โครงการ Hachi Serviced Apartment by Octane Architect and Design


โครงการอ้างอิง

Hashi Serviced Apartment

โครงการ คอนโดมิเนียม
ที่ตั้ง HACHI Serviced Apartment 62 ซอย ลาดพร้าว 3 แยก 3 แขวง จอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ประเทศไทย
ปีที่สร้าง 2018
ขนาดพื้นที่ 1,100 ตารางเมตร
การรีวิว 1 บทความรีวิว

"Haji (เลขแปด/ไม่สิ้นสุด) + Saatchi (โชคดี/ความสุข) = HACHI" เป็นบรีฟโดยสรุปสั้นๆ ที่เจ้าของโครงการผู้ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นพิเศษได้กล่าวกับผู้ออกแบบ

โครงการ: Hachi Serviced Apartment

สถาปนิก: Octane Architect and Design

ประเภทโครงการ: คอนโดมิเนียม, โรงแรม รีสอร์ท 

พื้นที่: 34 ยูนิต/ 1,100 ตารางเมตร

ที่ตั้งโครงการ: Ladprao 15, Bangkok, Thailand

ช่างภาพ: Rungkit Charoenwat

โพสต์เมื่อ

รายละเอียดโครงการ

Hachi Serviced Apartment

  • ประเภทงาน
    สถาปนิกสถาปัตยกรรมหลัก
  • ประเภทสิ่งก่อสร้าง
    คอนโดมิเนียม, โรงแรม รีสอร์ท
  • ที่ตั้งของโครงการ
    ไทย/กรุงเทพมหานคร
  • วันที่เริ่มสร้าง
    11 มกราคม 2017
  • วันที่สร้างเสร็จ
    11 สิงหาคม 2018

โครงการนี้ตั้งอยู่บริเวณย่านลาดพร้าวซึ่งเป็นย่านที่ค่อนข้างหนาแน่นพอสมควร ในโครงประกอบไปด้วย อพาร์ตเมนต์ให้เช่า จำนวน 34 ยูนิต โดยแบ่งเป็นห้องแบบ studio จำนวน 30 ยูนิต และแบบ 1 ห้องนอนอีก 4 ยูนิต และมีพื้นที่เอนกประสงค์ส่วนกลางที่สามารถให้เช่าเป็นออฟฟิศได้ เรียกได้ว่าเป็นโครงการที่แตกต่างและโดดเด่นจากสภาพแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด 

หลายท่านอาจจะคิดว่านี่คือโครงการที่รีโนเวทตึกแถวเพื่อปรับปรุงเป็นอาคารให้เช่า แต่จริงๆแล้ว ฮาชิ เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ เป็นอาคารหลังใหม่ที่ถูกออกแบบมาให้แต่ละยูนิตมีความเป็นส่วนตัวแต่ก็ยังมีส่วนกลางที่มีความเชื่อมต่อกันทั้งพื้นที่ภายใน และในส่วนของฟาซาดที่ดูเหมือนถูกแบ่งเป็นห้องๆ แต่ยังมีความเชื่อมโยงกันด้วยเส้นสายรูปทรงจั่วที่บ่งบอกถึงความเป็นที่อยู่อาศัย  

ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การใช้รูปทรงของจั่วซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานที่สื่อถึงความเป็น "บ้าน" มาประยุกต์ใช้ทั้งบริเวณผนังภายนอกและภายในอาคาร จั่วซึ่งเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายแต่ถูกนำมาดัดแปลงให้ดูมีมิติ ด้วยการเพิ่มความลึกที่แตกต่างกัน มีการปรับเปลี่ยนขนาดให้มีความหลากหลายแล้วนำมาจัดวางได้อย่างลงตัว ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือการเพิ่มเส้นสายแนวตั้งซึ่งนอกจากจะช่วยให้รูปทรงของจั่วชัดเจนขึ้น แล้วยังมีประโยชน์ในแงของฟังก์ชั่นนั่นคือช่วยเป็นระแนงกรองแสง และบังสายตาให้กับผู้ที่อยู่อาศัยในยูนิตนั้นๆ ด้วย 

ระแนงไม้ด้านหน้าสถาปนิกเลือกใช้ไม้เทียมที่มีลักษณะเป็นกล่องยาว เสริมความแข็งแรงด้านในด้วยเหล็กกล่องเพื่อป้องกันไม่ได้ไม้บิด โก่ง งอ ทำให้เห็นเอฟเฟกต์ของเส้นตั้งที่สวยงามอย่างชัดเจนโดยไม่มีโครงที่เป็นเส้นนอนเสริมด้านใน ถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้วัสดุที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับ 

การออกแบบพื้นที่ภายในนั้นผู้ออกแบบได้ทำการการเชื่อมต่อพื้นที่ส่วนกลางกับแต่ละยูนิตด้วยการออกแบบ space ให้มีส่วนที่ทับซ้อนกันทำให้เกิดความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่ก็ยังคงความเป็นส่วนตัวของแต่ละห้องไว้ ในขณะเดียวกันก็ยังดูโปร่งโล่งไม่อึดอัดอีกด้วย ที่สำคัญญคือใช้รูปทรงของจั่วมาประยุกต์เป็นช่องเปิดต่างๆ รวมไปถึงประตูและหน้าต่างด้วย ทำให้เกิดความเชื่อมโยงของรูปลักภายนอกและ สเปซภายใน การพักอาศัยที่นี่จึงให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากที่อื่นเพราะลูกบ้านจะเกิดการรับรู้และรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านจริงๆ วัสดุตกแต่งภายในเป็นผนังฉาบปูนเรียบทาสีขาวทั้งโครงการเพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและเกิดความต่อเนื่องกันในแต่ละส่วน

การสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ดีไม่เพียงแต่จะช่วยให้ทัศนียภาพมีความงดงามเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับให้ผู้ที่อยู่อาศัยรู้สึกถึงความแตกต่างถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และที่คัญคือสถาปัตยกรรมที่ดีย่อมช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเจ้าของโครงการอีกด้วย

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ