Rong Num Kaeng (ไอซ์ แฟคทอรี่) วิถีชีวิตที่ประสานชีวิต และการทำงานเข้าด้วยกัน

องค์ต้น – ภายนอก, โรงงาน

          โครงการนี้เป็นโครงการที่ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วนหลักๆ คือ โรงงานผลิตน้ำแข็ง ในชั้นที่ 1, สำนักงาน ในชั้นที่ 2 และบ้านพักอาศัย ในชั้นที่ 3

องค์ต้น – ภายนอก, โรงงาน

จากข้อมูลที่ว่า “เกล็ดหิมะ จะเป็นรูปทรงหกเหลี่ยมเสมอ” ผู้ออกแบบจึงนำรูปทรงนี้มาพัฒนา โดยใช้วิธีการย้อนกลับ จากโรงงานผลิตน้ำแข็งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนของเหลว(น้ำ)เป็นของแข็ง(น้ำแข็ง)  โดยผิวอาคารบางส่วนได้ทำการเปลี่ยนของแข็ง (แผ่นเหล็ก) เป็นเหมือนพื้นผิวของของเหลว และเมื่อผิวอาคารส่วนนี้กินแดดในปริมาณที่ต่างกันตามช่วงเวลา จะทำให้เกิดพลวัตทางสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ ผิวอาคารส่วนใหญ่ประกอบขึ้นด้วย แผ่น Perforated ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มพื้นที่ด้านในขึ้นอย่างหลวมๆ ทั้งยังทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศ

ในส่วนของโรงงาน เนื่องจากเป็นโรงงานผลิตของบริโภค และมีลำดับของการผลิตและตำแหน่งการวางเครื่องจักรที่แน่นอน ผู้ออกแบบจึงคำนึงถึง ความสะอาดของพื้นผิวให้ได้ตามมาตารฐาน GMP (Good Manufacturing Practice Certification) และควมปลอดภัยของพนักงานขณะปฏิบัติงานเป็นหลักใหญ่

องค์กลาง – สำนักงาน

องค์กลาง – สำนักงาน

               จากคำถามที่ว่า “พื้นที่แบบไหนที่เราอยากจะนั่งทำงาน” จนกลายมาเป็นคำถามที่ท้าทายว่า “ออกแบบอย่างไรให้พนักงานเกิดฉันทะ” ผู้ออกแบบจึงนำความเป็นธรรมชาติที่พอเหมาะ มาช่วยตอบคำถามนี้

แสงธรรมชาติที่พอเหมาะ จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น - จึงมีการนำแสงธรรมชาติผ่านหลังคาโปร่งแสง ผ่านลงมาในพื้นที่ส่วนกลางและส่วนสำนักงาน ทั้งยังได้ไม้เลื้อยจากชั้น 3 เลื้อยลงมาเป็นม่านต้นไม้เพื่อความผ่อนคลาย

อากาศธรรมชาติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และผ่อนคลายมากขึ้น - แผ่น Perforated คือคำตอบที่ช่วยให้ลมผ่าน นอกจากนี้การวางแปลนอาคาร ที่มีช่องลมผ่านเป็นระยะๆ ช่วยสร้างภาวะน่าสบายเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ พื้นที่สีเขียวตรงกลางยังช่วยแบ่งพื้นที่สำหรับบุคคลภายนอก และพนักงานออกจากกันอย่างสุภาพ ทำให้พื้นที่นั่งทำงานไม่ถูกรบกวน ในส่วนของพื้นที่นั่งทำงาน จากการเก็บข้อมูลพนักงานเกือบทั้งหมดเป็นแผนกบัญชีซึ่งต้องการความเงียบสูงในการทำงาน จึงเป็นพื้นที่ที่นิ่ง และดูสงบที่สุด

ในส่วนของงานเฟอร์นิเจอร์และพื้นไม้ในชั้นนี้ จะเป็นไม้เก่าที่ทางเจ้าของโครงการเก็บไว้ นำมาประยุกต์ใช้แตกต่างกัน

ประสานชีวิต และการทำงานเข้าด้วยกัน

องค์ปลาย – ส่วนพักอาศัย

จากรูปแบบพักอาศัยเดิมของเจ้าของโครงการ เป็นลักษณะตึกแถว ที่ทำงานชั้นล่าง และพักอาศัยชั้นบน บวกกับวิถีชีวิตที่ประสานชีวิตและการทำงานเข้าด้วยกัน ทางผู้ออกแบบมิต้องการจะเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต แต่ในทางตรงข้าม เรากลับอำนวยความสะดวกให้วิถีแบบเดิมสบายมาขึ้น จึงได้ทำการเปิดพื้นที่เชื่อมต่อตรงกลางกับส่วนสำนักงานชั้น 2 ให้สื่อสารได้ง่ายขึ้น  

นอกจากนี้ สารตั้งต้นของทางเจ้าของโครงการ ที่ต้องมีพื้นที่สวนในส่วนพักอาศัย ผู้ออกแบบจึงเลือกตำแหน่งที่จะทำให้พื้นที่สวนที่จำกัดนี้เอื้อประโยชน์สูงสุดให้กับทุกๆพื้นที่มองเห็น เพื่อคงดำรงตามความตั้งใจแรกของเจ้าของโครงการ ที่สามารถให้ลมผ่าน แสงส่องถึงต้นไม้ แต่ที่พัฒนาขึ้นไปคือ พื้นที่สวนนี้สามารถใช้ได้แม้ช่วงฝนตกและมีระยะห่างไม่กี่ก้าวจากห้องนอน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นพื้นที่สวนที่ใช้ได้จริง

 

ชั้น 3 เน้นช่องลมผ่าน

ในชั้นนี้ผู้ออกแบบยังคงจัดแปลนชั้น 3 ให้เป็นช่องลมผ่านในหลายๆจุด เพื่อชวนเชิญให้ใช้เครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็น รวมทั้งมีการนำน้ำสะอาดที่เหลือจาการผลิตของโรงงาน มาพักไว้ในบ่อน้ำล้นของสวน จากนั้นระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ จะทำการสูบน้ำจากบ่อไปใช้รดน้ำต้นไม้ นอกจากนี้ พื้นไม้กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ในชั้นนี้ เป็นไม้เก่าที่ทางเจ้าของโครงการเก็บไว้เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทั้งหมดนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากร

Architects: TA-CHA Design

Interior Designer: TA-CHA Design

Landscape Designer: TA-CHA Design

Location: Nonthaburi, Thailand

Architect in Charge: Waranyu Makarabhirom, Sonthad Srisang

Structural Engineer: Montien Keawkon

MEP Engineer: Ground (Studio2127)

Area: approx. 3,000 sq.m.

Project Year: 2017

Client: Premium Ice

Main Contractor: Thaweemongkol Construction (2000)

Photographs: BeerSingnoi

TACHA_Design
TACHA_Design
Architectural field is our playground. ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

TACHA_Design

architect

โพสต์เมื่อ

TACHA_Design

architect

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
Baan Yoo Yen - เชื่อมคนกับคน

TACHA_Design

architect

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ