รู้ไว้ก่อนใช้งาน! เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) และประเภทของเบรกเกอร์ ตัวช่วยป้องกันอัคคีภัย

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) และประเภทของเบรกเกอร์ ตัวช่วยป้องกันอัคคีภัย ใครดูทีวีได้ข่าวเหตุการณ์อัคคีภัย แล้วรู้สึกกลัวบ้าง? เพราะบางครั้งออกจากบ้าน อาจลืมดึงปลั๊กที่ไม่ได้ใช้งาน หรือชาร์จมือถือทิ้งไว้ รวมไปถึงเบรกเกอร์ที่บ้านใช้งานมานานหลายปี ถึงเวลาเปลี่ยน และหาเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ที่คุณภาพดีมาเป็นตัวช่วยป้องกันไฟไหม้ให้คุณ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเบรกเกอร์ และประเภทของเบรกเกอร์ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจเลือกซื้อง่ายมากขึ้น

เซอร์กิตเบรกเกอร์  (Circuit Breaker)  คืออะไร?

เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือที่เรียกกันว่าเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน การทำงานของเบรกเกอร์ จึงมีหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้า หลังจากที่พบความผิดปกติ โดยจะมีการตัดไฟอัตโนมัติ เมื่อมีการโหลดไฟเกิน สังเกตง่ายๆ ด้ามจับที่เป็นคันโยกของเบรกเกอร์จะเลื่อนกลับมาอยู่ในตำแหน่ง เบรกเกอร์ ทริป (Trip) ที่อยู่ระหว่าง On และ Off แต่หากมีการแก้ไขเรียบร้อย ก็จะสามารถเลื่อนคันโยกกลับไปใช้งานได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ นั่นเอง

ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) 

สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) จะมีการแบ่งประเภทตามพิกัดแรงดันไฟฟ้า หรือการออกแบบ หากมีการแบ่งตามพิกัดแรงไฟฟ้า จะแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ 

  • Low Voltage เบรกเกอร์
  • Medium Voltage เบรกเกอร์
  • High Voltage

เบรกเกอร์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้งานกัน คือ Low Voltage เบรกเกอร์ เช่นพวก MCB, MCCB และ ACBเป็นต้น โดยเบรกเกอร์เหล่านี้จะมีลักษณะการออกแบบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดและการใช้งาน ต่อไปลองมาดู Low Voltage Circuit Breakers กัน

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ : Low Voltage Circuit Breakers

สำหรับเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ จะเป็นเบรกเกอร์ที่ใช้งานทั่วไป ทั้งงานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ถูกติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต , ตู้ DB หรือตู้โหลดเซ็นเตอร์ โดยเบรกเกอร์ชนิดนี้จะได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน IEC 947 ข้อสังเกตง่ายๆ เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ มักถูกติดตั้งในตู้ที่เปิดออกได้ เพื่อง่ายต่อการถอดและเปลี่ยนโดยไม่ต้องถอดสวิตซ์

ออกนั่นเอง ตัวอย่างเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ มีดังนี้ MCB, RCCB, RCBO, MCCB และ ACB โดยเราจะอธิบายในส่วนต่อไป

Miniature Circuit Breakers (MCBs)

สำหรับ Miniature circuit breaker หรือเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็ก นิยมใช้ในบ้านหรืออาคารที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100 A มีทั้งขนาด 1, 2, 3 และ 4 Pole ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสและ 3 เฟส เบรก โดยเบรกเกอร์ลูกย่อยจะมีสองแบบ คือ Plug-on และ DIN-rail เป็นต้น หน้าที่หลักของเบรกเกอร์ลูกย่อย จะป้องกันร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย หรือแผงจ่ายไฟฟ้าในห้องพักอาศัย มีพิกัดกระแสลัดวงจรต่ำ เป็นเบรกเกอร์ชนิดที่ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ อีกทั้งส่วนใหญ่ต้องอาศัยกลไกจากการปลดวงจรในรูปแบบ thermal และ magnetic ด้วย

Residual Current Devices (RCDs)

สำหรับ Residual Current Devices หรือเครื่องตัดไฟรั่ว ทำหน้าที่ป้องกันไฟดูด , ไฟรั่ว หรือไฟช๊อต รวมทั้งช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดความผิดปกติ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ RCBO, RCCB และ ELCBแต่ละตัวจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป หน้าที่หลักๆ จะช่วยตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ

Moulded Case Circuit Breakers (MCCB)

สำหรับเบรกเกอร์ MCCB (Molded Case Circuit Breaker) เป็นเบรกเกอร์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นทั้งสวิตช์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า และเปิดวงจรเมื่อมีกระแสเกินหรือไฟลัดวงจรได้ โดยเบรกเกอร์ชนิดนี้ใช้ได้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100 – 2,300 A เหมาะกับการติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงติดตั้งในพาเนลบอร์ด เป็นต้น

Air Circuit Breakers (ACB)

สำหรับ Air Circuit Breaker (ACB) หรือที่เรียกกันว่า แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ โดดเด่นเรื่องความแข็งแรง สามารถทนทานต่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูงได้ อีกทั้งมีพิกัดกระแสไฟฟ้าสูงถึง 6300 A ทำให้ราคาของเบรกเกอร์ ACB มีราคาแพงมากกว่าชนิดอื่นๆ และยังถูกนับว่าเป็นเบรกเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเบรกเกอร์ชนิดแรงดันไฟฟ้าต่ำ (LV) การใช้งานหลักๆ จะถูกเป็น Main เบรกเกอร์ในวงจรไฟฟ้านั่นเอง

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง : Medium Voltage Circuit Breakers

เบรกเกอร์ชนิดนี้ จะถูกประกอบเข้าไปในตู้เหล็กสวิตช์ขนาดใหญ่ สำหรับการใช้งานในอาคาร หรือใช้เป็นชิ้นส่วนติดตั้งภายนอกในสถานีย่อย เช่น แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (ACB) ที่มีการอัดน้ำมันเข้าไปให้ทำงาน สำหรับใช้งานภายนอกอาคาร โดยลักษณะของเบรกเกอร์แรงดันไฟปานกลาง จะได้การรับรองจากมาตรฐาน IEC 62271 และเบรกเกอร์ชนิดนี้นิยมใช้เซ็นเซอร์กระแสสลับ และรีเลย์เพื่อป้องกันแทนการใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนหรือแม่เหล็กในตัวด้วย ครบเครื่องมากๆ

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง : High Voltage Circuit Breakers

สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง ในความหมายทั่วไป อาจมีความแตกต่างกัน แต่หากพูดถึงในงานส่งกำลัง จะมีขนาดแรงดันไฟ 72.5 Kv หรือสูงเกินกว่าค่ากำหนดของ IEC โดยเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง จะมีการทำงานด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้าอีกที ส่วนรีเลย์จะช่วยป้องกันอุปกรณ์จากการโหลดเกินหรือไฟรั่วลงดิน เพิ่มความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น

เซอร์กิตเบรกเกอร์  (Circuit Breaker) จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

 

 

หลายคนมองว่าการเลือกซื้อเซอร์กิตเบรกเกอร์ ดูเป็นเรื่องยาก และไม่รู้ว่าจะไปเลือกซื้อที่ไหน เพราะกลัวจะได้ของไม่ดีมาใช้ เพราะเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ที่ต้องให้ความสำคัญมาก ซึ่งหากคุณมองหาแบรนด์ชั้นนำที่ไว้วางใจได้ สำหรับเรื่องเบรกเกอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค” คือคำตอบที่คุณตามหา เพราะเป็นศูนย์รวมเบรกเกอร์อันดับ 1 มีเบรกเกอร์หลากหลายแบบให้คุณเลือกซื้อตามความเหมาะสมการใช้งาน และโดดเด่นเรื่องประสิทธิภาพ เพราะนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยป้องกันระบบไฟฟ้าของคุณให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ หากคุณสนใจก็เข้าไปดูสินค้าได้เลย https://www.se.com/th/th/product-category/4200-circuit-breakers-and-switches/

และทั้งหมดนี้ คือเซอร์กิตเบรกเกอร์ หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจการเลือกซื้อและประเภทของเบรกเกอร์ได้ง่ายมากขึ้น อย่าลืมว่าความปลอดภัยของบ้านต้องมาก่อน ดังนั้นการเลือกซื้อเบรกเกอร์จากแบรนด์ที่ไว้ใจได้ มีมาตรฐานสากลรองรับ อย่าง “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค” จะช่วยทำให้คุณมั่นใจในความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย

อ้างอิงจาก

https://www.se.com/th/th/product-category/4200-circuit-breakers-and-switches/ 

https://mall.factomart.com/circuit-breaker/type-of-circuit-breaker/ 

https://bgrimmtrading.com/types-of-circuit-breakers/ 

https://www.a-automation.co.th/article/243/circuit-breaker-เบรกเกอร์-คืออะไร 

https://www.torwitchukorn.com/th/articles/120271-อุปกรณ์เบรกเกอร์-circuit-breaker-มีกี่ประเภท-และใช้ทำอะไรได้บ้าง 

 

Gate

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ