ตู้ไฟ คอนซูเมอร์ยูนิต Consumer Unit มารู้จักกับประเภท และความรู้เกี่ยวกับตู้ไฟฟ้ากันเถอะ

ตู้ไฟ คอนซูเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) หรือตู้เบรกเกอร์ คำที่หลายคนเคยได้ยิน ถือเป็นคำที่ใช้เรียกตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ในการควบคุมระบบไฟฟ้า เช่น มิเตอร์วัดไฟฟ้า , อุปกรณ์ตัดต่อวงจร , เซอร์กิตเบรกเกอร์ , บัสบาร์ และจุดต่อเทอร์มินอล รวมไปถึงสวิตช์ และสวิตช์บอร์ด อุปกรณ์แสดงสถานะ ในการตรวจจับต่างๆ แต่วันนี้เราจะขอพาทุกคนไปดูตู้ไฟฟ้าแต่ละประเภทว่ามีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร พร้อมแนะนำตู้ไฟน่าใช้จากแบรนด์ ชไนเดอร์ อิเล็กทริคด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ตามมาดูกันเลย

ตู้ไฟ คอนซูเมอร์ยูนิต Consumer Unit

ลองมาดูกันว่าตู้ไฟ มีการใช้งานอย่างไร

ตู้ไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า ตู้ MDB ( Main Distribution Board ) จะเป็นจุดรวมการติดตั้ง อุปกรณ์ควบคุมและป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอย่างเป็นระเบียบ เพื่อง่ายต่อการจัดการ โดยจะมีการทำงานที่ประกอบด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน เพื่อเป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว หรือไฟดูดได้ โดยปกติตู้ไฟ จะนิยมใช้ในนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไปจนถึงกลาง หรือสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้ไฟจำนวนมาก โดยจะมีการติดตั้งตามอาคาร และรูปแบบอาคารไม่ว่าจะขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ต้องมีตู้คอนโทรลระบบไฟฟ้า เพื่อช่วยจัดการการจ่ายไฟฟ้า และสร้างความปลอดภัย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของตู้คอนโทรลระบบไฟฟ้านั่นเอง

ตู้ไฟ มีกี่ประเภท

สำหรับตู้ไฟ สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

  1. ตู้ MDB (Main Distribution Board) ตู้ที่ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มีเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของตัวอาคาร ทำหน้าที่ออกแบบ และผลิตโดยเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับระบบไฟของพื้นที่ โดยตู้นี้จะต้องมีความแข็งแรงสูง เพื่อใช้ป้องกันอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน และต้องสามารถทนทานต่อความร้อนได้ดี หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรด้วย
  2. ตู้ SDB (Sub Distribution Board) เป็นตู้ควบคุมไฟฟ้า ระบบย่อยที่รองลงมา เพื่อช่วยจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังตู้อื่นๆ เช่น ตู้ PB หรือ ตู้ Load Center ยังไงก็ตามจะต้องมีการออกแบบตามความเหมาะสมอีกครั้ง
  3. ตู้ PB (Panel Board) หรือ ตู้ Load Center ตู้ PB หรือ ตู้ Load Center จะมีแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ภายใน ที่ควบคุมการจ่ายไฟไปยัง เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในระบบอาจมีหลายตู้ โดยจะขึ้นกับความต้องการ ในการแบ่งโซนในการควบคุม และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ด้วย
  4. ตู้ LP (Load Panel) ปิดท้ายด้วยตู้ Load Panel โดยทั่วไป ถ้าเป็นไฟ 3 เฟสจะเรียกว่า ตู้ Load Center แต่ถ้าเป็นแบบ 1 เฟสจะเรียกว่า ตู้ Consumer Unit โดยจะเป็นตู้ย่อยในหมวดของตู้ PB อีกทีหนึ่ง

 

ประโยชน์ของตู้ไฟ

สำหรับประโยชน์ของตู้ไฟ มีดังนี้

  1. ช่วยจ่ายไฟในทุกภาคส่วน  ตู้ไฟจะทำหน้าที่จ่ายไฟทุกภาคส่วน ในโรงงานอุตสาหกรรม ,ห้างสรรพสินค้า และอาคารขนาดใหญ่ ที่จำเป็นจะต้องมีการจ่ายไฟที่หลากหลาย โดยตู้ไฟจะช่วยให้การทำงานในส่วนของระบบไฟฟ้ามีความเสถียรมากขึ้น ส่งผลให้การจ่ายไฟในทุกภาคส่วนมีความคงที่ และจ่ายไฟได้กำลังมากขึ้นด้วย
  2. ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ตู้ไฟจะทำหน้าที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการจ่ายไฟ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หากมีแรงดันไฟฟ้ามากเกินไป หรือแรงดันไฟฟ้าตก รวมไปถึงป้องกันฟ้าผ่า โดยแต่ละอาคาร จะมีจุดที่ไฟจ่ายไปจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน ดังนั้นตู้ไฟจะคอยทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้ เพื่อช่วยความปลอดภัยทั้งคน หรือช่างที่ทำงานอยู่ด้วย แถมช่วยป้องกันทรัพย์สินได้ หากเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ทางตู้ไฟจะทำการตัดทันทีเพื่อป้องกันเหตุไฟฟ้าลัดวงจร
  3. สำรองข้อมูลต่างๆ  ไฟตกก็มีโอกาสทำให้ข้อมูลสำคัญของคุณหายไป การมีตู้ไฟที่มีกระแสไฟวิ่งอยู่ตลอดจะสามารถเปลี่ยน UPS ของแบตเตอรี่เพื่อป้องกันการเกิดไฟกระชาก และป้องกันข้อมูลสูญหายได้ด้วย

อุปกรณ์ และส่วนประกอบต่างๆ ในตู้ไฟ

ต่อไปมาดูอุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ ของตู้ไฟ มีดังนี้

  1. Circuit Breaker หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และถูกติดตั้งในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า เพื่อช่วยตัดระบบไฟฟ้า โดยปัจจุบันมีการพัฒนาเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดกับระบบไฟฟ้าด้วย เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร , ไฟฟ้าดูด และไฟฟ้ารั่ว เป็นต้น โดยจะมีขนาดพิกัดและเฟรมให้เลือกหลากหลาย และหนึ่งในแบรนด์ที่ไว้ใจได้ คือ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
  2. Pilot Lamp หรือ ไฟแสดงสถานะ ไฟแสดงสถานะ มักจะถูกติดตั้งไว้ที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า โดยมีหน้าที่บอกสถานะการทำงาน เช่น การทำงาน , การหยุดงาน หรือการแจ้งเตือนหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระบบ โดยสีของไฟสถานะ จะแจ้งเตือนโดยแสดงสีตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้นั่นเอง
  3. Overload Relay หรือโอเวอร์โหลด รีเลย์ อุปกรณ์ป้องกันความเสียหายจากมอเตอร์ โดยหากอุปกรณ์มีการทำงานหนักมากเกินไป วัดจากกระแสไฟฟ้าที่เกิดพิกัด โอเวอร์โหลด รีเลย์ เพื่อตัดวงจรไฟฟ้า และป้องกันแบตเตอรี่เสียหาย ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและช่วยยืดอายุของอุปกรณ์ได้ โดยปกติจะมีการติดตั้งคู่กับ แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) 

ตู้ไฟ จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค รองรับระบบความปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์

ใครที่มองหาตู้ไฟคุณภาพดี สามารถช่วยกระจายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่หลากหลาย มีให้เลือกครบทุกการใช้งาน ช่วยเสริมระบบความปลอดภัยได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ใครที่สนใจสินค้า สามารถเข้าไปดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.se.com/th/th/product-category/4200-circuit-breakers-and-switches/ และ https://www.se.com/th/th/product-category/1600-electrical-protection-and-control/ บอกเลยว่าสินค้ามีคุณภาพ มีให้เลือกหลากหลายแบบ ราคาไม่แพงเกินไปด้วย

 

หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจ ว่าตู้ไฟ คอนซูเมอร์ยูนิต มีการใช้งานเป็นอย่างไร และทำให้ทุกคนเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง ข้อสำคัญอย่าลืมเลือกซื้อจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเท่านั้น

 

อ้างอิงจาก

https://www.se.com/th/th/product-category/1600-electrical-protection-and-control/ 

https://www.se.com/th/th/product-category/4200-circuit-breakers-and-switches/ 

https://psc.lighting/มารู้จักกับตู้ไฟฟ้า%20และส่วนประกอบกันเถอะ 

https://www.torwitchukorn.com/th/articles/119334-ตู้-mdb-คืออะไร?-

 

Gate

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ