รู้จักกับ รั้วรวดหนาม มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร
การล้อม รั้วลวดหนาม ถือเป็นรั้วอีกประเภทหนึ่งที่หลายท่านให้ความสนใจ และคุ้นเคยกัน โดยนำมาใช้ในการกั้น และกำหนดขอบเขตของบ้าน ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างประเภทต่าง ๆ เพื่อให้มีการแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนได้อย่างชัดเจน และป้องกันการบุกรุกจากบุคคลอื่น ซึ่งบทความนี้เราได้นำข้อดี-ข้อเสีย และประโยชน์ของ การล้อม รั้วลวดหนาม มาฝากกัน เพื่อเอาไว้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มาล้อมรั้ว
รั้วลวดหนาม คืออะไร?
จุดเริ่มต้นของลวดหนาม รั้วลวดหนามผลิตด้วยลวดพันกับหนาม ลวดหนามเริ่มมีใช้ในยุค ค.ศ. 1800 เมื่อเกษตรกรมีความต้องการผลิตภัณฑ์รั้ว ที่มีลักษณะแหลมและราคาถูก เริ่มมีการออกแบบใช้ลวดพันกับหนาม หรือเรียกกันว่า “ลวดหนาม” ลวดหนามแบบพื้นฐาน ที่มีลวดหนาม 2-4 แฉก จากการใช้งาน พิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพสูง และเป็นที่นิยมมาก
รั้วลวดหนาม ถูกนำมาใช้เพื่อให้ผู้คน และสัตว์เข้า-ออกจากพื้นที่ อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ในการเลี้ยงปศุสัตว์หลายสายพันธุ์ เนื่องจากพวกสัตว์ จะไม่เข้าไปใกล้รั้วอีก เพราะว่าหนามทำให้เจ็บ รั้วลวดหนามถูกใช้ไปทั่วโลก และมีสามารถใช้รวมกับผลิตภัณฑ์รั้วประเภทอื่นได้อีกด้วย
ลวดหนามเบอร์ที่นิยมใช้ มีอะไรบ้าง?
ลวดหนามมีเบอร์อะไรบ้าง เบอร์ของลวดหนาม หรือขนาดของลวดที่เอามาใช้ผลิตลวดหนาม แต่ละเบอร์มีขนาดต่างกัน เบอร์ลวดหนามที่ใช้กันแพร่หลายมาจากมาตรฐาน SWG (Standard Wire Gauge) เป็นมาตรฐานของ British Standard Wire Gauge (BS3737 : 1964) ที่ใช้ในแบบสากล รวมถึงประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้ ในปัจจุบัน นิยมใช้ลวดหนามเบอร์ 13, เบอร์ 14 และเบอร์ 15
ตารางเทียบเบอร์ลวดหนามเป็นมิลลิเมตร ตามมาตรฐาน SWG
เบอร์ลวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.)
เบอร์ลวด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.)
#10 3.20
#1 13.00
#12 2.65
#13 2.40
#14 2.00
#15 1.80
ลักษณะของหนาม
ลวดหนามในปัจจุบัน มีรูปแบบการพันหนามอยู่ 2 แบบ คือ
การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)
เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวม ๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้ว จะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต ตัวอย่างมีให้เห็นตามทั่วไป
การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)
เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ ที่มีการพันเกลียวนามแบบไขว้สลับ ตัวหนามจะแน่นเป็นพิเศษ แข็งแรงไม่มีหลุด ที่สำคัญเส้นลวด จะมีการพันสลับที่แน่นกว่าแบบเดิม หรือแบบพันเกลียวปกติ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของลวดหนามที่พันเกลียวด้วยลักษณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามอลูซิงค์ ไวน์แมนก็มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ ทำให้ขึงตึง ไม่หย่อน
รั้วลวดหนามมีประโยชน์อย่างไร?
รู้หรือไม่ว่า การนำวัสดุที่ทำจากลวดหนาม หรือเหล็ก มาใช้ในการล้อมรั้ว มีข้อดีและประโชยน์ ดังนี้
ป้องกันการบุกรุกการล้อมรั้วด้วยลวดหนาม จะช่วยทำให้คุณสามารถป้องกันการบุกรุกพื้นที่บ้าน และส่วนต่าง ๆ ภายในที่ดินจากบุคคลภายนอก เพื่อป้องกันอันตรายและป้องกันการโจรกรรมภายในบ้าน นี่จึงเป็นข้อดีอย่างยิ่งที่หลายคนเลือกการล้อมรั้วลวดหนาม
สร้างความสวยงามภายในบ้านบางครั้งอาจมี การล้อมรั้วลวดหนาม เพื่อตกแต่งบ้าน หรือพื้นที่ภายนอกที่เหลือต่อการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ โดยการล้อมรั้ว และปลูกต้นไม้ เพื่อประดับตกแต่งบ้านให้มีความสวยงามจากธรรมชาติ
กำหนดขอบเขตบริเวณแบบชัดเจนเหตุผลหลักของการล้อมรั้วลวดหนามนั้น เพื่อกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน สำหรับขอบเขตบริเวณบ้าน และที่ดิน เพื่อป้องกันการรุกล้ำในพื้นที่ส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน หรือการทำประโยชน์จากผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
ราคาถูก แข็งแรงทนทานอีกหนึ่งเหตุผลที่หลายคนเลือกใช้รั้วลวดหนามเป็นตัวช่วยในการล้อมรั้ว เพราะวัสดุชนิดนี้มีราคาถูกมาก สามารถซื้อได้ในจำนวนที่มาก แถมยังมีประสิทธิภาพในความแข็งแรง ทนทาน ต่อสภาพอากาศ และใช้งานได้เป็นอย่างดี
วิธีการสร้างรั้วลวดหนาม
สำหรับวิธีการสร้างรั้วลวดหนามนั้น เป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพราะมีขั้นตอนในการล้อมรั้วที่ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องใช้ทักษะในด้านงานช่างสักเท่าไหร่นัก แต่หากคุณต้องการให้งานออกมาดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรจ้างช่างผู้รับเหมา เพื่อเข้ามาช่วยในการทำรั้วเหล่านี้ โดยวิธีการสร้างรั้วลวดหนามด้วยตนเองมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผสมปูน
ผสมปูนเตรียมไว้เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเททับบริเวณเสาหลัก ซึ่งจะช่วยให้เสาหลักมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ในขั้นตอนนี้ให้ผสมปูนตามสูตรปกติ ปูน ทราย หิน อัตราส่วน 1:2:4 เพื่อให้ได้ปูนที่มีคุณภาพ
2. ขุดเสาหลัก
ขุดดินในพื้นที่บริเวณที่ต้องการจะตั้งเสาหลัก โดยใช้เสียมแบบสามเหลี่ยม และใช้อุปกรณ์ในการตักดิน เพื่อตักดินออกในตอนขุด โดยขุดให้ได้ความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร
3. ตั้งเสาหลัก
นำเสาหลักแบบเสาเหลี่ยมที่เตรียมไว้ มาลงในหลุมแล้วจัดการวางระยะห่างของเสาให้พอดี หลังจากนั้นนำปูนที่คุณได้ผสมเตรียมเอาไว้ นำมาเทใส่บริเวณต้นเสาของเสาหลัก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงในการยึดรั้วและเสาหลัก ในตอนเทปูน ควรมีการวัดระดับความสูงของเสาให้เท่ากัน
4. ขึงเส้นเชือกเอ็น
นำเชือกเอ็นมาขึงให้ได้ขนาดที่ต้องการจะล้อมรั้ว โดยขึงด้านบนสุด และด้านล่างสุดของเสา เพื่อให้คุณสามารถนำลวดมาพันกับเสาได้อย่างตรงกันทุกเสา เพื่อให้ได้รั้วที่สวยงาม
5. พันลวดหนาม
ขนาดลวดหนามที่ใช้กันส่วนใหญ่มีทั้งเบอร์ 12 และเบอร์ 14 ซึ่งแน่นอนว่า จะแตกต่างกันตรงความหนา และขนาดที่นิยมใช้ในการทำรั้วลวดมักเลือกใช้เบอร์ 14 เพราะมีความหนาและขนาดเส้นใหญ่กว่า วิธีการก็ง่ายนิดเดียว เพียงใช้ชะแลงขึงลวดหนามให้ตึง และใช้กิ๊บยึดลวดหนามไว้กลับเสาหลักโดยการตอกด้วยค้อนให้แน่น เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ
ข้อควรระวังใน การล้อมรั้วลวดหนาม
การขึงลวดหนาม
หากคุณขึงลวดหนามในตอนทำครั้งแรกไม่ตึงพอ จะทำให้ลวดหนามหย่อน และไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน อาจจะทำให้สัตว์ หรือผู้บุกรุก เข้ามาในเขตของบ้านคุณได้
การเลือกใช้ลวดหนาม
ควรเลือกใช้ลวดหนามเกรดดีมีคุณภาพ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม หากลวดหนามเกิดสนิม จะทำให้เสื่อมสภาพ และมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปกติ
การเทพื้นเสาหลัก
ควรมีการผสมปูนให้ได้สัดส่วน และเทปูนให้แน่นบริเวณต้นเสา ตั้งแต่บริเวณที่ขุด จนถึงโคนเสา หากเทปูนลงไปไม่สม่ำเสมอกัน ก็อาจจะทำให้เสาหลักล้มลงได้อย่างง่าย ๆ เมื่อเกิดพายุ หรือลมแรงขึ้น ดังนั้น จึงควรมีความรอบคอบในการเทปูนเพื่อถ่วงเสาหลักให้มีน้ำหนักที่มั่นคง เป็นต้น
แนะนำ ลวดสลิง ขึงแทนรั้วลวดนาม ที่สามารถรับน้ำหนักได้มหาศาล แข็งแรง
การล้อมรั้วลวดหนาม เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเลือกวัสดุในการล้อมรั้ว เพื่อป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอก เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ของคุณอย่างชัดเจน โดยการเลือกใช้วัสดุลวดหนามนั้น มีข้อดีหลายด้าน เช่น ใช้งานได้ง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม แถมยังมีราคาที่ถูกมาก ๆ ทำให้คุณประหยัดงบประมาณอีกด้วย เพียงการติดตั้งไม่กี่ขั้นตอน ก็จะทำให้คุณสามารถมีรั้วลวดหนามไว้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
ผู้เขียนบทความ
LINE: @kachathai ... อ่านเพิ่มเติม