จะเป็นอย่างไร? หากมีโคมไฟที่ทำจากเห็ด และย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

แรงบันดาลใจการออกแบบทั้งด้านวัสดุและรูปทรง

คุณ Nir Meiri เป็นนักออกแบบที่พยายามจะทดลองและศึกษาการนำวัสดุแปลกๆ นำมาประยุกต์ใช้อยู่เสมอ และเห็ดราไมซีเรียมเองก็ถูกทำการทดลองหลายครั้ง ซึ่งในการออกแบบโคมไฟ เป็นการนำความเป็นเส้นใยของเห็ดราไมซีเรียมมาใช้เป็นวัสดุ และออกแบบรูปทรงของโคมไฟโดยเลียนแบบรูปร่างของเห็ดป่า เพื่อนำมาสร้างเป็นคอนเซ็ปต์ของสวนเล็กๆ  ที่มีแสง

เห็ดที่ถูกกล่าวถึงนี้ก็คือ เห็ดราไมซีเรียม ที่มีลักษณะเป็นเส้นใยซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีอยู่ทุกหนแห่ง จุดเด่นของเห็ดชนิดนี้ก็คือเป็นวัสดุที่สามารถสลายตัวเองได้ตามธรรมชาติ จึงถูกจัดให้เป็น green material และเป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น ความงาม บรรจุภัณฑ์

โคมไฟที่มีขนาดเล็กและดูมินิมอลนี้ เป็นการออกแบบโดยคุณ Nir Meiri นักออกแบบจากลอนดอน ที่ได้ทำการออกแบบโคมไฟขนาดเล็กซึ่งมีลักษณะเหมือนกับเห็ด และในขั้นตอนการผลิตโคมไฟก็ล้วนเป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยการนำเศษกระดาษเข้าไปใส่ในแม่พิมพ์ที่ถูกทำให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ ก่อนจะใส่สปอร์ของไมซีเลียมเข้าไป และปล่อยให้เจริญเติบโตอยู่ภายใน ภายใต้สภาวะของอุณหภูมิที่ถูกควบคุม

เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ เศษกระดาษก็จะถูกกลืนกินโดยเชื้อรา เหลือไว้เพียงฐานของไมซีเลียมที่เป็นรูปร่างเหมือนกับแม่พิมพ์ หลักจากนั้นวัสดุนี้จะถูกนำออกจากแม่พิมพ์และปล่อยให้แห้ง เชื้อราในส่วนที่เติบโตมากเกินไปจะถูกตัดออกออก เมื่อไมซีเลียมแห้งสนิทแล้วจึงจะนำไปสู่การประกอบเป็นโคมไฟ

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.dezeen.com/2019/01/07/nir-meiri-mycelium-lamps-design/

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ