เบรกเกอร์ทริป ทันทุกเหตุการณ์ด้วยการเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ได้มาตรฐาน
เซอร์กิตเบรกเกอร์ คืออุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าที่จะทำหน้าตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นในระบบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสายไฟ ซึ่งการที่เบรกเกอร์ไฟฟ้าตัดวงจรอัตโนมัติเช่นนี้ เรามักจะได้ยินช่างเรียกกันอย่างคุ้นหูว่า เบรกเกอร์ทริป นั่นเอง อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เบรกเกอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน บทความนี้มัดรวมความรู้เกี่ยวกับเบรกเกอร์ทริป รวมถึงวิธีเลือกเบรกเกอร์ที่ถูกต้องมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าเอาไว้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
เบรกเกอร์ทริป เกิดจากอะไร
อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น เบรกเกอร์ทริปจะเกิดขึ้นเมื่อมีความผิดปกติที่วงจรไฟฟ้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นผลมาจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดของเบรกเกอร์ อย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่งสาเหตุของเบรกเกอร์ทริปได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
- โอเวอร์โหลด (Overload) เป็นสาเหตุของเบรกเกอร์ทริปที่มักพบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่เซอร์กิตจะสามารถผลิตได้ หรือมีการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมกันมากเกินไป การใช้ไฟฟ้ามากเกินพิกัดนี้ จะทำให้ภายในวงจรเกิดความร้อนสูงเกินไป ทำเบรกเกอร์ทริปลง และถ้าหากเกิดขึ้นบ่อย ก็อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเร็วขึ้นได้
- กระแสลัดวงจร หรือ Short-circuit ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยไม่แพ้โอเวอร์โหลด แต่มีความอันตรายมากกว่า ซึ่งกระแสลัดวงจรนี้ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด หรือฉนวนสายไฟฉีกขาด
- กระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน หรือ Ground Fault เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของเบรกเกอร์ทริป ที่คล้ายคลึงกับกระแสลัดวงจร เพียงแต่ ground fault จะเกิดขึ้นเมื่อสายไฟสัมผัสกับสายกราวด์ทองแดงเปลือยหรือกล่องเต้าเสียบที่ต่ออยู่กับสายกราวด์โดยตรง ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรและรั่วลงดิน
นอกจากนี้ แรงดันไฟฟ้า หรือ Voltage ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่ทำให้เกิดเบรกเกอร์ทริปได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความผิดปกติของแรงดันไฟที่มักเกิดขึ้นบริเวณแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้านั่นเอง
วิธีเช็กความเสี่ยง ป้องกันปัญหาเบรกเกอร์ไม่ทริป
ในชีวิตประจำวัน เรามักจะใช้ไฟฟ้ากันตามปกติโดยไม่ได้คำนึงว่าอาจจะมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านหรือสถานที่ทำงานของเรา แน่นอนว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของไฟฟ้านั้นอาจรุนแรงถึงขั้นที่เราไม่สามารถประเมินค่าได้ ดังนั้น การป้องกันไว้ก่อนจึงดีกว่าต้องมาแก้ไขภายหลัง เซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่คุณควรหมั่นตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ซึ่งคุณสามารถตรวจเช็กเบื้องต้นได้ง่าย ๆ โดยการกดปุ่มทดสอบการทำงาน หรือ test button ที่อยู่บนอุปกรณ์ ซึ่งถ้าหากเบรกเกอร์ยังคงทำงานปกติ ก้านโยกจะต้องทริปลงมายังตำแหน่ง OFF แต่ถ้าหากก้านโยกไม่ทริปลงมา นั่นหมายความว่าเบรกเกอร์ของคุณทำงานบกพร่อง ควรศึกษาคู่มือเซอร์กิตเบรกเกอร์และติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อรีบทำการแก้ไข
นอกจากนี้ ยังควรมีการบำรุงรักษา circuit breaker อย่างสม่ำเสมอ จะประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
- เช็ดทำความสะอาดฝุ่นที่เกาะอยู่บนชิ้นส่วนของฉนวน
- หล่อลื่นกลไกการทำงานด้วยน้ำมันเครื่องที่มีน้ำหนักเบา
- ตรวจสอบการเชื่อมต่อกับสายไฟ
เบรกเกอร์ไม่ทริป แก้อย่างไร
หากคุณตรวจเช็กอุปกรณ์แล้วพบว่าเบรกเกอร์ไม่ทริปลงอย่างอัตโนมัติ ทางที่ดีที่สุดคือติดต่อช่างไฟฟ้าหรือผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาตรวจสอบโดยด่วน เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้เบรกเกอร์ไม่ทริปลงแม้มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ระบบไฟฟ้าภายในบ้านหรือโรงงาน จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาต้นตอที่แท้จริงของปัญหา และแก้ไขได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
เบรกเกอร์ทริป บ่อยเกิดจากอะไร
ผู้ประกอบการหลายคน หรือบางครอบครัวอาจกำลังเผชิญอยู่กับปัญหากวนใจ เช่น เบรกเกอร์ทริปบ่อยอย่างหาสาเหตุไม่ได้ ทำให้กระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิต อีกทั้งยังทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีความเสี่ยงชำรุดเร็วขึ้นอีกด้วย ปัญหานี้จึงไม่ควรนิ่งนอนใจและควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วก่อนจะมีความเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้น เบรกเกอร์ทริปบ่อย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากระบบไฟฟ้าภายในบ้านที่ทำงานผิดปกติ รวมถึงการเลือกขนาดกระแสพิกัดของเบรกเกอร์ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้าน
หากเกิดเหตุการณ์เบรกเกอร์ทริปบ่อยครั้ง จะต้องมีการตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินหรือมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือไม่ เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุด เช่น ถ้าหากมีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ เจ้าของบ้านหรือสถานประกอบการก็ควรพิจารณาเปลี่ยนเบรกเกอร์ใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหาย และลดปัญหากวนใจ
ตัดปัญหาตั้งแต่ต้นตอ เบรกเกอร์ทริป ทันทุกเหตุการณ์ด้วยการเลือกใช้ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่ได้มาตรฐาน
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าเรื่องของไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ การเลือกเบรกเกอร์ที่ดีมีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งานก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของบ้าน หรือ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ซึ่งเบรกเกอร์ที่ดีนั้นจะต้องได้รับมาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) ที่เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยเบรกเกอร์จะต้องตัดวงจรไฟฟ้าอย่างรวดเร็วที่สุดเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าได้รับความเสียหายน้อยที่สุด หมดห่วงทุกปัญหาจากเบรกเกอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อใช้เบรกเกอร์จาก Schneider Electric เพราะเบรกเกอร์ของเราทุกรุ่น ผ่านมาตรฐาน IEC และตอบสนองได้ทุกความต้องการของคุณอย่างแน่นอน
แนะนำเบรกเกอร์มาตรฐาน เบรกเกอร์ ทริป ทันทุกเหตุการณ์
เลือกใช้เบรกเกอร์จาก Schneider Electric ลูกค้ามั่นใจได้เลยว่าปลอดภัย ได้มาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาด และยังมีบริการการขายที่ดีเยี่ยม ลองไปทำความรู้จักกับสินค้าของเราบางรุ่นกัน
- เบรกเกอร์รุ่น EasyPact EZS Molded case circuit breaker (MCCB) ทริปยูนิตรุ่น Thermal magnetic แบบ Fixed (ปรับตั้งค่าไม่ได้) ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานอาคารขนาดเล็กทั่วไป เช่น อพาร์ตเม้นต์ หอพัก โรงแรมขนาดเล็ก โฮสเทล และอาคารพาณิชย์ ใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อน
- เบรกเกอร์ ComPacT NSX, new generation เซอร์กิตเบรกเกอร์รุ่นใหม่ของเราที่รองรับกระแสสูงสุด 630 แอมป์ มาพร้อมดีไซน์ใหม่แบบครบวงจร และการเชื่อมต่อที่ดีกว่าด้วยระบบอัตโนมัติแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์นี้เหมาะสําหรับทุกโครงการของคุณ
- เบรกเกอร์ EasyPact CVS เซอร์กิตเบรกเกอร์ MCCB แบบปรับตั้งค่าได้ รองรับขนาด
นอกจาก 3 รุ่นข้างต้น Schneider Electric ยังมีเบรกเกอร์อีกหลายรุ่นให้คุณได้เลือกซื้อตามความต้องการ โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่ในเว็บไซต์ของ Schneider Electric ได้เลย
เบรกเกอร์และประเภทของเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
หลังจากที่เราทำความรู้จักกับเบรกเกอร์ และการทริปลงของเบรกเกอร์มาพอสมควรแล้ว ไปดูกันดีกว่าเบรกเกอร์นั้นมีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย
เบรกเกอร์สามารถแบ่งตามขนาดได้เป็น 3 ประเภท
- Miniature Circuit Breaker (MCB) หรือเบรกเกอร์ลูกย่อย ที่จะมีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100A โดยส่วนใหญ่มักนิยมนำมาใช้ภายในบ้าน หรือติดตั้งภายในตู้ Load Center ที่ใช้ควบคุมตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit)
- Moulded Case Circuit Breaker (MCCB) หรือโมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่มาพร้อมค่ากระแสที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1600A ซึ่งมากกว่า MCB จึงนิยมนำมาใช้ในอาคารพาณิชย์ หรืออาคารขนาดใหญ่
- Air Circuit Breaker (ACB) หรือแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6300A
Molded case circuit breaker จัดการวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ รองรับโรงงานอุตสาหกรรม
สำหรับ Molded Case Circuit Breaker (MCCB) คือ เบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ เหมาะทั้งสำหรับงานงานเชิงพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรม รองรับกระแสที่สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) ซึ่งที่ Schneider Electric เรามีให้ลูกค้าเลือกอย่างหลากหลาย ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นประเภทไหน ขนาดเท่าใด เราก็มีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณอย่างแน่นอน
ผู้เขียนบทความ