Binary Wood House - บ้านไม้ฐานสอง การให้ความเคารพต่อผู้ที่มาก่อน

    ...ตลอดการปรับเปลี่ยนของโปรแกรมและการออกแบบ มีสิ่งเดียวที่ผู้ออกแบบและเจ้าของเห็นตรงกันและพยายามรักษาไว้ คือ การให้ความเคารพต่อผู้ที่มาก่อน…

การออกแบบบ้าน สไตล์บ้านตากอากาศ

          บ้านหลังที่สองของครอบครัวชาวกรุงเทพฯที่มีสมาชิก 5 คน โดยคนรุ่นพ่อ-แม่กำลังหาพื้นที่สำหรับเกษียณในอนาคต ซึ่งตอนเริ่มแรกของโครงการนั้น มีโปรแกรมหลากหลายทาง เช่น Airbnb หรือ Private resort แต่สุดท้าย โปรแกรมก็มาสรุปลงตัวที่บ้านพักตากอากาศ แต่ตลอดการปรับเปลี่ยนของโปรแกรมและการออกแบบ มีสิ่งเดียวที่ผู้ออกแบบและเจ้าของเห็นตรงกันและพยายามรักษาไว้ คือ การให้ความเคารพต่อผู้ที่มาก่อน ผู้มาก่อนในที่นี้ หมายถึง เพื่อนบ้าน ชาวบ้าน ที่อยู่มาก่อน สัตว์ประจำถิ่นที่อยู่มาก่อน รวมถึงต้นไม้ที่อยู่มาก่อน ดังนั้นการออกแบบจึงยึดแนวคิดนี้เป็นแกนหลัก

โครงสร้างเหล็ก – ผู้ออกแบบมองว่า โครงสร้างเหล็กนั้น ส่งผลให้บริเวณพื้นที่ก่อสร้างสะอาดกว่าโครงสร้างคอนกรีต โดยเฉพาะน้ำปูน หรือคอนกรีตที่เหลือจากการเทในแต่ละครั้ง หลายหนผู้รับเหมาไม่มีการจัดการและระเบียบวินัยที่ดี ทำให้สิ่งมีชีวิตและพืชพันธุ์ในพื้นที่นั้นๆได้รับผลกระทบ อีกทั้งโครงสร้างเหล็กยังสามารถนำไปรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย

ผนังไม้ – ไม้คือวัสดุที่สามารถปลูกทดแทนได้และยังใช้พลังงานไม่มากในการแปรรูป ทำให้ผู้ออกแบบเลือกใช้เป็นวัสดุหลักในงานนี้ โดยกว่า 80%  ไม้ที่ใช้ในโครงการนี้คือไม้ reused คละชนิด นำมาคัดแยก ล้างหน้าไม้ และแบ่งแยกให้เหมาะกับงานและหน้าที่ที่แตกต่างกัน โดยรูปแบบของผนังไม้ที่ใช้ ผู้ออกแบบได้ทำการศึกษารูปแบบลักษณะของ “เรือนโคราช” เป็นเรือนพื้นถิ่นของจังหวัดนครราชสีมา ที่มีรูปแบบที่เฉพาะตัว มาประยุกต์ใช้ในโครงการ และด้วยความที่งบที่มีอยู่อย่างจำกัด ช่างไม้ในโครงการจึงเป็นช่างไม้พื้นบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น เพื่อประหยัดเรื่องการเดินทางของช่างจากเมืองหลวง แม้จะมีความเข้าใจงานพื้นถิ่นที่ดี แต่อาจจะต้องมีการปรับตัวเข้าหากันกับผู้ออกแบบ ในเรื่องวิธีการทำงานและความเข้าใจหลายอย่าง เพื่อทำความเข้าใจกับสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่

          ตำแหน่งที่ตั้งอาคาร – ด้วยความที่ในพื้นที่มีกลุ่มไม้พะยูงขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นด้านทิศใต้ และเป็นตำแหน่งสูงสุดของที่ดิน(ที่ดินตั้งบนเนินเขาที่วางตัวในแนว เหนือ-ใต้) ซึ่งจะช่วยพรางตาจากบ้านใกล้เคียง ผู้ออกแบบจึงเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าวและเลือกพื้นที่โล่งถัดมา ซึ่งมีต้นพะยูงกระจายตัวแบบหลวมๆ แต่กระนั้นตัวอาคารยังขยับเข้าใกล้ต้นพะยูงบางต้น เพื่อใช้ร่มไม้บังแดดทิศตะวันตกในช่วงเย็น เป็นการดำรงอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน (mutualism) ตามกฏชีววิทยา ทั้งยังทำให้เกิดบทสนทนากันระหว่างต้นไม้และบ้านไม้ เหมือนดั่งเสียงขลุ่ยที่ย้อนกลับมาหากอไผ่

ห้องนั่งเล่น เปิด-ปิดได้ 

          จากที่กล่าวข้างต้นว่า ที่ดินตั้งบนเนินเขาที่วางตัวในแนว เหนือ-ใต้ รวมทั้งรูปทรงที่ดิน ที่มีลักษณะยาวตั้งฉากทิศตะวันออก-ตะวันตก  ทำให้เจ้าของบ้านมีความต้องการที่จะเปิดมุมมองของบ้าน ไปทางทิศตะวันตกเป็นหลัก และทิศตะวันออกรองลงมา ทำให้ผุ้ออกแบบต้องแก้ปัญหาความร้อนในช่วงบ่ายถึงเย็น ซึ่งจากการสัมภาษณ์ตารางการใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กับพื้นที่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สรุปว่า สมาชิกในบ้านน่าจะใช้ชีวิตในพื้นที่ส่วนกลางเป็นหลักในเวลาดังกล่าว ทำให้ผู้ออกแบบแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย 2 วิธี คือ หนึ่ง ออกแบบให้ห้องนั่งเล่น เปิด-ปิดได้ คล้ายศาลา เพื่อรับลมที่มีอยู่เกือบจะตลอดวันของพื้นที่สันเขา และวางตำแหน่งให้ใกล้ต้นไม้เดิม เพื่อให้ช่วยบังแดดทิศตะวันตก รวมทั้งเตรียมบ่อน้ำตื้น (reflecting pond) เพื่อดึงความชื้นเข้ามาในอาคาร สอง มีการกระจายตัวของพื้นนั่งเล่นในช่วงบ่าย เพื่อให้สมาชิกมีทางเลือกมากกว่าหนึ่ง สำหรับการนั่งเล่นในช่วงบ่าย ทั้งในห้องนั่งเล่น เตียงตาข่ายใต้ต้นไม้ ชานด้านทิศเหนือ หรือแม้แต่ชิงช้าด้านทิศตะวันออก ด้วยที่ผู้พักอาศัยเป็นครอบครัวจากกรุงเทพฯ และใช้ชีวิตอยู่ในห้องที่ปรับอากาศเป็นส่วนใหญ่ ผู้ออกแบบจึงพยายามเสนอพื้นที่ที่ีเป็นทางเลือก เพื่อลดการใช้เครื่องปรับเวลาที่มาพักอาศัยที่บ้านหลังนี้

การยกพื้นสูง - เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันบของสัตว์ประจำถิ่นและคนผู้มาใหม่ ผู้ออกแบบจึงได้ยกพื้นอาคารสูงขึ้นเพื่อให้สัตว์ประจำถิ่นหากินบนผืนดินได้ตามปรกติและเจ้าของบ้านก็ปลอดภัยจากสัตว์มีพิษ  นอกจากนี้ผู้ออกแบบมีความต้องการที่จะรบกวนรบกวนผืนดินและพืชพรรณในพื้นที่ให้น้อยที่สุด ทั้งการยกอาคารขึ้นยังช่วยระบายความชื้นจากผิวดินได้ดี เพิ่มพื้นที่ซึมน้ำ รวมทั้งเป็นการทอนรูปทรงอาคารให้ล้อไปตามระดับเนินเขา เพื่อลดการมีตัวตนของอาคารที่จะเป็นรบกวนผู้อยู่อาศัยเดิม

ฐานสอง – ด้วยที่ความต้องการด้านพื้นที่ใช้สอยของเจ้าของบ้านนั้นค่อนข้างมาก ทั้งยังต้องการที่จะดันอาคารให้สูงเพื่อเปิดมุมมอง ทำให้ผู้ออกแบบต้องแก้ปัญหาทัศนะอุจาด โดยการเติมช่องไฟเข้าไปในอาคาร ด้วยระบบ มีกับไม่มี,  0 กับ 1 เพื่อให้ลดความมีตัวตนของงานสถาปัตยกรรม และให้เกียรติกับผู้ที่มาก่อน ไม่ให้เกิดความรู้สึกข่มด้วยขนาด โดยบางส่วนของอาคารสามารถเป็นได้ทั้ง 0 และ 1 ตามการปรับเปลี่ยนของผู้พักอาศัย  ทั้งนี้ระยะระหว่างเสาโครงสร้างนั้นสัมพันธ์กับความสูง เป็นการใช้ระบบโมดูล่าในการออกแบบ เพื่อให้ช่างก่อสร้างทุกคนนั้นทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นและไม่ซับซ้อน โดยมิติของความ กว้าง ยาว สูง นั้นอยู่ที่ 3.40 เมตร ในขั้นตอนการออกแบบนั้นได้ ทำการจัดเรียงกล่องขนาด 3.40 เมตร ด้วยระบบ เปิด-ปิด, 0 และ 1 ให้สัมพันธ์กับพื้นที่ใช้สอย และการวิเคราะห์ในมิติต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น

งานสถาปัตยกรรม ชิ้นเอกของเรา

           ทั้งนี้ ผู้ออกแบบตระหนักดีว่า ต่อให้เราพยายามมากแค่ไหน งานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ก็ยังมีตัวตนและยังมีผลกับผู้มาก่อนมากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งไม่ว่ายังไงอาคารชิ้นนี้ก็ต้องก่อร่างปรากฎรูปขึ้นอย่างแน่นอน แค่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนเท่านั้นเอง แต่คงจะดีกว่าถ้าเรา(นักออกแบบ) มีเจตนาที่จะรบกวนโลกให้น้อยลงจากการออกแบบของเรา....

 

Architect: TA-CHA Design https://www.facebook.com/TACHAstudio/

Interior : TA-CHA Design             

Location: Pak Chong, Nakhon Ratchasima

Architects in Charge: Waranyu Makarabhirom, Sonthad Srisang

Structural Engineer: Montien Keawkon

Construction Coordinator: Thanpareeya Satthamnuwong

Area: 600 sq.m

Project Year: 2019

Client: Larnroongroj’s Family

Décor Stylist: Mylivingroom https://www.facebook.com/MLVRartsandcrafts/

Décor Item: Décor Vivant https://www.facebook.com/Decorvivant/

Photographer: BeerSingnoi https://www.facebook.com/beersingnoi.arch.photo/

TACHA_Design
TACHA_Design
Architectural field is our playground. ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

TACHA_Design

architect

โพสต์เมื่อ

TACHA_Design

architect

โพสต์เมื่อ

TACHA_Design

architect

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
Baan Yoo Yen - เชื่อมคนกับคน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ