MTT’s Residence-การออกแบบบ้านภายใต้ข้อจำกัดของ งบ และเวลา
ผลพวงจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ในไทยปี 2554(2011) ทำให้เจ้าของบ้านต้องการจะปรับปรุงบ้านหลังนี้เพื่อพักอาศัยในช่วงเวลา 2-3 ปี (ระหว่างที่มีการปรับปรุงใหญ่บ้านเดิมที่ถูกน้ำท่วม) โดยเงื่อนไขที่ผู้ออกแบบได้รับ คือ ความรวดเร็วในการก่อสร้างในงบประมาณที่ไม่มากนัก หลังจากศึกษา, ทำความเข้าใจบ้านและเจ้าของบ้าน ทางผู้ออกแบบพบว่าขนาดของบ้านที่ถูกน้ำท่วนนั้นมีขนาดใหญ่กว่าบ้านที่จะทำการปรับปรุงมาก อีกทั้งยังต้องรองรับสมาชิกจำนวนมาก(คนสามรุ่นและครอบครัวแม่บ้าน) ผู้ออกแบบจึงทำตัวเสมือนมือวางระเบิด เข้าไปวางระเบิดในห้องนั่งเล่น ทำให้ชิ้นส่วนของผนังหล่นลงในพื้นที่ต่างๆของสวนในบ้าน จึงทำให้ห้องนั่งเล่นกลายเป็นพื้นที่ปิดล้อม(court)ที่กินขอบเขตกว้างใหญ่ ส่งผลให้ความอึดอัดของแปลนแบบเดิมนั้นผ่อนคลายลง ซึ่งทางผู้ออกแบบได้ทำการศึกษา”พื้นที่เปิดล้อม” นั้น เป็นภูมิปัญญาแบบบูรพาวิถี หรือเป็นเอกลักษณ์ของชาวตะวันออก ทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง หรือแม้ไทย ที่มีพื้นที่ปิดล้อมแบบยกสูง (ชาน) จึงทำให้เรา(คนไทย)นั้นคุ้นชินกับพื้นที่แบบนี้ไปโดยปริยาย
โดยงานปรับปรุงภายในนั้น มีการตัดทอนผนังเดิมออกหลายส่วนเพื่อให้บ้านกว้างขึ้น ใช้สีขาวเพื่อลวงตา มีการเปิดให้เห็นเนื้อแท้ของงานโครงสร้างมากขึ้น เพื่อขนาดห้องที่ใหญ่ขึ้น และจัดทางสัญจรให้กระชับขึ้น อีกทั้งยังมีการขยายช่องเจาะต่างๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ลดความอึดอัด
ในส่วนของงานผนังสวน มีการศึกษาวิธีการจัดวางที่จะไม่ทำให้เกิดความอึดอัดแต่ก็เกิดความเป็นส่วนตัวเหมือนอยู่ในห้องนั่งเล่น อีกทั้งจังหวะการจัดวางที่จะไม่ทำให้รู้สึกเป็นทางการ เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังมีการย้ายต้นไม้ใหญ่มาไว้ในตำแหน่งที่เป็นจุดหมายตาเพื่อเน้นต้นไม้ให้เด่นชัดขึ้น โดยที่โครงการนี้ไม่มีการตัดต้นไม้ใหญ่แม้แต่ต้นเดียว แต่ใช้วิธีการย้ายหรือแทรกตัวบ้านเข้าไปใกล้ให้มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลังคาระแนงบนระเบียงชั้นสองของบ้าน ที่ใช้ยกโครงหลังที่ประกอบเสร็จจากด้านล่างขึ้นไปวางคร่อมบางส่วนของต้นไม้เดิม
Architects: TA-CHA Design (Search: TACHA_Design in Facebook )
Location: Nonthaburi , Thailand
Design Team: Warunyu Makarabhirom, Sonthad Srisang
Contractor: The Hommer 1551(Main contractor),
The Sixth Sation Architecture Studio (ID and LA contractor)
Area: 340sq.m.
Year: 2013
Photographs : Beersingnoi
ผู้เขียนบทความ
Architectural field is our playground. ... อ่านเพิ่มเติม