การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ขั้นตอนและความสำคัญในการรักษาความปลอดภัย

การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนใช้งาน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สิน เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเครื่องไหนที่เกิดปัญหา ดังนั้นการหมั่นเช็ก และตรวจสอบการใช้งานอยู่เสมอ จะช่วยให้คุณคลายความกังวล และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่มองข้ามการตรวจสอบอุปกรณ์ และคิดว่าใช้งานทุกวัน ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไรได้ ปล่อยไว้แบบนี้หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อาจส่งผลเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินแน่นอน ดังนั้นมาตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าไปด้วยกัน 

ทำไมควรทำการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ

  • เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต
  • มั่นใจว่าอุปกรณ์ใช้งานได้ตามปกติ
  • วางแผนเพื่อซ่อมบำรุงได้ก่อนเกิดเหตุไฟฟ้าดับกะทันหัน
  • ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ลดความเสี่ยงอัคคีภัย
  • ลดค่าไฟที่แพง จากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพ 

ขั้นตอน และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

เริ่มจากการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องปิดสวิตช์ไฟภายในบ้านทุกจุด ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าออกให้หมด และดูที่มิเตอร์หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กหมุนอยู่หรือไม่ เพราะหากหมุนอยู่แปลว่ามีกระแสไฟรั่ว ต้องตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วยังทำงานปกติหรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบ ถ้าทำงานปกติ สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมา เพื่อช่วยในการตัดกระแสไฟฟ้า แต่ถ้าเครื่องตัดไม่ทำงาน ต้องติดต่อช่างมืออาชีพมาช่วยแก้ไข 

การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน และอาคารพาณิชย์: สิ่งที่ควรระวัง

  • ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างพร้อมกัน เพราะจะทำให้ไฟพ่วงเกินพิกัด ส่งผลให้เกิดความร้อนสูง เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • ควรเช็กว่าเครื่องทำน้ำอุ่น มีการต่อสายดินแล้วหรือไม่ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ หากเกิดไฟรั่วจะมีอันตรายมากที่สุด
  • เตารีด หรือ เครื่องปิ้งขนมปัง จะมีการสัมผัสโดยตรง ต้องมีการวางสายดินเพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
  • พัดลม ไม่ควรถอดที่ครอบออกจากตัวเครื่อง เพราะใบพัดหมุนด้วยความเร็ว อาจเกิดอันตรายได้

การตรวจสอบสายไฟ และการเช็กสถานะของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ควรตรวจสอบว่าปลั๊กไฟว่ามีรอย หลวม และมีรอยแตกร้าวหรือไม่ หากมีต้องเปลี่ยนใหม่ทันที อีกทั้งมีการเช็กว่าเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบได้เลย ต่อไปลองดูวิธีการเช็กเต้ารับ -เต้าเสียบ และแผงสวิตช์ไฟฟ้า

เต้ารับ-เต้าเสียบ

  • ไม่แตกร้าว ไม่มีรอยไหม้
  • เสียบให้แน่น และใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • ติดตั้งในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วม
  • ติดตั้งให้ห่างไกลเด็ก

แผงสวิตช์ไฟฟ้า

  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้น
  • ติดตั้งห่างไกลจากสารเคมีและสารไวไฟต่างๆ
  • ไม่มีแมลงเข้าไปทำรัง
  • อย่าวางสิ่งกีดขวางบริเวณแผงสวิตช์
  • ควรมีผังวงจรไฟฟ้าโดยสังเขปติดอยู่ที่แผงสวิตช์ เพื่อให้ทราบ ว่าแต่ละวงจรจ่ายไฟไปที่ไหน
  • แผงสวิตช์ที่เป็นตู้โลหะ ควรมีการต่อสายลงดิน

การตรวจสอบความเร็ว และความถูกต้องของสวิตช์และสวิตช์ควบคุม สวิตช์ตัดตอนชนิดคัตเอาท์

  • ตัวคัตเอาท์และฝาครอบต้องไม่แตก
  • ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาด ฝาครอบปิดให้มิดชิด
  • ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์
  • ขั้วต่อสายที่คัตเอาท์ต้องแน่น ใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • เมื่อสับใบมีดใช้งานต้องแน่น

เบรกเกอร์

  • ฝาครอบเบรกเกอร์ต้องไม่แตกร้าว
  • ต้องมีฝาครอบปิดเบรกเกอร์ให้มิดชิด
  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้น
  • ติดตั้งห่างไกลจากสารเคมีสารไวไฟต่างๆ
  • เลือกเบรกเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสม 

การตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุม และหม้อแปลงไฟฟ้า

  • สายไฟฟ้าและขั้วต่อของหม้อแปลงต้องมีสภาพดี โดยเฉพาะสายนำหรือปลอก ของหม้อแปลงต้องไม่มีคราบสรกปก หรือคราบน้ำมันต่างๆ และตัวขุดต่อสายต้องไม่มีรอยร้าวเพราะจะทำให้เกิดความร้อนสะสม ในตัวขั้วสายหม้อแปลงของสายเมนได้
  • ระดับน้ำมันหม้อแปลงไม่เสื่อมสภาพ น้ำมันหม้อแปลงจะต้องอยู่ในระดับที่เพียงพอตามใบที่กำหนด ดูได้จากเครื่องตรวจวัดประสิทธิภาพน้ำมัน หรือกรองน้ำมันหม้อแปลงทุกๆ ปี เพื่อช่วยให้จ่ายไฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ระบบสายดินมีตามมาตรฐาน สายดินหม้อแปลงจะต้องมีการติดตั้ง ตามมาตรฐานและมีค่าการลงดินตามที่กฎหมายกำหนดทั้งระบบ เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย

การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรเป็นเรื่องที่ทุกบ้านต้องให้ความสำคัญ ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ ป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด สำหรับใครที่ยังไม่เคยทำ ลองอ่านข้อมูลและศึกษาให้ดี ไม่ควรทำด้วยตัวเอง ควรให้ผู้ที่มีความรู้คอยช่วยเหลือ เพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งมั่นที่จะให้ความคุ้มค่าและความเชื่อถือในทุกการใช้งาน สามารถติดต่อสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.se.com

 

ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่

เว็บไซต์: www.se.com

Facebook: Schneider Electric

Instagram: schneiderelectric_th

LinkedIn: Schneider Electric

Lazada: Schneider Electric

Shopee: Schneider Electric official

LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

Gate

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ