Baan Yoo Yen - เชื่อมคนกับคน
จากการทำการบ้าน, เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ของผู้ออกแบบ ทำให้เกิดการแปลงข้อมูลในการออกแบบบ้านหลังนี้เป็นรูปธรรม คือ “ชาน”(คำอธิบายชานในความหมายของภาษาอังกฤษ) ซึ่งชานนี้จะทำหน้าที่ “เชื่อม” เชื่อมคนกับคน(เนื่องจากเป็นครอบครัวขยาย มีคน3รุ่น 2 ครอบครัว มาอยู่ในบ้านหลังนี้) เชื่อมคนกับธรรมชาติ(เนื่องจากเจ้าของเป็นคนรักต้นไม้และธรรมชาติ) เชื่อมคนกับสิ่งแวดล้อม(มุมมองจากในบ้านสามารถมองออกมานอกบ้านได้โดยง่ายและปลอดภัย เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า จึงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน)
แปลนของบ้านได้ทำการดัดแปลงแปลนของบ้านเรือนไทย โดยมีการปรับให้กะทัดรัดและเหมาะกับชีวิตของคนยุคใหม่ เก็บข้อดีของบ้านเรือนไว้ ตัวอย่างเช่น การถ่ายเทอากาศแบบธรรมชาติโดยที่ติดมุ้งลวดกันแมลง(โดยเฉพาะกลางบ้าน) และการดึงแสงผ่านช่องแสงกลางบ้าน ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้และตระหนักรู้กับธรรมชาติและเพื่อการจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างดีที่สุด การลดการใช้พลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ แสงแดดจะเข้าอาคารทางทิศใต้เป็นเวลานานในแต่ละวัน ผู้ออกแบบจึงได้นำบันไดหลักมาวางขนานเพื่อกรองความร้อนก่อนเข้าถึงผนังห้อง รวมถึงผนังภายนอกก่อผนังสองชั้นบวกกับระบบฉนวนตรงกลาง ซึ่งป้องกันความร้อนเข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี
ชั้นหนึ่งประกอบด้วย ห้องนั่งเล่นแบบกึ่งเปิดโล่ง ,ห้องทานอาหาร ,ครัวและห้องนอนคุณแม่ โดยมีชานกลางบ้านที่อยู่ใต้เงาของต้นไม้ใหญ่ ส่วนชั้นสองประกอบด้วยห้องนอนสี่ห้อง เชื่อมกันด้วยสะพานขนาดใหญ่ที่สัมผัสยอดไม้ได้ อีกหนึ่งจุดสำคัญของบ้านหลังนี้ คือ ประตูเหล็กกลางบ้านที่สูง 7 เมตร ทำหน้าที่เชื่อมชานเป็นผืนใหญ่หรือแบ่งชานออกเป็นภายนอกและในบ้าน โดยที่แสงและอากาศยังเชื่อมถึงกันได้
Architects: TA-CHA Design (Search: TACHA_Design in Facebook )
Location: Nonthaburi , Thailand
Design Team: Warunyu Makarabhirom, Sonthad Srisang
Contractor: Thaweemongkol2000(Main contractor), Pichan(ID contractor)
Area: 450sq.m.
Year: 2013
Photographs: Beersingnoi
ผู้เขียนบทความ
Architectural field is our playground. ... อ่านเพิ่มเติม