Proximity Sensors จาก Misumi Thailand แม่นยำ ทนทาน มีให้เลือกครบครัน
Proximity Sensors พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นการผลิต ยานยนต์ หุ่นยนต์ หรือแม้กระทั่งในงานด้านความปลอดภัย หัวใจของเซ็นเซอร์วัดระยะคือความสามารถในการตรวจจับวัตถุหรือผู้ใช้งานใกล้เคียงโดยไม่ต้องมีการสัมผัสโดยตรง การทำงานนี้ทำให้เซ็นเซอร์ประเภทนี้มีบทบาทสำคัญในหลายส่วนของชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ กันให้มากขึ้นจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นอ่านต่อในหัวข้อถัดไปได้เลยครับ
Proximity Sensors คือ
พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุได้โดยที่ไม่ต้องใช้มือสัมผัสกับวัตถุชิ้นนั้นโดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการรักษาวัตถุไม่ให้เกิดรอย หรือชำรุดเสียหาย โดยลักษณะในการใช้งานจะเป็นการใช้เซนเซอร์เพื่อส่งสัญญาณควบคุมออกมา ซึ่งจะเป็นรูปแบบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยประโยชน์ของการนำเอา Proximity Sensors เข้ามาใช้งานในการผลิตวัสดุอุตสาหกรรมคือ ช่วยให้การจัดเรียง หรือการจัดการขั้นตอนในระบบอัตโนมัติอย่างเช่นระบบลำเลียงบนสายพาน เกิดความเสถียร แม่นยำ ให้ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น รวมทั้งในการต่อหรือประกอบก็ยังสร้างความมั่นใจได้มากขึ้นว่าจะไม่เกิดความเสียหายขึ้น และมีความเหมาะสมได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน
หลักทำงานของ Proximity Sensor
สำหรับหลักการทำงานของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ คือตัวอุปกรณ์จะมีเซ็นเซอร์ที่คอยทำการแปลงข้อมูลจากการเคลื่อนไหว หรือมีการตรวจจับวัตถุที่กำลังเข้ามาในระยะที่ใกล้พอต่อการตรวจจับได้ จากนั้นจะแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ส่งไปยัง Output เพื่อตรวจสอบว่าต้องการให้ทำงานหรือไม่ โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัว Output แต่ละแบบด้วย ทั้งนี้เซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณนั้นจะมาจากส่วนหัวของตัวอุปกรณ์ ซึ่งเป็นสนามแม่เหล็กที่มีความถี่สูง และเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการทำงานดังกล่าว
ประเภทและลักษณะของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์
ด้วยรูปแบบการทำงานที่มีความซับซ้อน และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการต้องการความแม่นยำ ทำให้ ของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ นั้นถูกออกแบบมาหลากหลายประเภท และมีหลายลักษณะสำหรับการใช้งาน โดยสามารถแบ่งเป็นลักษณะสำคัญได้ 4 ประเภท คือ
Inductive Proximity Sensor
พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แบบตรวจจับโลหะที่จะใช้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำในการตรวจจับเฉพาะวัตถุเป็นโลหะเท่านั้น เช่น อะลูมิเนียม สเตนเลส และเหล็ก ลักษณะเด่นของเซ็นเซอร์ประเภทนี้คือสามารถแบ่งออกเป็นสองรูปแบบได้ คือ แบบข้อต่อตรง และแบบข้องอ โดยรูปทรงมีทั้งแบบกระบอกเกลียว และกระบอกสี่เหลี่ยม คุณสมบัติที่สำคัญคือทนทานได้ต่อสภาวะที่เป็นฝุ่นและน้ำได้ดี และมีความแม่นยำในการตรวจจับวัตถุเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว แต่ระยะในการตรวจจับจะค่อนข้างจำกัดมากกว่า
Capacitive Proximity Sensor
สำหรับประเภทนี้ผลิตออกมาเพื่อใช้ในการตรวจจับวัตถุที่ไม่ใช่โลหะ เช่น ไม้ กระดาษ พลาสติก แก้ว เซรามิก โดยจะสามารถนำไปติดตั้งไว้กับตัวถังเพื่อตรวจจับระดับของแข็งหรือของเหลวได้ง่าย มักจะใช้กับการตรวจจับตำแหน่งของปริมาณสินค้าที่จะใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ หรือของเหลวในถัง เป็นต้น
Photoelectric Proximity Sensors
พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ ที่มีการติดตั้งลำแสงสำหรับใช้ในการตรวจจับวัตถุ โดยที่เซนเซอร์จะทำงานด้วยการส่งลำแสงอินฟราเรด หรือ LED ไปกระทบกับวัตถุ จากนั้นจะทำการสะท้อนมาที่ตัวเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับวัตถุ ทั้งนี้ตัวอุปกรณ์สามารถที่จะติดตั้งตรวจจับวัตถุได้ทั้งหมด 3 แบบ คือ ตรวจจับแบบหัวเดียว ตรวจจับแบบแผ่นสะท้อน และตรวจจับแบบสองหัว ซึ่งความแตกต่างของตัวตรวจจับก็จะอยู่ที่ระยะและความแม่นยำ สำหรับ Proximity Sensors ประเภทนี้มักจะถูกใช้บนสายพานลำเลียง หรือตรวจวัดจำนวนคนที่ผ่านเข้า-ออกประตูอัตโนมัติ
Ultrasonic Proximity Sensors
สำหรับรูปแบบนี้ เซนเซอร์วัดระยะห่าง เพื่อใช้กลไกคลื่นเสียงในการตรวจจับวัตถุ โดยสามารถตรวจจับได้ทั้งวัตถุที่เป็นของเหลว หรือวัตถุโปร่งแสงขนาดใหญ่ได้ จึงพบเห็นได้บ่อยในการใช้งานกับ ผ้า หรือโฟมแบบต่างๆ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบระดับความลึกของน้ำได้เช่นกัน
Misumi Thailand จำหน่าย พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แม่นยำ ทนทาน หลากหลายแบรนด์
เพื่อให้ได้ความคุ้มค่าสูงสุด และแม่นยำที่สุดในการใช้งาน พร้อมกับเปิดรับประสบการณ์ในการใช้ Proximity Sensors ที่ตอบโจทย์ แนะนำที่ Misumi Thailand ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อุตสาหกรรมที่หลากหลายสำหรับงานที่แตกต่าง รวมทั้งยังเป็นแบรนด์ชั้นนำที่ได้มาตรฐานการยอมรับจากทั่วโลก ซึ่งใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตัวนี้ สามารถดูรายละเอียด และสั่งซื้อได้ที่ th.misumi-ec.com
ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก มิซูมิ ไทยแลนด์ ได้ที่
เว็บไซต์: th.misumi-ec.com
Facebook: MISUMI Thailand
ผู้เขียนบทความ