วิวัฒนาการของประตู (History of Doors) ในงานสถาปัตยกรรม

วิวัฒนาการของประตูในงานสถาปัตยกรรม

ประตู มีความหมายมากกว่าเพียงแค่ช่องทางเข้า-ออก และการเปิด-ปิดพื้นที่ต่างๆ เพื่อรักษาความปลอดภัย แต่ประตู-หน้าต่างเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ถึงความเชื่อ ศิลปกรรม และความเจริญรุ่งเรืองในแต่ละยุคสมัยที่แตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น

เส้นทางวิวัฒนาการของประตูในงานสถาปัตยกรรม เกิดจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปแบบประเภทประตู วัสดุที่ถูกค้นพบ วัสดุที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้น หรือ ถูกพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย รวมไปถึงความเชื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้งาน 

ซึ่งวิวัฒนาการในแต่ละยุคจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น วันนี้ Wazzadu ได้ย่อยมาให้แล้ว ตามมาชมกันเลยครับ

ยุคก่อนคริสตศักราช (BC)

  • 3000 ปีก่อนคริสตศักราช : ทวีปยุโรปเริ่มใช้ประตูไม้
  • 2000 ปีก่อนคริสตศักราช : ทวีปเอเชียเริ่มใช้ประตูหิน
  • 587 ปีก่อนคริสตศักราช : พระเจ้าซาโลมอนผู้สร้างวิหารแห่งซาโลมอนใช้แผ่นไม้มะกอกชุบทองคำปิดหน้าวิหารในกรุงเยรูซาเลม

ยุคคริสต์ศตวรรษ (Century AD)

  • คริสต์ศตวรรษที่ 1 : ประตูบานพับและบานเลื่อนเริ่มใช้ในนครโรมันโบราณปอมเปอี
  • คริสต์ศตวรรษที่ 4 : ประตูอัตโนมัติถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยนักวิชาการชาวกรีก
  • คริสต์ศตวรรษที่ 5 : ประตูอัตโนมัติมีเซ็นเซอร์ที่เท้าถูกประกอบขึ้นครั้งแรกในจีน
  • คริสต์ศตวรรษที่ 6 - 9 : ทองแดงและสัมฤทธิ์ถูกใช้กับประตูในยุโรปสมัยกลาง
  • คริสต์ศตวรรษที่ 12 - 15 : ประตูไม้ถูกแกะสลักอย่างอ่อนช้อยตามศิลปะนิยมของยุคสมัย

ยุคคริสต์ศักราช (AD)

  • ค.ศ.1881 : ประตูหมุนถูกประดิษฐ์ในเยอรมนี
  • ค.ศ.1909 : นักเคมีชาวอเมริกันประดิษฐ์วัสดุพอลิเมอร์ครั้งแรก
  • คศ.1932 : นักวิจัยของบริษัทโอเว่นส์อิลลินอยส์ (Owens-Illinois, Inc.) ได้สร้างสรรค์อุตสาหกรรมการผลิตไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)
  • ค.ศ.1970 - 1979 : การผลิตวัสดุพอลิเมอร์ล้ำหน้ากว่าการผลิตเหล็กทั่วโลก
  • ค.ศ.1981 : บริษัทสเปเชียล-ลิท (Special-Lite, Inc.) ได้สร้างสรรค์ประตูพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย (FRP; Fiber Reinforced Polymer) ครั้งแรกของโลก

ยุคใหม่ ตั้งแต่ปี 1982 – ปัจจุบัน

  • ปี 1982 เป็นต้นมา : ได้มีการผลิตประตูจากวัสดุที่หลากหลายมากขึ้น ได้แก่ ไม้จริง, ไม้สำเร็จรูปประเภทต่างๆ, ไม้ Engineer, ไม้เทียม WPC, กระจกประเภทต่างๆ, อลูมิเนียม, พลาสติก PVC (Polyvinyl Chloride) และ uPVC (Unplasticized Poly Vinyl Chloride)
  • ปี 2000 เป็นต้นมา : ประตูประเภทไหนจะถูกเลือกขึ้นมาใช้ในงานออกแบบนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยพิจารณาจากประเภทวัสดุประตู ฟังก์ชั่นการใช้งานของประตูที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ สไตล์งานในออกแบบ รวมไปถึงความชื่นชอบส่วนตัวของเจ้าของโครงการนั้นๆ ซึ่งตลอดเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ประตูถูกนำไปใช้ร่วมกับงานออกแบบหลากหลายสไตล์ ได้แก่ สไตล์โมเดิร์น (Modern style) สไตล์ร่วมสมัย (Contemporary style) สไตล์โมเดิร์นคลาสสิก (Modern classic style) สไตล์มินิมอล (Minimal style) สไตล์ลอฟท์ (Loft style) ที่ถูกสลับขึ้นมาเป็นที่นิยมในสังคมและวนซ้ำไปมาภายในช่วงเวลาสั้นๆ
  • ปี 2005 เป็นต้นมา : ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี Digital Door Lock ใช้งานอย่างแพร่หลาย และเกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่อย่างระบบ Smart Home Automation ที่สั่งการ และประมวลผลการใช้งานประตู ผ่านระบบ AI และระบบ Internet of Things (IoT) ซึ่งระบบประเภทนี้จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆภายในบ้าน รวมถึงการเปิดปิดประตูอัตโนมัติ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย 

จากข้อมูลข้างต้น วิวัฒนาการของประตูในงานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เกิดจากเทคโนโลยีทันสมัยของซีกโลกตะวันตก แต่ประตูในซีกโลกตะวันออกไม่ได้ถูกใช้เพียงแค่ฟังก์ชันเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าอันลึกซึ้งหลายมิติที่เกี่ยวโยงกับความเชื่อทางศาสนา

การวางผังตามทิศมงคล และการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับทิศแดด ลม ฝน ตามธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จาก คติความเชื่อพื้นบ้านเรื่องทิศกับ 'ประตูผี' ในประเทศญี่ปุ่น ประตูเมืองในอดีตกับราชประเพณีโบราณในประเทศไทย และหลักฮวงจุ้ยในประเทศจีน รายละเอียดดังนี้

ความหมายของประตู-หน้าต่างในซีกโลกตะวันออก

1. ประตู เป็นสัญลักษณ์ของการก้าวข้ามจุดเปลี่ยนสเปซอย่างมีสติ

การก้าวเข้า-ออกประตู จากข้างนอกสู่ข้างใน หรือจากข้างในสู่ข้างนอก เป็นสัญลักษณ์ของการก้าวข้ามพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตด้วยสติ กุศโลบายนี้แฝงอยู่ในการออกแบบดีเทลธรณีประตู ดังจะเห็นได้จาก การห้ามเหยียบธรณีประตูวิหารวัดในประเทศไทยและวัดในประเทศญี่ปุ่น เพื่อต้องการให้เจริญสติขณะก้าวข้ามจุดเปลี่ยนสเปซจากภายนอกสู่ภายในนั่นเอง

2. ประตู เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อเรื่องทิศมงคล

- ประตูเมือง ประตูเมืองในอดีตถูกกำหนดความหมายของประตูในแต่ละทิศแตกต่างกัน เช่น ทิศเหนือเป็นหัวของเมือง เป็นเดชเมือง จึงถูกกำหนดเป็นประตูทางเข้าของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นประตูผี จึงถูกกำหนดเป็นประตูทางออกของศพ เป็นต้น

- ประตูกับหลักฮวงจุ้ย (Feng Shui)

หลักฮวงจุ้ยเป็นศิลปะแห่งการวางตำแหน่งให้ถูกต้องตามทิศทางของแสงอาทิตย์และลม ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพและนำพาโชคลาภเข้าสู่ตัวสถาปัตยกรรมตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ

Feng 風 หมายถึง ลม

Shui 水 หมายถึง น้ำ

หลักฮวงจุ้ยเป็นศิลปะแห่งการวางตำแหน่งให้ถูกต้องตามทิศทางของแสงอาทิตย์และลม ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพและนำพาโชคลาภเข้าสู่ตัวสถาปัตยกรรมตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ

ตำแหน่งของประตูภายในบ้าน

ตำแหน่งของประตูภายในบ้านเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ฮวงจุ้ยว่าดีหรือไม่ ตามตำราฮวงจุ้ยโบราณกล่าวว่า ทิศใต้ดีที่สุด เพราะเป็นทิศทางลมที่ดีและเป็นทิศของทรัพย์และโชคลาภ

รองลงมาคือทิศตะวันออก เพราะเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น แสงอาทิตย์ส่องยามเช้าและเป็นทิศของมังกร ทิศเหนือไม่ดี เพราะเป็นทิศอับลม ในฤดูหนาวจะนำลมแห้งแล้งเข้าสู่ตัวบ้านทำให้เสี่ยงต่อโรคภัย ทิศตะวันตกไม่ดี เพราะแสงอาทิตย์ส่องยามบ่ายทำให้บ้านร้อน

History Timeline of Doors

จากเนื้อหาทั้งหมดจึงสามารถสรุปได้ว่า วิวัฒนาการของประตูตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุให้ทนทานต่อสภาพอากาศ และการใช้งาน แต่ในขณะเดียวกันยังคงไว้ซึ่งคติความเชื่อที่ถูกหยั่งรากลึกในมโนทัศน์ของแต่ละสังคม ซึ่งยังคงเกี่ยวโยงกับการอยู่อาศัย และธรรมชาตินั่นเอง 

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย :

ปาณิชาติ กิติสิทธิชัย

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ