เทคนิคการเข้าไม้ในงานสถาปัตยกรรม (Wood Joints Detail)
ประเภทของไม้ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม
มนุษย์นิยมใช้ไม้มาตั้งแต่สมัยอดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยในอดีตไม้ถือเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ ถึงแม้ในปัจจุบันเราจะไม่สามารถนำไม้ในป่าธรรมชาติมาแปรรูปใช้งานได้เหมือนเช่นยุคก่อนๆแล้ว แต่ก็มีการป่าปลูกทดแทนเพื่อนำไม้มาใช้งานโดยเฉพาะ
ซึ่งไม้ที่นำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้าง หรือ งานสถาปัตยกรรม ได้มีการแยกประเภทไม้ให้ละเอียดยิ่งขึ้นตามลักษณะความแข็งแรงของไม้ ดังนี้
ไม้เนื้ออ่อน
เป็นไม้ที่มีวงปีกว้างมาก เนื่องจากเป็นไม้โดเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว แต่แปรรูปได้ง่าย เนื้อไม้มีสีจาง หรือ ค่อนข้างซีด ความทนทานมีขีดจำกัดไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากเท่าที่ควร จึงเหมาะกับงานในที่ร่ม หรือ งานชั่วคราวเป็นส่วนใหญ่
ไม้เนื้อแข็ง
เป็นไม้ที่มีวงปีมากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า โดยเฉลี่ยมีอายุหลายสิบปี จึงจะนำมาใช้งานได้ ลักษณะทั่วไปของไม้เนื้อแข็ง ผิวสัมผัสของเนื้อไม้จะมีความมัน ลวดลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข้ม (แดงถึงดำ) มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับงานปูพื้น งานเฟอร์นิเจอร์ และงานโครงสร้างไม้
ไม้เนื้อแกร่ง
เป็นไม้ที่มีการเจริยเติบโตช้ามากที่สุด จึงทำให้มีวงปีถี่มากกว่าไม้สองชนิดแรก โดยมีอายุเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 60-70 ปีขึ้นไป จึงจะนำมาใช้งานได้ เนื้อไม้มีสีเข้มค่อนข้างแดง น้ำหนักไม่มากแต่แข็งกว่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักเป็นไม้ที่ใช้ในงานโครงสร้างเป็นหลัก อาทิ พื้น คาน ตง ขื่อ และเสา
นอกจากการคัดเลือกประเภทไม้แล้ว การใช้ไม้ในงานสถาปัตยกรรมแต่ละยุค ก็ถูกพัฒนาไปพร้อมๆกับภูมิปัญญาการเข้าไม้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเทคนิคการเข้าไม้ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไม้ หรือ งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้มีความปราณีต คงทน แข็งแรง
ซึ่งเนื้อหา และรูปแบบของ "เทคนิคการเข้าไม้ (Wood Joints Design)" จะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยครับ
การเข้าไม้ (Wood Joints) คืออะไร
การเข้าไม้ คือ การนําไม้ตั้งแต่ 2 แผ่น หรือ 2 ท่อนขึ้นไปมาบากรับ แล้วประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้วต้องแข็งแรงเป็นชิ้นเดียวกัน โดยยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปู ,ตอกอัดด้วยลูกสลักไม้ ,การใช้สลักเกลียว(ในกรณีที่การเข้าไม้มีสเกลขนาดใหญ่) หรือ การเข้าเดือยอัดกาว (ในกรณีที่ต้องการความปราณีตของรอยต่อ) เป็นต้น
ดังนั้นการเข้าไม้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และระมัดระวังเป็นอย่างมากก็คือ การวัดระยะ การเลื่อย การบากไม้ หรือ การเจาะร่องทำเดือยจะต้องมีความละเอียดพิถีพิถันเพราะหากหลวม หรือ ไม่ได้มุมฉากที่แม่นยำ อาจส่งผลให้รอยต่อของไม้มีความแข็งแรงที่ลดลง ซึ่งจะทำให้การนำไปใช้งานมีความไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นอันตรายได้
นอกจากนี้เทคนิคการเข้าไม้ในงานสถาปัตยกรรม ยังสามารถแบ่งลักษณะการนำไปใช้งานออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ใช้ในงานโครงสร้างไม้ (เน้นความแข็งแรง) และงานเฟอร์เจอร์ (เน้นความปราณีตสวยงาม)
การเข้าไม้ (Type of Wood Joints) มีกี่ประเภท
การต่อทาบไม้ตามยาว (Splicing Wood Joint) มีรูปแบบ ดังนี้
- การต่อทาบ (Lab Wood Joint)
- การต่อทาบแบบล็อคประสาน (Squared Splice Wood Joint)
- การต่อทาบแบบบังใบ (Half Lap Wood Joint)
- การต่อทาบแบบเฉียง (Scarf Wood Joint)
- การต่อทาบแบบปากฉลาม (Finger Wood Joint)
- การต่อทาบแบบดาม (Splice Wood Joint)
การเข้าไม้แบบมุม 90 องศา (90 Degree Wood Joint) มีรูปแบบ ดังนี้
- การเข้าไม้แบบบังใบ (Rabbet Wood Joint)
- การเข้าไม้แบบบากร่อง (Dado Wood Joint)
- การเข้าไม้แบบบังใบ และบากร่อง (Dado and Rabbet Wood Joint)
- การเข้าไม้แบบบากร่องหางเหยี่ยว (Dovetail Wood Joint)
การเข้าไม้แบบมุม 45 องศา (45Degree Wood Joint) มีรูปแบบ ดังนี้
- การเข้าไม้แบบเรียบ (Mitred Butt Wood Joint)
- การเข้าไม้แบบบ่ารับ (Notched Wood Joint)
- การเข้าไม้แบบเข้าลิ้น (Tongue and Groove Wood Joint)
- การเข้าไม้แบบเซาะร่อง (Groove Wood Joint)
- การเข้าไม้แบบสอดลิ้น (Splined Wood Joint)
การเพลาะไม้ (Widening Wood Joint)
การเพลาะไม้ คือ การนำแผ่นไม้มาเรียงแล้วต่อประกบเข้าหากันด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มความกว้าง ของขนาดไม้ให้ได้ตามที่ต้องการ เพราะไม้ที่มีขนาดใหญ่ๆ นั้นในปัจจุบันค่อนข้างหายาก จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเพิ่มความกว้างของไม้ โดยแบ่งรูปแบบการเพลาะไม้ ได้ดังนี้
- การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาว (Glued and Rubbed Joint)
- การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับเดือยไม้ (Glued and Dowelled Joint)
- การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการบังใบ (Glued and Rebated Joint)
- การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับรางลิ้น (Glued and Tongued or Grooved Joint)
- การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการสอดลิ้น (Glued and Tongued or Feathered Joint)
- การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปูเกลียว (Glued and Wood Screws)
- การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปู (Glued and Nail Joint)
รวมเทคนิคการเข้าไม้ในงานสถาปัตยกรรม (Wood Joints Design) แบบต่างๆ
ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆที่น่าสนใจ
เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม