Overload คืออะไร มีความเสี่ยงในระบบไฟฟ้าและมีวิธีการป้องกันอย่างไร

Overload คือความเสี่ยงในระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้ามีค่าเกินกว่าที่ระบบสามารถรับได้ อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายหรือเกิดอันตรายได้ การตรวจจับ Overload และการใช้วิธีการป้องกันเช่นตัวควบคุมอัจฉริยะและการใช้ Breakers จะช่วยลดความเสี่ยงในระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าในเครื่องจักรโรงงานที่ต้องการความปลอดภัยเป็นพิเศษ บทความนี้จะพาทุกคนไปเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องการเกิด Overload รวมถึงสาเหตุและการป้องกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูพร้อมกันเลย 

Overload คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในระบบไฟฟ้า Overload คือสถานะที่เกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์หรือสายไฟมีค่ามากกว่าที่อุปกรณ์หรือสายไฟนั้นๆ สามารถรับได้ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดมาจากการใช้งานอุปกรณ์หรือระบบไฟฟ้าเกินขีดจำกัดของความทนทานของพื้นที่หรืออุปกรณ์ต่างๆ นั่นเอง เมื่อเกิด Overload ในระบบไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่เกินความจำเป็นนี้ก็อาจทำให้อุปกรณ์ได้รับการทำงานที่เกินกว่าความสามารถของมัน สภาวะนี้อาจทำให้อุปกรณ์หรือสายไฟเกิดความร้อนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพลดลงและอาจทำให้ระบบถูกตัดการจ่ายไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน ก็อาจส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพลดลง

ผลกระทบที่เกิดจาก Overload ในระบบไฟฟ้า

แน่นอนว่าการเกิด Overload ในระบบไฟฟ้านั้นส่งผลเสียหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดภายสำนักงานหรือโรงงาน ซึ่งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้นั้นมีดังนี้

  1. อุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหาย: เมื่อระบบไฟฟ้าต้องเผชิญกับภาวะ Overload อุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่นั้นก็อาจรับความร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดความเสียหายและชำรุดได้ 
  2. สูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน: ภาวะการ Overload ทำให้อุปกรณ์ทำงานเกินความสามารถที่กำหนด ซึ่งค่าของกระแสไฟฟ้าที่เกินจากที่อุปกรณ์รับได้อาจทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบได้
  3. อันตรายต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน: เนื่องจากภาวะ Overload ทำให้อุปกรณ์ทำงานเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ อาจทำให้ระบบไฟฟ้ามีความร้อนสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยได้ด้วยเช่นกัน 
  4. ขาดเสถียรภาพในการทำงาน: ภาวะ Overload ที่เกิดขึ้นภายในระบบไฟฟ้าอาจทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง ส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์หรือระบบลดลง ทำให้ปฏิบัติงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหรือทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้

จะเห็นได้ว่าผลกระทบที่เกิดจาก Overload นั้นมีไม่ใช่น้อย การรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าให้มีสภาพดีอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการป้องกันการเกิด Overload โดยมีวิธีการหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้มากมาย ซึ่งเราจะพาคุณไปเรียนรู้เพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป  

การตรวจจับ Overload ในระบบไฟฟ้า

การตรวจจับการเกิด Overload ในระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญตามที่กล่าวไปข้างต้น เพราะการตรวจจับจะช่วยส่งสัญญาณเมื่อมีค่ากระแสเกิน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของภาวะ Overload ในระบบไฟฟ้า นำไปสู่การป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยการตรวจจับการเกิด Overload นั้นสามารถทำได้ดังนี้ 

  • ติดตั้ง Thermal Overload Relays: เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งในวงจรไฟฟ้าเพื่อตรวจจับการเกิดอุณหภูมิสูง โดยใช้เซ็นเซอร์อุณหภูมิภายในตัวรีเลย์ ซึ่งเมื่ออุณหภูมิเกินกว่าระดับที่กำหนด รีเลย์จะทำงานเพื่อปิดวงจรหรือเปิดวงจร
  • ติดตั้งระบบ Current Monitoring: การตรวจวัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเพื่อตรวจจับการเกิดความเข้มของกระแสที่เกินกว่าที่ระบบสามารถรับได้ หากค่ากระแสเกินกำหนดจะมีอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเตือนการเกิด Overload 
  • ติดตั้ง Digital Monitoring Systems: ระบบการตรวจจับ และติดตามกระแสไฟฟ้าแบบดิจิทัลที่มีความสามารถในการตรวจจับ Overload และรายงานผลได้แบบเรียลไทม์ 

วิธีการป้องกัน Overload ในระบบไฟฟ้า

จากหัวข้อข้างต้น ทุกคนคงจะพอทราบกันแล้วว่าการตรวจจับและการป้องกันการเกิด Overload นั้นสามารถทำได้อย่างไรบ้าง แต่นอกจากวิธีการที่เราได้บอกไปข้างต้นแล้วนั้น ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันการเกิด Overload ในระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ การใช้ตัวควบคุมอัจฉริยะสำหรับระบบไฟฟ้านั่นเอง ตัวควบคุมนี้ทำงานอย่างไร ตามไปดูกันต่อเลย

ใช้ตัวควบคุมอัจฉริยะสำหรับระบบไฟฟ้า

การใช้ตัวควบคุมอัจฉริยะสำหรับระบบไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกัน Overload ซึ่งระบบอัจฉริยะสามารถตรวจจับและควบคุมกระแสไฟฟ้าได้ตามที่เรากำหนด อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งการทำงานได้ตามความต้องการของระบบอีกด้วย ซึ่งระบบอัจฉริยะนั้นสามารถทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์หรือรีเลย์ต่างๆ ได้ โดยมีหน้าที่ตรวจจับและควบคุมกระแสไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ แน่นอนว่า Breakers ก็คืออุปกรณ์อัจฉริยะชิ้นนั้น ที่ช่วยเปิดหรือปิดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดภาวะ Overload ขึ้น 

เลือกซื้อ Breakers ช่วยป้องกันอันตรายจากการ Overload ได้

การใช้ Breakers (ตัวหยุดกระแสไฟฟ้า) เป็นหนึ่งในวิธีการป้องกัน Overload ที่มีประสิทธิภาพ โดย Breakers จะตัดการไหลของกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิด Overload เพื่อป้องกันอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าไม่เกิดความเสียหายนั่นเอง ซึ่งการเลือกซื้อเบรกเกอร์นั้นสามารถทำได้ โดยจะต้องคำนึงถึง Current Rating และ Trip Current ที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงควรเลือกซื้อเบรกเกอร์จากแบรนด์ผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและได้รับความไว้วางใจ อย่างเช่น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อความปลอดภัยและความคงทนในการใช้งาน

แนะนำ Breakers จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

หากคุณกำลังมองหา Breakers คุณภาพดี ราคาคุ้มค่า และใช้งานได้อย่างทนทาน อย่าลืมนึกถึง Breakers จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพราะเราเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าชั้นนำ ที่ได้มาตรฐานและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วโลก ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ตลอดจนการนวัตกรรมที่เน้นการปรับปรุงด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า

ที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรามี Breakers ให้คุณเลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น RCCB หรือ MCCB ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติหลากหลายในการป้องกันอันตรายจากการเกิด Overload และสั่งการตัดกระแสไฟฟ้าได้ทันทีเมื่อเกิดความผิดปกติ อีกทั้งยังมีหลายขนาดให้คุณได้เลือกสรร ติดต่อเราได้แล้ววันนี้ เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำอย่างเต็มใจ 

ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่

เว็บไซต์: www.se.com

Facebook: Schneider Electric

Instagram: schneiderelectric_th

LinkedIn: Schneider Electric

Lazada: Schneider Electric

Shopee: Schneider Electric official

LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

 

Gate

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ