แนวคิดและรายละเอียดการออกแบบโรงแรม Six Senses Bhutan

“Hotel Design Forum” งานสัมมนาด้านการออกแบบโรงแรม ประจำปี 2019

บรรยายโดย คุณดิเรก วงส์พนิตกฤต Associate Partner Habita Architects 

กับหัวข้อ The Six Senses Bhutan ซึ่งเป็นโครงการที่เพิ่งคว้ารางวัลด้านสถาบันปัตยกรรมและการออกแบบระดับโลก Prix Versailles 2019-Hotel (ปรี แวซายส์) รวมทั้งรางวัลจากนิตยสารชื่อดังเช่น Condé Nast Traveller และ TIME Magazine อีกด้วย โรงแรมที่ได้รับรางวัลนั้น แบ่งเป็น 3 โครงการตั้งอยู่ในแต่ละเมืองนั่นคือ Thimphu, Paro และ Punakha ส่วน Six Senses Gangtey และ Bumthang เป็นโครงการในเครือ Six Senses ที่ประเทศภูฏานเช่นกันแต่ยังอยู่ในช่วง Design Development และก่อสร้าง 

ประเทศภูฏานซึ่งประเทศที่ได้ชื่อว่าความสุขสงบมากที่สุดในโลก มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติและมีข้อกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารอย่างเคร่งครัด ทางทีมผู้ออกแบบเริ่มต้นความท้าทายนี้ด้วยการรีเสิร์ชจากเอกสารต่างๆ ที่ระบุถึงงานสถาปัตยกรรมของประเทศ และศึกษาลักษณะของอาคารที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้นๆ 

การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ชุด นั่นคือ 

  1. ประเภทของอาคารตามฟังก์ชันการใช้งาน เช่น อาคารราชการ สำนักสงฆ์ อาคารสาธารณะ และบ้านพักอาศัย
  2. ประเภทอาคารตามความสูงจากน้ำทะเล (ตามเส้นละติจูด) เมืองที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร จะมีลักษณะที่เปิดโล่งกว่าอาคารที่อยู่สูงขึ้นไป 2,000 เมตร เพราะยิ่งพื้นที่สูงสภาพภูมิอากาศก็ยิ่งหนาวและรุนแรงมากขึ้น 
  3. ประเภทอาคารที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของประเทศจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง

Six Senses Thimphu, Butan

Six Senses Thimphu, Butan

Six Senses Thimphu, Butan

Six Senses Thimphu, Butan

Six Senses Thimphu, Butan

Six Senses Thimphu, Buthan

Thimphu เป็นเมืองหลวงของประเทศภูฏาน เนื่องจากเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยงามราวกับสวรรค์ ทำให้ผู้ออกแบบระลึกถึงความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับแอนิเมชั่นเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับ "ปราสาทบนสรวงสรรค์" จึงเกิดเป็นคอนเซปต์ในการออกแบบ "Castle in the Sky" ด้วยการทำให้ตัวอาคารเสมือนลอยอยู่บนอากาศโดยใช้บ่อน้ำเป็นตัวสะท้อนภาพของท้องฟ้ามาไว้ที่พื้นผิว ทำให้ผู้ที่มาเยือนรู้สึกเหมือนเดินอยู่บนก้อนเมฆ 

ในส่วนของการตกแต่งก็ได้ใช้ลวดลายก้อนเมฆที่มีเส้นสายแบบเฉพาะของภูฏานมาประยุกต์ตกแต่งในส่วนของ พรม และ ผนัง ส่วนฝ้าใช้ชิ้นไม้ยาวตัดเป็นลอนคลื่นติดเรียงเป็นแถวทำให้เกิดมิติเหมือนระลอกคลื่นที่สะท้อนไปอยู่ด้านบนแทน 

Six Senses Paro, Buthan  

Six Senses Paro, Buthan  

Six Senses Paro, Buthan  

Six Senses Paro, Buthan  

Six Senses Paro, Buthan  

Six Senses Paro, Buthan  

เนื่องจากไซท์ที่ตั้งมีซากปรักหักพังของอาคารเก่าตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง ผู้ออกแบบจึงใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างนี้โดยทำให้เป็นเสมือนประติมากรรมกึ่งโบราณสถาน ให้คนที่มาเยือนได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมและระลึกถึงคุณค่าของพื้นที่บริเวณนั้น 

ในส่วนของตัวอาคารส่วนกลางใช้การก่อหินเป็นหลักเพื่อให้ล้อกับอาคารเก่าหลังดังกล่าว และจัดให้มีลานหิน Out door สำหรับนั่งรับประทานอาหารแบบใกล้ชิดธรมมชาติ ส่วนของที่พักเป็นอาคารไม้อยู่ด้านหลังติดกับป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก หากโชคดีท่านจะได้พบหมีภูเขาที่ลงมาทักทายผู้คนบริเวณนั้น 

Six Senses Punakha​, Buthan  

Six Senses Punakha​, Buthan  

Six Senses Punakha​, Buthan  

Six Senses Punakha​, Buthan  

Six Senses Punakha​, Buthan  

Six Senses Punakha​, Buthan  

ที่ตั้งของโครงการนี้อยู่ในระดับที่ไม่สูงจากน้ำทะเลมากนักสามารถทำการเกษตรได้ โดยเฉพาะนาขั้นบันได ลักษณะที่โดดเด่นของพื้นที่นี้ได้กลายมาเป็นคอนเซปต์หลักคือ การตกแต่งภายในห้องทำเป็นสเต็ปลดหลั่นกัน เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เห็นวิวทิวทัศน์ได้ทั่วถึงมากขึ้น ทั้งส่วนของห้องนอน ห้องนั่งเล่น และห้องน้ำนอกจากนี้ยังได้ใช้นาขั้นบันไดมาเป็นส่วนประกอบสำคัญของงานแลนด์สเคปเช่นกัน 

ลักษณะที่สำคัญอื่นๆ ของอาคารบริเวณนั้นคือมีส่วนที่เป็นระเบียงกึ่ง Out door ในส่วนของอาคารห้องพักก็ได้นำองค์ประกอบนี้มาดัดแปลงใช้ด้วยวิธีการเซตผนังให้เข้าไปด้านใน และปล่อยให้เสาลอยโอบล้อมพื้นที่กลายเป็นระเบียงกึ่ง Out door 

พื้นที่ต้อนรับส่วนกลางใช้การดึงเอาอัตลักษณ์ของอาคารบริเวณใกล้เคียงซึ่งมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมที่มีระเบียงยื่นยาวลงมาในน้ำมาผสมผสานและประยุกต์จนเป็นอาคารที่มีองค์ประกอบที่น่าสนใจ     

Six Senses Gangtey​, Buthan  

Six Senses Gangtey​, Buthan  

Six Senses Gangtey​, Buthan  

Six Senses Gangtey​, Buthan  

Six Senses Gangtey​, Buthan  

Six Senses Gangtey​, Buthan  

เมืองนี้มีนกกระเรียนคอดำซึ่งเป็นสัตว์ที่หายาหและใกล้สูญพันธุ์ ตัวโครงการจึงมีจุดเด่นคือมีสะพานสำหรับดูนกไว้ให้ผู้ที่มาพักได้ใช้ส่องดูนก และในส่วนของโครงการก็จัดให้มีวิลล่า แค่ 8 ห้องเท่านั้น เพื่อเป็นการรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด 

Six Senses Bumthang​, Buthan  

Six Senses Bumthang​, Buthan  

Six Senses Bumthang​, Buthan  

Six Senses Bumthang​, Buthan  

ที่ตั้งของโครงการอยู่ในพื้นที่ที่เป็นป่า เนื่องจากไม่ต้องการตัดต้นไม้จึงออกแบบให้ตัวอาคารแทรกเข้าไปอยู่กับต้นไม้ได้ ตัวอาคารจึงมีต้นไม้โผล่ทะลุขึ้นมาลานซึ่งคอนเซปต์นี้ก็น่าสนใจไม่แพ้โครงการที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้นเลย 

คุณดิเรก ได้กล่าวเสริมว่าผลงานทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าของโครงการ อินทีเรียดีไซน์เนอร์ แลนด์สเคปดีไซน์เนอร์ และช่างภาพที่เก็บภาพมุมสวยมๆ มาให้เราได้ชมกัน 

ขอขอบคุณ 

Owner: Dasho Sangay Wangchuk

Six Seanse: Bernhard Bohnenberger 

Interior Designer: Six Senses Creative Department

Landscape Designer: P Landscape (Thimphu, Paro) 

Lighting Designer: Belit 

Photo: Six Senses Bhutan, National Geographic, Luxurytravelexpert.com, jetsetter.com

 

สามารถติดตามอ่านบทความอัพเดททุกเรื่องราวที่น่าสนใจในวงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบ รวมถึงข่าวสารการจัดกิจกรรมดีๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ที่ Wazzadu.com นะครับ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ