" Jewish Museum Berlin " การแปลประสบการณ์จากประวัติศาสตร์ของชาวยิว ให้กลายเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างแยบยล

รูปภาพประกอบโดย www.yatzer.com

ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลเบอร์ลิน (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศเยอรมนี) ได้จัดการแข่งขันประกวดแบบ เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ยิวแห่งใหม่ โดยพิพิธภัณฑ์ยิวดั้งเดิมถูกเปิดใช้งานมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 โครงการนี้ต้องการแสดงความเคารพ ความรู้สึกขอโทษต่อชาวยิวในอดีต และต้องการนำลูกหลานเชื้อสายชาวยิวกลับไปยังกรุงเบอร์ลินอีกครั้งหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1988 ซึ่ง Daniel Libeskind ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะในการประกวดแบบจากสถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ การออกแบบของเขาเป็นโครงการเดียวที่ใช้แนวคิดแบบหัวรุนแรง และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกเชิงแนวคิดเพื่อเป็นตัวแทนวิถีชีวิตของชาวยิว ทั้งก่อน และหลังเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

รูปภาพประกอบโดย www.jmberlin.de

พิพิธภัณฑ์ชาวยิวดั้งเดิมในกรุงเบอร์ลินก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2476 แต่มันก็เปิดมาได้ไม่นานก่อนที่มันจะถูกปิดลงในระหว่างการปกครองของนาซีในปี พ.ศ. 2481 (เป็นช่วงที่ชาวยิวได้ถูกนาซีสังหารฆ่าล้างเผ่าพันธ์นับล้านชีวิต) จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 เมื่อกลุ่มวัฒนธรรมชาวยิวสาบานว่าจะเปิดพิพิธภัณฑ์ใหม่ขึ้น เพื่อต้องการให้ลูกหลานเชื้อสายยิวปรากฏตัวในกรุงเบอร์ลินอีกครั้งเฉกเช่นในอดีตก่อนเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ หลังจากที่พยายามมานานหลายสิบปี จนกระทั่งเมื่อ Daniel Libeskind ชนะการประกวด แล้วได้ออกแบบพิพิธภัณฑ์ที่เป็นเสมือนตัวแทนชาวยิวจนเสร็จสมบูรณ์ และเปิดใช้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะสร้างวัฒนธรรมของสังคมชาวยิวในเบอร์ลินขึ้นมาใหม่อีกครั้ง นับเป็นเรื่องธรรมชาติแม้จะทำใจยอมรับความเป็นปวดในอดีตไม่ได้ แต่ในปัจจุบันลูกหลานผู้กระทำ(นาซี) และผู้ถูกกระทำ (ชาวยิว) จากสงครามสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อที่จะไม่ให้มันเกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

Daniel Libeskind มองว่าการออกแบบพิพิธภัณฑ์ยิวเป็นมากกว่าการแข่งขัน มันเป็นเรื่องการสร้าง และรักษาตัวตนของชาวยิวภายในเบอร์ลินซึ่งหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยแนวคิดที่ต้องการแสดงออกถึงความรู้สึกของความเจ็บปวดทารุณ ความหดหู่ ความสูญเสีย และการไร้ซึ่งตัวตน ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดการหายตัวไปของวัฒนธรรมชาวยิวในช่วงสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์

Daniel Libeskind ใช้สถาปัตยกรรมเป็นสื่อในการถ่ายทอดเรื่องราว และอารมณ์ที่ทำให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสกับผลกระทบของความหายนะจากสงครามที่มีผลต่อวัฒนธรรมของชาวยิว และเมืองเบอร์ลินในช่วงสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์

รูปภาพประกอบโดย www.httpobviousmag.org

รูปแบบสถาปัตยกรรมของ Jewish Museum Berlin ถูกสร้างขึ้นผ่านกระบวนการเชื่อมโยงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น จึงส่งผลให้การออกแบบวางผังอาคารออกมาในรูปแบบ "zig-zag" ซึ่งถ้าหากมองจากด้านบนลงมาในจะเห็นได้ชัดว่าผังอาคารนั้น ได้ขัดแย้งกับบริบทโดยรอบอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเสมือนเรื่องราวความขัดแย้งของคนสองกลุ่มจนนำไปสู่สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์

นอกจากนี้เปลือกผนังภายนอกของตัวอาคารที่ทำมาจากวัสดุอะลูมิเนียม ถ้าหากมองในภาพรวมจะเห็นได้ว่ามีช่องเปิดในรูปแบบที่ผิดแปลก ซึ่งจะเป็นเส้นตรงที่พาดทับซ้อนกันไปมาบนผนังตลอดทั้งตัวอาคาร โดย Daniel Libeskind ได้ออกแบบผนังอาคารให้เป็นเสมือนผิวหนังของชาวยิวที่โดนเฆี่ยนตี และโดนทารุณอย่างสาหัส จนเป็นแผลฉกรรจ์ทำให้ผิวหนังเปิดเห็นเนื้อภายใน ในช่วงเวลาที่ชาวยิวถูกทหารนาซีเกณฑ์ไปใช้แรงงานก่อนถูกสังหารหมู่

รูปภาพประกอบโดย www.flickr.com

แม้ว่า Daniel Libeskind จะออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ในส่วนที่ขยายเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ทั้งหลัง แต่เขาได้ออกแบบให้อาคารหลังใหม่ไม่ให้มีทางเข้าออกจากภายนอกไปยังอาคาร นั่นแปลว่าการที่จะเข้าสู่พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ได้นั้นจะต้องเข้าจากทางพิพิธภัณฑ์หลังเก่า ซึ่งเป็นอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบบาโรกดั้งเดิม ด้วยเส้นทางเดินใต้ดินที่ดูลึกลับ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมต้องทนต่อความวิตกกังวลสับสนในการเดินที่เหมือนจะหลงทาง ก่อนที่จะเดินข้ามไปยังเส้นทางหลักที่จะนำไปสู่อาคารแห่งใหม่ที่มีถึงสามเส้นทางด้วยกัน ทั้งสามเส้นทางนี้เป็นเสมือนประสบการณ์ของชาวยิวในประวัติศาสตร์ ที่ต้องอพยพจากประเทศเยอรมนี ซึ่งพวกเขาไม่มีทางรู้เลยว่าชีวิตของพวกเขาจะต้องพบเจออะไรที่เลวร้ายบ้างก่อนที่จะโดนสังหารฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

Daniel Libeskind ได้ออกแบบทางเดินตามรูปแบบ "zig-zag"  ให้ล้อไปกับผังของอาคารเพื่อให้ผู้เข้าชมเดินผ่าน และสัมผัสกับช่องว่างภายในอาคารที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน ซึ่งเส้นทางนี้จะนำพาผู้ชมผ่านแกลเลอรี่เรื่องราวในประวัติศาสตร์ของชาวยิว และไปทะลุผ่านพื้นที่โถงที่เปรียบเสมือนจุดสิ้นสุดของชีวิต ซึ่งสเปซภายในทางเดินเต็มไปด้วยคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่พาดทะลุผนังสลับกันไปมา โดยเปรียบเสมือนร่างกายของชาวยิวที่โดนทุบตีทิ่มแทงอย่างทารุณในช่วงที่โดนต้อนให้อพยพออกจากประเทศเยอรมนีเพื่อไปใช้แรงงานตามที่ทหารนาซีสั่ง ถ้าหากไม่ทำตามค่ำสั่งจะโดนทำร้ายทุบตีอย่างเจ็บปวดทรมาน 

นอกจากนี้ช่องเปิดแคบๆที่ผนังภายนอกในรูปแบบเส้นตรงที่พาดทับซ้อนกัน ที่เปรียบเสมือนผิวหนังที่โดนเฆี่ยนตีจนเห็นเนื้อในที่กล่าวไปในข้างต้น เมื่อมองจากสเปซภายในอาคารที่ช่องทางเดินจะมีความแคบยาวที่เพียงเศษเสี้ยวของแสงจะสามารถผ่านเข้าไปสู่พื้นที่ภายในอาคารได้ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับสิ่งที่ชาวยิวรู้สึกในระหว่างการหลบซ่อนตัวอัดกันอยู่ในห้องเล็กๆที่ต้องปิดประตูหน้าต่างมืดสนิทโดยที่แสง หรือ เสียงจากภายในจะต้องไม่สามารถเล็ดลอดผ่านได้ เพื่อไม่ให้ทหารนาซีเห็นไม่เช่นนั้นจะโดนจับไปทรมานและสังหาร แม้ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดในชีวิต ที่รู้สึกว่าจะไม่มีทางหนีรอดไปได้เลย แสงสว่าง และภาพดวงดาวยามค่ำคืนเล็กๆน้อยๆจากช่องหลังคาขนาดเล็ก เป็นสิ่งเดียวที่หล่อเลี้ยงจิตใจ และทำให้ชาวยิวมีความหวังเล็กๆที่จะต่อสู้เพื่อให้รอดพ้นจากสถาณการณ์เช่นนี้

รูปภาพประกอบโดย greatacre

เมื่อผู้เข้าชมเดินผ่านในส่วนของแกลลอรี่ ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องออกแบบแสงประดิษฐ์ให้สัมพันธ์กับแสงธรรมชาติที่เข้ามามีบทบาทในอาคาร การใช้แสงแบบเน้นเฉพาะจุดจะช่วยโฟกัสสมาธิของผู้เข้าชม ให้จดจ่ออยู่ซึม และมีความรู้สึกร่วมกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชาวยิวที่อยู่ตรงหน้าของพวกเขา

รูปภาพประกอบโดย leschrysalides

จุดสิ้นสุดของชีวิต หนึ่งในสเปซที่ให้อารมณ์ และความรู้สึกที่ทรงพลังมากที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยเป็นห้องโถงแคบๆที่มีความสูง 66 ฟุต ที่เจาะทะลุผ่านอาคารทุกชั้นตั้งแต่พื้นชั้นล่าง จนถึงหลังคาชั้นบนสุด ผนังคอนกรีตจะเพิ่มบรรยากาศที่เย็นยะเยือก โดยมีแสงสว่างริบหรี่ที่เล็ดลอดออกมาจากช่องเล็กๆบนหลังคา ซึ่งเปรียบเสมือนความหวังสุดท้ายของชีวิต โดยที่พื้นชั้นล่างถูกปกคลุมไปด้วยใบหน้าเหล็กกว่า 10,000 ชิ้น ซึ่งเป็นตัวแทนใบหน้าของชาวยิวนับหมื่นคนที่ร้องโหยหวนในค่ายกักกันเมื่อรู้ว่าตนเองจะไม่มีชีวิตรอดอีกต่อไปก่อนถูกสังหาร เมื่อผู้เข้าชมเดินผ่านห้องโถงจุดสิ้นสุดของชีวิต ซึ่งจะต้องเหยียบลงไปบนใบหน้าเหล็กที่กำลังแสดงอาการร้องโหยหวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเหยียบลงไปเสียงเหล็กกระทบกันดังก้องกังวานไปทั่วทั้งห้องโถง ซึ่งเปรียบเสมือนเสียงโซ่ตรวนของชาวยิวในค่ายกักกันก่อนโดนสังหารนั่นเอง

รูปภาพประกอบโดย www.imagenoire.com

ชมวีดีโอประกอบ : กับการออกแบบซีนความรู้สึกอันน่าสะพรึงผ่านงานสถาปัตยกรรม

เมื่อออกจากอาคารจะพบเส้นทางที่นำไปสู่ Garden of Exile ซึ่งผู้เข้าชมจะรู้สึกหดหู่อีกครั้งท่ามกลางเสาคอนกรีตสูง 49 แห่ง ที่ด้านบนปกคลุมไปด้วยต้นไม้ ในช่องทางเดินแคบๆระหว่างเสาขนาดใหญ่ผู้เข้าชมจะรู้สึกเหมือนโดนครอบงำ และรู้สึกสับสน แต่เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้าที่เปิดโล่งกลับมีช่วงเวลาแห่งความหวัง

พิพิธภัณฑ์ชาวยิว คือการเดินทางด้วยอารมณ์ผ่านประวัติศาสตร์ ที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่มอบประสบการณ์ที่พิเศษให้กับผู้เข้าชมในทุกมิติ ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถของ Daniel Libeskind ในการแปลประสบการณ์ของมนุษย์ในประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมได้อย่างแยบยล

รูปภาพประกอบโดย www.jmberlin.de

รูปภาพประกอบโดย www.jmberlin.de

แปล และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

- www.jmberlin.de

- www.archdaily.com

วัสดุเทียบเคียงในหมวด "โคมไฟส่องเฉพาะจุดสำหรับพิพิธภัณฑ์"

ARCHITECTURAL SPACE DESIGN THEORY

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ