ดีเทลสเปคประตูกันเสียง สำหรับใช้งานในโครงการคอนโดมิเนียม และคุณสมบัติที่ควรรู้ก่อนนำไปใช้งาน

ในปัจจุบันคอนโดมิเนียมถือเป็นที่พักอาศัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ดูแลรักษาง่าย นอกจากนี้ยังมีส่วนกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันหากทำเลดี ใกล้รถไฟฟ้าก็จะช่วยทำให้เดินทางได้ง่ายมากขึ้น เหมาะกับวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน แต่การพักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมนั้นมักมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน ซึ่งเกิดได้บ่อยครั้ง เช่น

  • ปัญหาเสียงรบกวนจากภายนอกห้อง เช่น โถงทางเดินหน้าห้อง หรือหน้าลิฟต์
  • เสียงรบกวนจากห้องข้าง ๆ เข้ามาในห้อง
  • เสียงรบกวนจากโซนต่าง ๆ ภายในห้องเข้าไปยังห้องนอน

โดยปัญหาข้างต้นถือเป็นปัญหาใหญ่ในการอยู่อาศัย ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น

  • ทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่
  • รู้สึกไม่เป็นส่วนตัว
  • ทำกิจกรรมดูหนัง หรือฟังเพลงได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  • เกิดความหงุดหงิด ส่งผลต่อสุขภาพจิต
  • หรืออาจทำให้ภายนอกได้ยินเสียงจากห้องของเราเอง

เสียงรบกวนมักผ่านมายังช่องประตูของห้อง หรือผ่านทางผนังของห้อง การแก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนเข้ามายังในห้องนั้นสามารถแก้ได้หลากหลายวิธี เช่น การใช้วัสดุผนังที่มีค่าป้องกันเสียงสูง การวางตู้ หรือชั้นวางไว้ฝั่งที่มีเสียงรบกวน การปิดผิวผนังด้วยฉนวนกันเสียง และการเลือกใช้ประตูที่สามารถกันเสียงจากภายนอกเข้ามายังในห้องได้ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ลดปัญหาเสียงรบกวนได้เป็นอย่างดี โดยดีเทลสเปคประตูกันเสียงสำหรับคอนโดมิเนียมจะมีคุณสมบัติที่ควรรู้ก่อนนำไปใช้งาน อย่างไรบ้างนั้น Wazzadu Encyclopedia ย่อยมาให้แล้ว ติดตามชมได้เลยครับ

โดยหลักการเลือกประตูกันเสียงสำหรับที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียมนั้นมีหลักการเลือก ดังนี้ คือ

  1. เลือกใช้ประตูกันเสียงที่มีน้ำหนักเบา เพื่อให้เปิด-ปิดได้ง่าย และสะดวก เด็กหรือผู้สูงอายุก็สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  2. นอกเหนือจากการติดอุปกรณ์กันเสียงโดยรอบประตูแล้วนั้น การเลือกใช้บานประตูที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อกันเสียงโดยเฉพาะ ก็สำคัญไม่เช่นนั้นเสียงจากอีกฝั่งจะทะลุผ่านทางบานประตูได้
  3. ประตูทางเข้าควรมีคุณสมบัติทนไฟเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อาศัยทั้งอาคาร เนื่องจากผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียม มักมีการทำอาหาร หรือกิจกรรมที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดอัคคีภัย

ดีเทลสเปค และคุณสมบัติที่ควรรู้ของประตูกันเสียงสำหรับคอนโดมิเนียม (Acoustic door Detail Design for Residential Building)

ประตูกันเสียงสำหรับคอนโดมิเนียม สำหรับป้องกันเสียงระหว่างโถงทางเดิน และห้องพัก

ค่าความดังของเสียงบริเวณโถงทางเดินมีค่าความดังประมาณ 60-70 dB เป็นค่าเสียงของการเดิน การพูดคุย โดยสเปคประตูกันเสียงทนไฟ รุ่น FD - 30

  • ประเภทบาน : บานเดี่ยว
  • การใช้งาน : ประตูห้องพัก
  • ขนาด และความหนา : W 800-1000, H 2000-3000, T 45 mm.
  • น้ำหนัก : 37 kg/m² 
  • เฟรมบานประตู : Pre-Treatment Solid Timber
  • ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง : STC 36 (มาตรฐาน ASTME 90)
  • ประสิทธิภาพในการป้องกันไฟ : 30 min. (มาตรฐาน BS 476 Part 20/22)

จะสามารถทำให้เสียงรบกวนจากภายนอกเบาลง และเข้ามาภายในห้องน้อยที่สุด

แบบขยาย และรายละเอียดของประตูกันเสียงทนไฟ รุ่น FD - 30

  • บานประตูมีความหนา 4.50  เซนติเมตร (ไม่รวมตกแต่ง)
  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง STC36
  • ประสิทธิภาพในการป้องกันไฟ 30 นาที
  • ใช้ชุดยางกันเสียงด้านล่าง แบบขึ้น-ลงอัตโนมัติ เมื่อเปิด - ปิดประตู
  • พื้นส่วนที่รับยางกันเสียง ควรมีลักษณะเรียบ แข็ง และไม่มีรอยต่อเพื่อป้องกันเสียงเล็ดลอก

โดยสามารถเลือกใช้ประตูกันเสียงทนไฟ รุ่น FD - 35 และ FD - 40 ได้

ตัวอย่างโครงการที่ใช้ประตูกันเสียงทนไฟ รุ่น FD-30

ประตูกันเสียงทนไฟ รุ่น FD-30

ตัวอย่างการนำไปใช้งานในโครงการคอนโดมิเนียม

นอกจากนี้ก็สามารถนำไปใช้ในโครงการประเภทโรงแรมได้เช่นกัน

ประตูกันเสียงสำหรับคอนโดมิเนียม สำหรับป้องกันเสียงระหว่างห้องนั่งเล่น และห้องนอน

ค่าความดังของเสียงภายในห้องนั่งเล่นมีค่าความดังประมาณ 40-50 dB เป็นค่าเสียงของการพูดคุย เสียงของโทรทัศน์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ  โดยสเปคประตูกันเสียง รุ่น LD - 30

  • ประเภทบาน : บานเดี่ยว
  • การใช้งาน : ประตูห้องพัก
  • ขนาด และความหนา : W 800-1000, H 2000-3000, T 41 mm.
  • น้ำหนัก : 36 kg/m² 
  • เฟรมบานประตู : Pre-Treatment Solid Timber
  • ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง : STC 37 (มาตรฐาน ASTME 90)

จะสามารถทำให้เสียงรบกวนจากภายในห้องนั่งเล่นลดลง และไม่เข้าไปยังห้องนอนทำให้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่

แบบขยาย และรายละเอียดของประตูกันเสียง รุ่น LD - 30

  • บานประตูมีความหนา 4.10 เซนติเมตร (ไม่รวมตกแต่ง)
  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง STC37
  • ใช้ชุดยางกันเสียงด้านล่าง แบบขึ้น-ลงอัตโนมัติ เมื่อเปิด - ปิดประตู
  • พื้นส่วนที่รับยางกันเสียง ควรมีลักษณะเรียบ แข็ง และไม่มีรอยต่อเพื่อป้องกันเสียงเล็ดลอก

โดยสามารถเลือกใช้ประตูกันเสียง รุ่น LD - 25 และ LD - 40 ได้

ตัวอย่างโครงการที่ใช้ประตูกันเสียง รุ่น LD-30

ประตูกันเสียง รุ่น LD-30

ตัวอย่างการนำไปใช้งานในโครงการคอนโดมิเนียม

นอกจากนี้ก็สามารถนำไปใช้ในโครงการประเภทโรงแรมได้เช่นกัน

รายละเอียดผลิตภัณฑ์ประตูกันเสียงทนไฟ รุ่นต่าง ๆ

  • ประตูกันเสียง Acoustic Door รุ่น LD-30

    ประตู-หน้าต่าง ประตู

    ราคาเริ่มต้น 3x,xxx บาท/เซท

    Online
  • ประตูกันเสียงทนไฟ Acoustic Fire-Retardant Door รุ่น FD-30

    ประตู-หน้าต่าง ประตู

    ราคาเริ่มต้น 4x,xxx บาท/เซท

    Online

ข้อมูลสเปคประตูกันเสียงทนไฟประเภทอื่น ๆ

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประตูกันเสียงทนไฟเพิ่มเติมได้ที่

Line@ : @wazzadu.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ