ดีเทลการออกแบบห้องทำงานและห้องประชุมกระจกเก็บเสียง สำหรับ Smart Office ยุคใหม่ (Acoustic Glass Partition Detail Design)

ปัจจุบันการออกแบบสำนักงานชั้นนำระดับโลก ล้วนถูกผนวกเข้ากับพฤติกรรม และเทรนด์การทำงานของคนยุคใหม่มากขึ้น โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์จนเกิดเป็นข้อสรุปของรูปแบบการจัดพื้นที่สำหรับการทำงานที่เหมาะสม เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมการทำงานของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิมค่อนข้างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า "สถานที่ทำงาน" เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยหล่อหลอมสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้เช่นกัน ความรู้สึกของผู้ใช้งานสามารถแปรผันไปได้ตามลักษณะพื้นที่ และสภาพแวดล้อม เพราะฉะนั้นการจัด Working space ที่ดีจะสามารถเอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานได้โดยตรง 

และจากการนำข้อมูลพฤติกรรมของคนทำงานรุ่นใหม่มาวิเคราะห์ในรุปแบบงานวิจัย สามารถจำแนกสภาวะการทำงาน และลักษณะของ Space ที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  ได้ทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ

  1. Stimulate “สภาวะกระตุ้น”
  2. Play “สภาวะเล่นสนุก”
  3. Focus “สภาวะจดจ่อ”
  4. Learn “สภาวะตกผลึก”
  5. Collaboration “สภาวะร่วมมือ”

ในวันนี้เราอาจไม่ได้เจาะลึกในทุกๆ สภาวะที่เกิดขึ้น โดยจะเน้นเจาะลึกไปที่ส่วน Collaboration “สภาวะร่วมมือ” เป็นหลัก ซึ่งเป็นสภาวะที่เกี่ยวข้องและมีผลกับ การออกแบบห้องทำงานและห้องประชุมกระจกเก็บเสียง สำหรับงานออกแบบ Smart Office ยุคใหม่ โดยตรงมากที่สุด

ดังที่กล่าวไปในข้างต้น Innovator X จึงร่วมมือกับแบรนด์ Wattana ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เพื่อที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับลักษณะการทำงานแบบ Collaboration หรือ สภาวะร่วมมือ ว่าจะมีความสำคัญอย่างไรต่อกระบวนการทำงาน 

รวมไปถึงการเจาะลึก ดีเทลการออกแบบห้องทำงานและห้องประชุมกระจกเก็บเสียง สำหรับ Smart Office ยุคใหม่ (Acoustic Office Glass Partition Detail Design) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในด้าน Area requirement & Space ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะร่วมมือ (Collaboration)โดยตรง

Collaboration หรือ สภาวะร่วมมือ

คือ สภาวะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น หรือทำงานกันเป็นทีม เพื่ออาศัยความสามารถอันหลากหลายของคนเป็นหมู่คณะในการสร้างสรรค์งานให้สำเร็จลุล่วง และบรรลุเป้าหมายร่วมกัน สภาวะนี้สร้างได้ด้วยการจัดให้มีห้องประชุมปิด จัดมุมหนึ่งในพื้นที่ทำงานที่เปิดโอกาสให้คนทำงานได้มีกิจกรรมร่วมกัน

ในปัจจุบันแม้จะจำเป็นมี Area requirement & Space ห้องทำงาน และห้องประชุมแบบปิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นห้องที่ปิดมิดชิดในทุกมิติเสียทีเดียว ซึ่งก็ได้มีการประยุกต์เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อพฤติกรรมของพนักงานที่ปรับเปลี่ยนไปในยุคนี้ จนก่อให้เกิด Space แบบ Opened-Collaborative Area หรือที่เรียกกันว่า ห้องทำงานและพื้นที่ประชุมปิดแบบเปิดโล่ง (ที่ยังคงความเป็นส่วนตัวในบางมิติอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องเสียง)

Opened-Collaborative Area ห้องทำงานและพื้นที่ประชุมปิดแบบเปิดโล่ง

คือ การสร้างสรรค์บรรยากาศของการทำงานร่วมกัน ทำให้คนในองค์กรรู้สึกถึงความมีส่วนร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวมากขึ้น จากเดิมในอดีตที่เป็นห้องประชุมแบบปิดมิดชิดและค่อนข้างเป็นทางการเปรียบเสมือนหอคอยงาช้าง จนพนักงานไม่กล้าเข้าใกล้ และรู้สึกแปลกแยกกับพื้นที่ในส่วนนี้ 

ในยุคนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องประชุมปิดแบบเปิดโล่ง ด้วยการทำให้ห้องประชุมมีความโปร่งใส เพื่อเชื่อมต่อมิติในด้านการการมองเห็น (แต่ไม่ได้ยินเสียงสนทนา) โดยที่พนักงานภายนอกสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายในห้องประชุมได้แม้ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ประชุมนั้นโดยตรง ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งใส เชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่ง ไม่แปลกแยก ให้ความเป็นกันเองมากขึ้น และสะท้อน DNA ของสภาวะร่วมกัน Collaboration ได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้การออกแบบห้องทำงานและห้องประชุมด้วยกระจกเก็บเสียง 2 ชั้น (Acoustic Office Glass Partition) มามีบทบาทสำคัญ และได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งการออกแบบห้องทำงานและห้องประชุมด้วยกระจกเก็บเสียง จะมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอย่างไร และมีดีเทลในการออกแบบที่สำคัญอะไรบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยครับ

ห้องทำงานและห้องประชุมกระจกเก็บเสียง (Acoustic Office Glass Partition & Detail Design)  มีคุณสมบัติเด่น และมีดีเทลในการออกแบบอย่างไร...?

คุณสมบัติเด่น

  1. กันเสียงได้มากกว่าผนังกระจกปกติ โดยกระจก 2 ชั้น มีค่าการกันเสียงได้ถึง 46 dB Rw เทียบเท่าระบบผนังเบาที่ใส่แผ่นดูดซับเสียง ในขณะที่กระจกชั้นเดียวมีค่าการกันเสียงได้ประมาณ 36 dB Rw เท่านั้น
  2. สามารถแบ่งความกว้าง/ความสูงได้ตามที่ออกแบบไว้
  3. วัสดุประกอบบานมีความแข็งแรงทนทาน
  4. สามารถเลือกสีของอลูมิเนียมได้
  5. สามารถเลือกประตูทางเข้า เป็นแบบกระจก 1 ชั้น 2 ชั้น หรือแบบปิดผิวลามิเนต/วีเนียร์ได้
  6. ชุดบานประตูสามารถติดตั้งบานพับซ่อนได้ ทำให้เส้นสายของผนังดูเรียบร้อย
  7. ชุดบานกระจกติดตั้งได้แบบเต็มบาน ทำให้สำนักงานมีความทันสมัย น่าเชื่อถือ และเป็นมืออาชีพ
  8. ทำให้พื้นที่ภายในมีความปลอดโปร่ง ไม่รู้สึกอึดอัด แสงผ่านเข้าภายในพื้นที่ได้เหมาะสม ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้
  9. ชุดข้อต่ออลูมิเนียมออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้าร่องอย่างพอดี ทำให้ประกอบง่าย งานเรียบร้อย
  10. เสียงจากภายในไม่เล็ดลอดออกไปนอกห้อง และช่วยตัดเสียงรบกวนจากภายนอก
  11. การกั้นห้องด้วยระบบกระจก 2 ชั้น จะช่วยลดการสูญเสียพลังงาน กักเก็บความเย็นได้ดีขึ้น และลดการส่งผ่านความร้อน

ตัวอย่างการออกแบบห้องทำงานและห้องประชุมกระจกเก็บเสียง (Acoustic Office Glass Partition Design / Mood & Tone) 

ดีเทลการออกแบบที่สำคัญ (Key Detail) 

  • Profile Section Detail
  • Modular Design Detail
  • Frame Door Material & Layout Detail
  • Joint Layout Detail
  • Movable Walls Layout Detail
  • Fitting Detail

l-----------------------------------------------------------l

Profile Section Detail

l-----------------------------------------------------------l

Modular Design Detail

l-----------------------------------------------------------l

Frame Door Material & Layout Detail

l-----------------------------------------------------------l

Joint Layout Detail

l-----------------------------------------------------------l

Movable Walls Layout Detail

l-----------------------------------------------------------l

Fitting Detail

ในการออกแบบห้องทำงานและห้องประชุมกระจกเก็บเสียง เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์และมีความเหมาะสมในการใช้งานสูงสุด จำเป็นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบ และปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดความลงตัวในการใช้งานในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น

  • ลักษณะพื้นที่ตั้ง มีข้อจำกัดหรือไม่ (Site Analysis & Area Requirement)
  • ลักษณะความต้องการในการใช้งานที่เหมาะสม (User Behavior & Function)
  • สไตล์ หรือ รูปแบบการออกแบบภายในของสถานที่นั้นๆ (Design & Style)
  • ความสะดวกในการดูแลรักษา และซ่อมบำรุง (Maintenance)
  • งบประมาณ และความคุ้มค่าที่มีต่อการใช้งาน (Cost & Value)

 

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ