Circuit Breaker "MCCB" จัดการวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
Circuit Breaker หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่าเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ต้องมีอยู่ทุกบ้านหรือโรงงาน เพราะ Circuit Breaker จะทำหน้าที่เหมือนสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดกระแสไฟฟ้าทันทีเมื่อตรวจพบกระแสส่วนเกินที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร (Short-circuit) หรือไฟฟ้าโหลดเกิน (Overload) ทุกสถานที่จึงต้องติดตั้งเบรกเกอร์เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ความเสียหายจะส่งผลกระทบอย่างเป็นวงกว้างเมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน
Circuit Breaker นั้นมีหลายประเภทตามพิกัดแรงดันไฟฟ้า ได้แก่ Low Voltage เบรกเกอร์, Medium Voltage เบรกเกอร์ และ High Voltage เบรกเกอร์ ส่วนเบรกเกอร์ที่เราใช้กันส่วนใหญ่จะเป็นประเภท Low Voltage นั่นก็คือ MCB, MCCB และ ACB เบรกเกอร์ อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Circuit Breaker ประเภทเบรกเกอร์ MCCB ที่มักจะติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรม เบรกเกอร์ MCCB คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร มีรุ่นไหนบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้
Circuit Breaker "MCCB" คืออะไร?
เบรกเกอร์ MCCB หรือ Molded Case Circuit Breaker คือเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนกับเบรกเกอร์ชนิดอื่น ๆ ทั่วไป นั่นคือเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อตรวจพบไฟรั่ว ไฟเกิน และไฟฟ้าลัดวงจร โดย Circuit Breaker ประเภทนี้จะใช้กับกระแสไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 100-2,300A และมีแรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติทนกระแสลัดวงจร และรองรับกระแสที่สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย หรือ MCB แต่น้อยกว่าเบรกเกอร์ ACB เบรกเกอร์ MCCB จึงนิยมใช้กันตามอาคารที่มีขนาดใหญ่รวมทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้เกริ่นไปแล้วข้างต้น โดยมักจะถูกติดตั้งไว้ในตู้โหลดเซ็นเตอร์ภายในโรงงานนั่นเอง
หลักการทำงานของ Circuit Breaker "MCCB"
หลังจากที่รู้จักกับเบรกเกอร์ MCCB เบื้องต้นกันไปแล้ว ต่อมาเรามาดูการทำงานของเบรกเกอร์ประเภทนี้กันต่อเลย ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าเบรกเกอร์ MCCB นั้นทำหน้าที่เช่นเดียวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดอื่น ๆ จึงมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน นั่นคือ ถ้าหากมีค่ากระแสไฟในวงจรเกินพิกัดที่เบรกเกอร์นั้น ๆ สามารถรับได้ (ในกรณีของ MCCB ก็คือ 100-2,300A) หน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ก็จะเปิดวงจร ทำให้เกิดเบรกเกอร์ทริปนั่นเอง โดยหลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นมีอยู่หลายวิธี ได้แก่ Thermal Trip, Magnetic Trip, Thermal-Magnetic Trip, และ Solid State Trip หรือ Electronic Trip
อย่างไรก็ตาม ชุดตัดวงจรของเบรกเกอร์ MCCB ส่วนใหญ่ จะทำงานแบบ Thermal Trip ที่จะมีแผ่นโลหะไบเมทัลจำนวน 2 แผ่น โดยทั้ง 2 แผ่นจะทำจากโลหะต่างชนิดกัน มีสัมประสิทธิ์ความร้อนไม่เท่ากัน ทำให้เมื่อมีกระแสไฟไหลผ่าน โลหะไบเมทัลก็จะเกิดการโก่งตัว ทำให้ไปปลดอุปกรณ์ทางกลส่งผลให้เกิดเบรกเกอร์ทริปหรือการตัดวงจรไฟฟ้านั่นเอง
Circuit Breaker MCCB กับ MCB ต่างกันอย่างไร
นอกจากเบรกเกอร์ MCCB แล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อเบรกเกอร์ MCB หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยด้วยเช่นกัน ทำให้หลายครั้งคนมักจะสับสนว่าควรเลือกซื้อประเภทไหนจึงจะถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบรกเกอร์ทั้งสองประเภทนี้มีพิกัดทนกระแสใช้งาน (AT) ที่คล้ายกัน เราจึงต้องดูที่ค่าพิกัดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่ยังคงปลอดภัยของเบรกเกอร์ตัวนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม เบรกเกอร์ MCB จะมีขนาดเล็กกว่า ทำให้เหมาะสำหรับใช้งานในบ้านพักอาศัยที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100A เท่านั้น ซึ่งต่างจาก MCCB ที่มักจะนำมาใช้งานในอาคารขนาดใหญ่หรือโรงงาน
Molded case circuit breaker (MCCB) จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
Circuit Breaker แบบ MCCB จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามความต้องการของคุณ เบรกเกอร์ MCCB ของเรา ถูกออกแบบมาโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าได้อย่างอัตโนมัติ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงและมีความน่าเชื่อถือ ทำให้สามารถป้องกันระบบไฟฟ้าในกรณีที่เกิดการโหลดเกินหรือลัดวงจรได้อย่างดีเยี่ยม
แนะนำ EasyPact EZS Circuit Breaker น้องใหม่ที่ใคร ๆ ก็ชื่นชอบ
EasyPact EZS circuit breaker จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือเบรกเกอร์ MCCB รุ่นล่าสุดของเรา ที่มีคุณสมบัติใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนและมีขนาดเล็ก ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น อพาร์ตเม้นต์ หอพัก โรงแรมขนาดเล็ก โฮสเทล และอาคารพาณิชย์ โดยสามารถรองรับขนาดแอมป์เฟรมได้หลากหลายขนาด ได้แก่ 100/160/250/400/630A และมีกระแสลัดวงจรตั้งแต่ 25kA ไปจนถึง 50 kA เลยทีเดียว
หน้าที่ของ MCCB รุ่น EasyPact EZS
EasyPact EZS เป็นเบรกเกอร์ MCCB ที่ได้มาตรฐาน IEC60947-2 และ Green Premium ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อตรวจพบไฟรั่ว ไฟเกิน และไฟฟ้าลัดวงจร ได้อย่างดีเยี่ยม หมดกังวลเรื่องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้าไปได้เลย
EasyPact EZS มีกี่ขนาด เหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง
EasyPact EZS เรียกได้ว่าเป็นเบรกเกอร์ MCCB ที่มีให้เลือกใช้อย่างครอบคลุม ขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ มีอยู่ 3 Frame size ให้คุณได้เลือกสรรตามการใช้งาน คือ
- Frame 100A (แบบ 3P ขนาด WxHxD (mm) 75 x 130 x 60)
- Frame 160-250A (แบบ 3P ขนาด WxHxD (mm) = 105 x 161 x 86)
- Frame 400-630A (แบบ 3P ขนาด WxHxD (mm) = 140 x 255 x 110)
และรองรับขนาดกระแสตั้งแต่ 16-600A รวมถึงมีกระแสลัดวงจร 25-50 kA (25/30kA สำหรับรุ่น เฟรม 100A, 25/36 kA สำหรับรุ่นเฟรม 160-250A และ 36/50 kA สำหรับรุ่น เฟรม400A ขึ้นไป) และสำหรับการใช้งานในแต่ละรุ่น ลูกค้าควรเลือกซื้อรุ่นที่เหมาะกับกำลังไฟและการใช้งานในบ้านหรือโรงงานนั้น ๆ
Circuit Breaker ตระกูล Easy รุ่น CVS และ EZS แตกต่างกันอย่างไร
ในการเลือกซื้อ Circuit Breaker MCCB ในตระกูล Easy ของเรา ลูกค้าอาจกำลังสับสนว่าแต่ละรุ่นแตกต่างกันอย่างไรรวมถึงควรเลือกซื้อแบบไหนจึงจะเหมาะสม ไปดูกันว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์รุ่น CVS และ EZS แตกต่างกันอย่างไร เบรกเกอร์รุ่น EZS นั้นจัดอยู่ในประเภท Basic application ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนในการใช้งานมากนัก ในขณะที่รุ่น CVS จะมีความซับซ้อนเพิ่มเข้ามามากขึ้นเนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่กว่า โดยมีสเปกการใช้งานตามตารางด้านล่างนี้เลย
นอกจากนี้ ที่เบรกเกอร์ของเราทุกตัวจะมี QR Code ติดอยู่ที่บริเวณด้านล่าง โดยลูกค้าสามารถสแกนที่ตัวสินค้าเพื่อเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ตลอดเวลา
ข้อควรระวังในการติดตั้ง Circuit Breaker EasyPact EZS
แม้การติดตั้งเบรกเกอร์ EasyPact EZS จะขึ้นชื่อว่าทำได้ง่ายและไม่ซับซ้อน เจ้าของบ้านหรือเจ้าของกิจการก็ควรปรึกษาช่างหรือผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาทำการติดตั้งให้เพื่อมาตรฐานที่ถูกต้องและเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดในการติดตั้ง Circuit Breaker EasyPact EZS คือการดูขนาดกระแสไฟที่ต้องเหมาะสมกับเบรกเกอร์รวมถึงการใช้งานไฟฟ้าของเรา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากการติดตั้งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง หากคุณมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ในทันที และสามารถดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของเรา
ผู้เขียนบทความ