หนังเทียมจากเปลือกแอปเปิ้ล Plant-Based Leather วัสดุทดแทนหนังสัตว์จากเศษแอปเปิ้ลกับยางธรรมชาติ
เชื่อว่าหลายท่านอาจจะพอคุ้นเคยกันดีกับวัสดุ “หนังทางเลือกจากพืช” (Plant-Based Leather) ซึ่งเป็นวัสดุทดแทนหนังสัตว์ที่ทำมาจากพืช มีหลากหลายชนิตที่ถูกนำมาพัฒนาต่อยอด เช่น หนังจากสัปปะรด หนังจากต้นกระบองเพชร หนังจากเปลือกองุ่น และในวันนี้ Wazzadu Green ขอพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับอีกหนึ่งวัสดุทดแทนหนังสัตว์ “หนังจากเปลือกแอปเปิ้ล”
วัสดุทดแทนหนังสัตว์ "หนังเทียมจากเปลือกแอปเปิ้ล" อีกหนึ่งวัสดุกรีนซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับ “หนังทางเลือกจากพืช” (Plant-Based Leather) ผลิตโดยบริษัท Beyond Leather ตั้งอยู่ในเมืองโคเปนเฮเกน หนังเทียมจากเปลือกแอปเปิ้ล เป็นการนำเอาเศษแอปเปิ้ล/เปลือกแอปเปิ้ล มาผสมกับยางธรรมชาติ และทาด้วยสารเคลือบป้องกัน ซึ่งเปลือกและเศษแอปเปิ้ลที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตนั้นได้มาจากเกษตรกรในท้องถิ่นผู้ผลิตน้ำผลไม้รายย่อยในประเทศเดนมาร์ก ที่ผลิตแล้วเหลือเศษแอปเปิ้ลโดยเฉลี่ย 500 ถึง 600 ตันต่อปี เป็นการรีไซเคิลเศษอาหารที่ปกติจะเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตให้เกิดประโยชน์
หนังเทียมจากเปลือกแอปเปิ้ล มีลักษณะอ่อนนุ่มและแข็งแรงเหมือนกับหนังจริง นำไปใช้การวงการออกแบบแบบและแฟชั่นได้หลากหลาย และทางบริษัท Beyond Leather ผู้ผลิตวัสดุทดแทนหนังสัตว์ ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าในกระบวนการผลิตหนังจากเปลือกแอปเปิ้ลปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยน้อยกว่าหนังแบบดั้งเดิม 85% และต้องการน้ำเพียง 1% เท่านั้น
วัสดุประเภท “หนัง” เป็นที่นิยมนำมาใช้ในวงการตกแต่งและวงการแฟชั่นอย่างแพร่หลายมายาวนาน แต่ด้วยความที่ในปัจจุบันผู้คนหันมาตระหนักรู้เรื่องของความยั่งยืน ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ไปจนถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบที่เกิดจากอุตสาหกรรมเครื่องหนังที่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากไปสู่ชั้นบรรยากาศ จนเกิดเป็นวัสดุทดแทนมากมายที่ถูกนำมาใช้ทดแทนการใช้หนังจากสัตว์ ซึ่งคาดว่าในอนาคตก็จะมีผลิตภัณฑ์และวัสดุใหม่ๆ อีกมากมายที่ผลิตมาเพื่อช่วยตอบรับกับเทรนด์รักษ์โลกต่อไป
แหล่งอ้างอิง
https://www.dezeen.com/2021/07/14/leap-beyond-leather-apples/
ดูเนื้อหาอื่นๆ ด้าน Green & Sustainable Design เพิ่มเติมได้ที่
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม