Skyscape สถาปัตยกรรมเหนือเส้นขอบฟ้า
โครงการอ้างอิง
The Hachi Skyscape บ้านดาดฟ้า by WARchitect
โครงการ | บ้าน |
ที่ตั้ง | HACHI Serviced Apartment 62 ซอย ลาดพร้าว 3 แยก 3 แขวง จอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ประเทศไทย |
ปีที่สร้าง | 2019 |
ขนาดพื้นที่ | 150 ตารางเมตร |
การรีวิว | 1 บทความรีวิว |
สเปคที่ใช้ | 1 สเปคสินค้าจาก 1 แบรนด์ |
เดิมทีเจ้าของโครงการทำธุรกิจอพาร์ทเมนต์สูง 5 ชั้น ชื่อว่า Hachi Apartment โดยชั้นที่ 6 หรือชั้นดาดฟ้านี้ ตอนแรกใช้เป็นที่ตั้งแทงก์น้ำเพียงอย่างเดียว พื้นที่ที่เหลือก็ถูกทิ้งไว้เป็นดาดฟ้าโล่งๆ จึงมีความตั้งใจที่จะใช้พื้นที่บริเวณนี้สร้างเป็นบ้านหลังเล็กๆ สำหรับใช้อยู่อาศัยเอง
ความน่าสนใจของบ้านหลังคือ context หรือบริบทที่เราไม่สามารถพบเห็นได้ในการออกแบบบ้านหลังอื่นๆ นั่นคือระดับพื้นดิน 0.00 กลายเป็นระดับพื้นอากาศ +15.00 ม. พื้นดินปกติกลายเป็นลานคอนกรีต และทรรศนียภาพรอบด้านที่ควรเป็นต้นไม้ก็กลับกลายเป็นทิวเส้นตั้งของตึกสูงในย่านลาดพร้าว
บ้านหลังนี้จะกลายเป็นบ้านที่จะมีรูปด้านหน้าเพียงอย่างเดียวไม่สามารถมองเห็นด้านข้างและด้านหลังได้ เนื่องจากมุมมองที่จำกัดและการเข้าถึงที่เข้าได้เพียงทางเดียว
สุดท้ายคือ ต้องมีการเว้นระยะให้ถอยร่นจากระนาบของผนังอาคารเพื่อให้ไม่มีใครเห็นตัวบ้านเมื่อมองจากพื้นถนนสาธารณะด้านล่าง เพราะต้องการรักษาภาพรวมไม่ให้ภาดูแปลก หรือขัดแย้งกับอพาร์ทเมนต์ด้านล่าง
ผู้ออกแบบมีความคิดว่าอยากให้บ้านหลังนี้ดูเหมือนไม่ใช่อาคาร ไม่รู้สึกถึงฟอร์ม แต่เป็นเส้นของขอบเขตที่ว่างที่จู่ๆ ก็ปรากฏขึ้นมาบนท้องฟ้าเอาดื้อๆ ไม่ปรากฏความหนาของพื้นผนังและหลังคา แต่ยังสามารถทำหลุมฝ้าซ่อนผ้าม่าน ซ่อนไฟ และติดตั้งเครื่องปรับอากาศได้โดยที่ระดับฝ้าทั้งอาคารยังสามารถอยู่ในระนาบเดียวกันไม่ต้องทำการลดระดับฝ้าภายใน และไม่เห็นว่ามีการจงใจปาดเฉียงให้ดูบาง การดีไซน์ในลักษณะนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในงานสถาปัตยกรรม แต่กับบ้านหลังนี้มีความพิเศษกว่าเล็กน้อย เนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่บนดาดฟ้าจึงแทบจะไม่มีมุมไหนเลยที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่ามีวิธีการอย่างไร (ไม่มีระยะให้มอง)
ในส่วนของฟังก์ชั่นเจ้าของบ้านอยากให้มีความเรียบง่ายเป็นส่วนตัวและไม่ได้ใช้รับแขกบ่อยนัก เราจึงคิดว่ามันคงน่าสนใจถ้าจะทำให้บ้านหลังนี้ "โป๊" กว่าปกติ ขอบเขตระหว่างห้องแต่ละห้องจะถูกเชื่อมด้วยคอร์ท และแบ่งพื้นที่ตามกริด (grid) เสาอพาร์ทเมนต์ด้านล่างเกิดเป็นตารางหกช่อง ในส่วนกริด (grid) ด้านหน้าใช้เป็น ส่วนทานอาหาร ส่วนนั่งเล่น และ ห้องนอน
ซึ่งสามารถมองเห็นพาโนรามาวิวผ่านประตูกระจกบานเลื่อนขนาดใหญ่ได้ เมื่อเลื่อนประตูปิดแล้วเส้นของกรอบประตูจะซ้อนตรงกับเสาขนาดเล็กพอดีราวกับอาคารนี้ไม่มีเสา และในส่วนกริดเสาด้านหลังประกอบด้วย ห้องน้ำ คอร์ทที่จะเห็นตลอดจากทุกที่ในบ้าน และห้องครัว
สำหรับวัสดุปิดผิวใช้เป็นไม้เต็งทั้งหมดเนื่องจากท่านเจ้าของมีในสต็อกเหลืออยู่จำนวนมากแม้จะเป็นไม้ที่ไม่สมบูรณ์ มีรอยแตก มีตาไม้ มีรอยตำหนิจากการเลื่อย มีสีที่ไม่เท่ากันแต่นั่นคือเสน่ห์ของไม้จริงตามธรรมชาติเราจึงไม่มีการตัดหรือคัดไม้ทิ้งแต่อย่างใด และเมื่อบ้านเสร็จสมบูรณ์แล้วจะเกิดเป็นภาพที่ว่างโทนอบอุ่นของไม้ตัดกับสีโทนเย็นของท้องฟ้าอย่างที่เราตั้งใจ
งานออกแบบสถาปัตยกรรมด้านพื้นที่ที่พักอาศัยและโรงแรม
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม