"Turnstyle Retail Complex NYC"เปลี่ยนทางเดินใต้ดินเก่าที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟใต้ดินกับย่านธุรกิจ ให้กลายเป็นพื้นที่ช็อปปิ้งใต้ดินที่มีชีวิตชีวา
"Turnstyle Retail Complex NYC" คือ การพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกใต้ดินในเมืองนิวยอร์ก โดยเปลี่ยนเส้นทางใต้ดินที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟใต้ดินกับพื้นที่ย่านธุรกิจที่ไม่เคยหลับใหล ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีชีวิตชีวาสำหรับการช็อปปิ้ง การรับประทานอาหาร และการชุมนุมที่คึกคักของผู้คน เส้นทางใต้ดินแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างถนน 57th ตัดกับ 58th ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เหนืออุโมงค์รถไฟใต้ดินโคลัมบัส โดยเส้นทางใต้ดินแห่งนี้มีความยาวกว่า 200 ฟุต ทำหน้าที่เป็นเส้นทางใต้ดินที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟใต้ดินโคลัมบัส กับล็อบบี้อาคารสำนักงาน และสถานที่สำคัญในย่านธุรกิจที่อยู่รอบๆสถานี ซึ่งแต่ละวันจะมีผู้คนสัญจรผ่านไปมาอย่างพลุกพล่าน จึงทำให้พื้นที่ใต้ดินแห่งนี้มีความคึกคักอยู่ตลอดทั้งวัน
เส้นทางใต้ดินโฉมใหม่แห่งนี้ได้รับการออกแบบโดย Architecture Outfit ที่พยายามจะนำบรรยากาศของถนนภายในเมืองที่เต็มไปด้วยร้านค้าตลอดสองข้างทางที่ชาวเมืองคุ้นเคยลงไปไว้ในพื้นที่เส้นทางใต้ดิน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำวิถีชีวิตบนพื้นดินที่ชาวเมืองคุ้นเคย ลงมาไว้ใต้ดินด้วยการสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการรับรู้ที่แปลกใหม่ แต่ไม่แปลกแยกให้กับชาวเมือง
ทีมสถาปนิกได้เปลี่ยนเส้นทางใต้ดินธรรมดาๆที่เคยทึบทัน และดูอึดอัด ให้มีความรู้สึกที่กว้าง และสว่างปลอดโปร่งมากขึ้น ด้วยการทาสีขาว และใช้แสงไฟในโทนสีขาวสว่าง โดยออกแบบ Space ใหม่ ภายใต้ขนาด และรูปแบบโครงสร้างเดิมที่มีอยู่
โครงสร้างเดิมที่กีดขวางพื้นที่ทางเดินใต้ดินอย่างคาน และเสาเหล็กที่เคยเก่าคร่ำครึ ถูกแปลงโฉมใหม่ให้มีความสดใสด้วยการพ่นเคลือบด้วยสีขาว และได้จัดระเบียบระบบท่อบนเพดานใหม่ให้เรียบร้อย แต่ไม่ได้พยายามจะย้ายท่อ และอุปกรณ์อื่นๆออกไป แต่ได้นำความดิบแบบดั้งเดิมเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการตกแต่ง โดยถูกผสมผสานเข้ากับแผ่นโลหะที่ฉะลุลวดลายแบบตะแกรงด้วยเลเซอร์ซึ่งนอกจากจะเป็นวัสดุตกแต่งเพดานแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นรางสำหรับติดตั้งไฟส่องสว่างอีกด้วย
ทีมสถาปนิกต้องการเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับเส้นทางใต้ดิน จึงนำกระเบื้องเก่าที่ยังใช้งานได้มาเคลือบสีในโทนสีที่หลากหลาย ซึ่งให้ความสดใสสะดุดตา และสร้างจุดเด่นให้กับพื้นที่ทางเดินใต้ดินได้เป็นอย่างดี โดยใช้กระเบื้องใหม่มาตกแต่งเพิ่มเติมในบางจุดเท่านั้น ซึ่งแนวคิดหลักๆล้วนเป็นการนำของเดิมที่มีอยู่มาผสมผสานกับของใหม่ในจุดที่สมดุล และลงตัว เพื่อรักษาบริบทของทางเดินใต้ดินที่ชาวเมืองคุ้นเคยเอาไว้
ผู้สนับสนุน
พื้นที่ร้านค้าขนาดเล็กจำนวน 34 ร้าน ที่ตั้งเรียงรายอยู่ตลอดสองข้างทางเดินใต้ดินแห่งนี้ ช่วยสร้างความคึกคักมีสีสัน และให้ความหลากหลายเพลิดเพลินแก่ผู้สัญจรผ่านไปมา ในขณะที่ประเภทของร้านค้าล้วนมีความโดดเด่นแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละร้านจะมีป้ายชื่อร้านอย่างชัดเจนในรูปแบบเดียวกันเพื่อความเป็นระเบียบไม่รกจนเกินไป นอกจากนี้ช่วงกลางของทางเดินใต้ดินถูกออกแบบให้เป็นซุ้มที่นั่งพัก โดยตกแต่งด้วยกระเบื้องที่มีสีสันสดใส เพื่อให้เป็นจุดนั่งพักผ่อน เป็นพื้นที่พักรับประทานอาหาร หรือ เป็นพื้นที่พบปะพูดคุยของผู้ที่สัญจรไปมา โดยมี Digital Signage ที่คอยกระตุ้นความสนใจจากผู้คนอยู่ตลอดเวลา และช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับ Turnstyle Retail Complex ได้อย่างสะดุดตา
แนวคิดในการตกแต่งร้านค้านั้น จะเน้นการใช้โทนสีที่เรียบง่าย เช่น สีขาว และสีดำ เป็นหลัก โดยผสมผสานกับการใช้วัสดุกระจกซึ่งทำหน้าที่เป็น Display Showcase Wall ให้กับร้านค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ที่สัญจรไปมามีปฏิสัมพันธ์กับร้านค้าได้ง่ายที่สุดแม้ในขณะที่เดินอยู่โดยไม่ต้องเสียเวลาสังเกตเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งยังช่วยให้ Space Curculation ในภาพรวมดูโปร่งเบา และสว่างขึ้นอีกด้วย
แปล และเรียบเรียงโดย Wazzadu.com
วัสดุเทียบเคียงในหมวด "วัสดุกระจกสำหรับงาน Display Showcase Wall"
สินค้าเทียบเคียงในหมวด"กระจกลามิเนต"
สินค้าเทียบเคียงในหมวด"กระจกสำหรับอาคารสูง - กระจก และวัสดุโปร่งแสง"
Architectural Design Project
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม