Thermal Overload Relays คืออะไร สำคัญกับระบบไฟฟ้า และสามารถป้องกันอุณหภูมิสูงได้อย่างไร
Thermal Overload Relays หรือ โอเวอร์โหลดรีเลย์ อุปกรณ์สำคัญสำหรับระบบไฟฟ้าในโรงงาน ที่จะทำให้การทำงานของระบบต่างๆ เป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพราะภายในโรงงานมักมีการใช้มอเตอร์ที่ต้องการกระแสไฟฟ้าสูง ทำให้ต้องมีอุปกรณ์ในการป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Thermal Overload Relays ที่รวมไปถึง ส่วนประกอบสำคัญ ประโยชน์และบทบาทของโอเวอร์โหลดรีเลย์ในระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันอุณหภูมิสูงที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า ไปติดตามกันเลย
Thermal overload relays คือ
โอเวอร์โหลดรีเลย์ หรือ Thermal Overload Relays เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบไฟฟ้าภายในอาคารหรือโรงงาน มีหน้าที่ป้องกัน และควบคุมการทำงานของมอเตอร์ โดยอุปกรณ์นี้จะคอยตรวจวัดอุณหภูมิ และป้องกันไม่ให้มอเตอร์มีอุณหภูมิที่สูงเกินจนอาจเกิดอันตรายได้ ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้อาจเป็นผลมาจากการใช้งานมอเตอร์ที่หนักเกินไป ทำให้มีการระบายความร้อนที่ไม่เพียงพอ หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ส่งผลให้มีการสะสมความร้อนในมอเตอร์นั่นเอง
โอเวอร์โหลดรีเลย์ มีความสำคัญมากต่อระบบไฟฟ้าเพราะมีหน้าที่ป้องกันมอเตอร์ไม่ให้เกิดความร้อนสูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อระบบได้ การทำงานของโอเวอร์โหลดรีเลย์นี้จะช่วยให้มอเตอร์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอุณหภูมิเกิน อีกทั้งยังช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนมอเตอร์ได้อีกด้วย
มากไปกว่านั้น โอเวอร์โหลดรีเลย์ ที่ได้มาตรฐาน ยังสามารถนำไปใช้งานกับมอเตอร์ได้หลายประเภท อีกทั้งยังมีความสามารถในการปรับแต่งค่าเริ่มต้นตามความต้องการได้ นอกจากนี้ ยังมี โอเวอร์โหลดรีเลย์ ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการใช้งานในแวดวงอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน เช่น โรงงานผลิต อาคารพาณิชย์ หรือสถานที่ที่มีการใช้งานมอเตอร์หนักและเครื่องจักรที่ต้องการความปลอดภัยสูง
หลักการทำงานของ โอเวอร์โหลด รีเลย์
โอเวอร์โหลดรีเลย์ทำงานตามหลักการของความร้อน (Thermal Principle) โดยภายในโอเวอร์โหลดจะมีขดลวดความร้อน (Heater) พันอยู่กับแผ่นไบเมทัล (Bimetal) แผ่นโลหะที่ผลิตจากโลหะต่างชนิด โดยขดลวดความร้อนทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปยังมอเตอร์ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาในขดลวดความร้อนระดับหนึ่ง ความร้อนจากขดลวดก็จะไปทำให้แผ่นโลหะไบเมทัลโก่งตัวขึ้น จนไปดันให้หน้าสัมผัสปกติปิด NC (Normally Close) ของโอเวอร์โหลด ที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมเปิดวงจร ไปตัดกระแสออกจากคอล์ยแม่เหล็กของคอนแทคเตอร์ ส่งผลให้หน้าสัมผัสหลักหรือ Main Contact ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่าย ถือเป็นการป้องกันมอเตอร์จากความเสียหายได้นั่นเอง
ส่วนประกอบของ โอเวอร์โหลด รีเลย์
ที่จริงแล้ว Thermal Overload Relay มี 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบธรรมดา และโอเวอร์โหลดรีเลย์แบบที่มีรีเซ็ต (Reset) โดยทั้งสองชนิดมีการทำงานที่แตกต่างกันเล็กน้อยนั่นคือ แบบที่มีรีเซ็ตจะมีกลไกล็อกสภาวะการทำงานไว้ ทำให้ต้องกดรีเซ็ตเมื่อต้องการให้หน้าสัมผัสกลับมาที่ตำแหน่งเดิม อย่างไรก็ตาม โอเวอร์โหลดรีเลย์ ทั้งสองชนิดมีส่วนประกอบหลักที่เหมือนกัน ดังต่อไปนี้
- เซนเซอร์หรือเทอร์โมสตัท: ทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิของมอเตอร์ โดยมีวัสดุที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ วัสดุจะขยายตัวซึ่งทำให้เกิดการเปิดวงจรหรือตัดสัญญาณไฟฟ้า
- วงจรการตรวจจับอุณหภูมิสูง: เป็นวงจรที่ใช้สัญญาณที่เกิดจากเซนเซอร์หรือเทอร์โมสตัทเพื่อตรวจจับอุณหภูมิสูง และส่งสัญญาณไปยังวงจรการเปิด-ปิดสวิตช์
- วงจรการเปิด-ปิดสวิตช์: เมื่อได้รับสัญญาณจากวงจรการตรวจจับอุณหภูมิสูง วงจรนี้จะทำงานโดยเปิดหรือปิดสวิตช์ที่เชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าของมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หยุดทำงานเพื่อป้องกันการเกิดอุณหภูมิสูงเกินไป
- เซนเซอร์ตรวจจับกระแสไฟฟ้า: เป็นส่วนที่ใช้ตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมอเตอร์ เพื่อตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้าที่เกินกว่าค่าที่มอเตอร์รับได้หรือไม่ หากกระแสไฟฟ้าเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ โอเวอร์โหลดรีเลย์จะทำงานโดยตัดสัญญาณไฟฟ้าไปยังมอเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์ทำงานในสภาวะที่เกินกระแส เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้
ประโยชน์และบทบาทของ โอเวอร์โหลด รีเลย์ ในระบบไฟฟ้า
เมื่อได้ทำความรู้จักกับโอเวอร์โหลดรีเลย์ กันไปแล้ว ต่อมาเรามาดูกันเลยว่าอุปกรณ์ชนิดนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้างในระบบไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
เมื่อได้ทำความรู้จักกับโอเวอร์โหลดรีเลย์ กันไปแล้ว ต่อมาเรามาดูกันเลยว่าอุปกรณ์ชนิดนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้างในระบบไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
- ป้องกันความร้อนเกิน: อย่างที่ได้เน้นย้ำเสมอถึงคุณสมบัติป้องกันความร้อนเกิน โอเวอร์โหลดรีเลย์ ถือเป็นพระเอกที่ช่วยไม่ให้มอเตอร์เครื่องจักรทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายอื่นๆ ได้
- ป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์: โอเวอร์โหลดรีเลย์ช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์อื่นๆ ในระบบไฟฟ้าเกิดความเสียหายจากการร้อนเกินของมอเตอร์ โดยเมื่อมอเตอร์ถูกป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสียหายได้อีกด้วย
- ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ: โอเวอร์โหลดรีเลย์ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากมอเตอร์ที่ทำงานโดยไม่เหมาะสม โดยตัดการไฟฟ้าเมื่อมอเตอร์รับกระแสเกินค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดประกายไฟ (Arc Flash) และสถานการณ์อันตรายอื่นๆ ได้
- ควบคุมและจัดการระบบไฟฟ้า: โอเวอร์โหลดรีเลย์ช่วยในการควบคุม และจัดการระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำหน้าที่ตรวจสอบและปรับค่ากระแสที่มอเตอร์รับเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
จะเห็นได้ว่า โอเวอร์โหลดรีเลย์มีประโยชน์มากมายต่อโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ Thermal Overload Relays ก็ต้องทำอย่างระมัดระวังเช่นกัน โดยควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน จากผู้ผลิตชั้นนำที่มีชื่อเสียง อย่างชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจ
TeSys Deca Overload Relays จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
หากคุณกำลังมองหา Thermal Overload Relays คุณภาพเยี่ยม อย่าลืม TeSys Deca overload relays จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค โอเวอร์โหลดรีเลย์สำหรับใช้ในระบบไฟฟ้ารุ่นพิเศษของเรา ที่มาพร้อมคุณสมบัติ และฟังก์ชันที่เพียบพร้อมสำหรับการป้องกัน และควบคุมมอเตอร์เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูงสามารถใช้งานกับกระแสไฟได้หลายระดับ ตั้งแต่ 0.06 kW ไปจนถึง 75 kW ทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดไปจนถึงการใช้งานในอาคารพาณิชย์ โดยมีการออกแบบที่ง่ายต่อการติดตั้งและการใช้งาน หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันที เรามีทีมงานคอยให้คำปรึกษาคุณด้วยความยินดี
ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่
เว็บไซต์: www.se.com
Facebook: Schneider Electric
Instagram: schneiderelectric_th
LinkedIn: Schneider Electric
Lazada: Schneider Electric
Shopee: Schneider Electric official
LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ผู้เขียนบทความ