาเรียบร้อย ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นเทรนด์สีที่ใช้สำหรับงานออกแบบในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งสีที่ถูกเปิดเผยออกมาก็มีความหมายที่เข้ากับสถานการณ์โลกในขณะนี้ด้วยเช่นกัน

1. สีเหลือง Illuminating 

code : PANTONE 13-0647

ที่สดใสเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ให้ความรู้สึกร่าเริงและเปล่งประกายคล้ายดังแสงอาทิตย์

2. สีเทา Ultimate Gray 

code :  PANTONE 17-5104

เรียบนิ่งมีสเน่ห์น่าเชื่อถือ ที่สะท้อนความมั่นคงและเป็นนิรันด์

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

แต่นอกจากสีที่ทาง Pantone เปิดเผยออกมา อีกกลุ่มโทนสีที่มีแนมโน้มที่จะนิยมนำไปใช้ในวงการออกแบบ คือโทนสีเขียวธรรมชาติ ด้วยความที่ผู้คนเริ่มหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับการรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งผู้คนนิยมการปลูกต้นไม้ เลี้ยงต้นไม้ต่างๆ จนเกิดเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest.com

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

อ้างอิงโดย :

  • https://www.thairath.co.th/lifestyle/fashion/1992872
  • https://www.baramizi.co.th/trend/trend-fast-track-%e2%80%a8-material-trend/
  • https://www.dezeen.com/2020/11/26/honext-recyclable-construction-material-cellulose-paper/

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ