พาไปรู้จักกับการทำงานของลิฟท์ ลิฟท์มีกี่ประเภทกันแน่

ลิฟท์ (Elevation หรือ Lift) เครื่องทุนแรงชนิดหนึ่งที่เป็นพาหนะเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ในทางแนวดิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า มีโครงสร้างเป็นแท่งเหล็ก หรือแผ่นเหล็ก ที่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายผู้คน หรือสิ่งของขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้มีความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย และยังช่วยเบาแรงในการขนส่งได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในกการยกของ สินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงภายในอาคารที่เป็นตึกสูง ๆ เช่น บ้าน คอนโด ตึกระฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ การเลือกใช้งาน ลิฟต์ ขึ้นอยู่กับผู้เลือกใช้งาน เลือกตามประเภทของลิฟต์ ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานนั่นเอง

 

ประเภทของ ลิฟต์ มีอะไรบ้าง?

แยก ลิฟท์ ตามประเภทของ Diving System แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

ลิฟท์ที่เป็นระบบไฮดรอลิค

เป็นลิฟท์ที่ส่วนใหญ่นิยมใช้ยกของที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ภายในกระบอกจะบรรจุสารของเหลวอยู่ โดยมีมอเตอร์ใช้ในการควบคุมระบบในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง และหยุดตามความสูงที่ผู้ใช้งานต้องการ ซึ่งลิฟท์ประเภทนี้ จะมีระบบไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย และสามารถมองเห็นระบบการทำงานของตัวเครื่องได้ชัดเจน

ลิฟท์ประเภทนี้ จะมีข้อเสีย คือ ตัวอุปกรณ์มีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับการยก หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของที่ใช้ความสูงมาก ๆ หรือเป็นลิฟท์ที่จำกัดความสูงในการใช้งานนั่นเอง เพราะประสิทธิภาพการทำงาน และความแข็งแรงจะน้อยลง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากจากการหมุนของตัวมอเตอร์ และลูกสูบที่ใช้ปั๊ม

ลิฟท์ที่เป็นระบบสลิง

เป็น ลิฟต์ ที่มีสายเคเบิ้ลในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง สามารถใช้งานได้หลากหลายกว่าลิฟท์ระบบไฮโดรลิก ห้องลิฟท์จะมีการยกขึ้นโดยผ่านรอกไฟฟ้าต่อเข้ากับมอเตอร์ไฟฟ้า  จะมีระบบเกียร์ในการควบคุมความสมดุลในการเคลื่อนที่ สามารถช่วยให้ประหยัดพลังงาน  เพราะมอเตอร์จะใช้แรงขับเคลื่อนแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ก็สามารถยกห้องขึ้นมาได้แล้ว นอกจากนี้ ห้องบรรทุก กับน้ำหนักที่ไว้ถ่วง ทำให้การเคลื่อนที่สามารถอยู่ในรางเลื่อนเพื่อไม่ให้น้ำหนักเลื่อนเหวี่ยงไปมาได้อีกด้วย

แยก ลิฟท์ ตามประเภทของของการใช้งาน

เราสามารถแยกลิฟท์ตามประเภทของของการใช้งานได้เป็นหลายประเภท เช่น

  • ลิฟท์บ้าน

ประเภทที่เห็นได้ชัดเจนแบบ อย่างลิฟท์บ้าน  เป็นลิฟท์ที่ใช้ติดตั้งภายในตัวอาคารของบบ้าน จะมีขนาดเล็ก  ซึ่งมีการระบุพื้นที่สำหรับติดตั้งอย่างเหมาะสมกับพื้นที่จำกัด จะมีลักษณะเป็นห้องด้านหนึ่งติดกับตัวบ้าน และอีกด้านหนึ่งสามารถเปิด-ปิด ระหว่างเข้า-ออกได้ เพื่อขนส่ง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่าง ๆ  แทนการขึ้น-ลงทางบันได ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก สำหรับบ้านที่มีคนชรา คนท้องและเด็ก นอกจากนี้เป็นลิฟท์ที่จะมีระบบความปลอดภัยในระหว่างการใช้งานอีกด้วย

  • ลิฟท์ยกของ หรือ X-Lift

เป็นลิฟท์ที่นิยมใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อช่วยผ่อนแรงในการยก ขน ลากสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ๆ  ซึ่งการออกแบบลิฟท์ประเภทนี้ จะต้องมีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ปลอดภัย และประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะลิฟท์ขนของในโรงงาน จะต้องมีความแข็งแรงที่พอเหมาะกับการใช้งาน

  • ลิฟท์โดยสาร

เป็นลิฟท์ที่ใช้สำหรับขนส่งผู้โดยสารทั่วไป มักนิยมใช้ตามอาคารสำนักงานหรือที่อยู่อาศัย

  • ลิฟท์รถยนต์

ใช้ยกรถยนต์ขึ้นบนตึกหรืออาคารที่มีทางเข้าแคบ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเคลื่อนย้าย

1. เครื่องจักรขับลิฟท์ (Traction Machine)

เป็นอุปกรณ์หลักของระบบลิฟท์ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนลิฟท์ขึ้นลง

2. ชุดลูกถ่วง (Counterweight)

เป็นโครงเหล็กซึ่งบรรจุก้อนน้ำหนักที่ทำด้วยเหล็กหล่อ ทำหน้าที่ถ่วงดุลกับน้ำหนักของลิฟท์และจำนวนผู้โดยสารเพื่อให้มอเตอร์ลิฟท์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

3. รางลิฟท์ (Guide Rail)

เป็นเหล็กรูปตัว T ทำหน้าที่นำร่องให้ลิฟท์วิ่งขึ้นลงในแนวที่กำหนดและรักษาตำแหน่งตัวลิฟท์ให้ทรงตัวและได้ศูนย์ตลอดเวลา รางลิฟท์มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดของตัวลิฟท์ น้ำหนักบรรทุกและความเร็วลิฟท์ เป็นต้น โดยทั่วไประบบลิฟท์จะมีรางขนาดใหญ่สำหรับนำร่องตัวลิฟท์และรางขนาดเล็กกว่าสำหรับนำร่องชุดลูกถ่วง

4. ตู้โดยสาร (Lift Car)

เป็นห้องโดยสารที่ยึดกับโครงเหล็กกล้าที่แข็งแรง พร้อมอุปกรณ์นิรภัย (Safety Gear) ป้องกันไม่ให้ลิฟท์ตกเมื่อ สลิง ขาด ตู้โดยสารมีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทและน้ำหนักบรรทุกของลิฟท์

5. บัฟเฟอร์ (Buffer)

เป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ตัวลิฟท์กระแทกกับพื้นบ่อลิฟท์ กรณีลิฟท์วิ่งเลยชั้นล่างสุดบัฟเฟอร์จะผ่อนแรงกระแทกเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร

6. ตู้คอนโทรล (Controller)

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของลิฟท์ทั้งระบบ เช่น ควบคุมความเร็ว ควบคุมการเปิดปิดประตูจัดคิวการวิ่งรับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น และชนิดของคอนโทรลดังกล่าวยังแตกย่อยออกตามประเภทระบบขับเคลื่อนด้วย เช่น VVVF , DC Drive เป็นต้น

7. ประตูหน้าชั้น (Landing Door)

ระบบลิฟท์ทั่วไปจะมีประตู 2 ส่วน คือ ประตูในลิฟท์ (Car Door) และประตูหน้าชั้นต่าง ๆ ตามจำนวนชั้นจอดของลิฟท์ ปกติประตูหน้าชั้นจะเปิด-ปิดได้ก็ต่อเมื่อตัวลิฟท์จะต้องจอดอยู่ที่ชั้นนั้นและประตูที่ชั้นอื่นจะเปิดไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้งานมีความปลอดภัยสูงสุด ประตูลิฟท์มีหลายแบบ ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปจะมี

เปิดจากกึ่งกลาง (Center Opening)

เปิดจากด้านข้าง (Slide Opening)

8. สลิงลิฟท์ (Wire Rope)

ใช้สำหรับแขวนตัวลิฟท์และชุดลูกถ่วง ฉุดให้ลิฟท์ขึ้นลงด้วยแรงเสียดทานของลวดสลิงกับร่องของมู่เล่ย์

9. ปุ่มกด (Button)

ใช้สำหรับเรียกลิฟท์รับ-ส่งไปยังชั้นต่าง ๆ ที่ต้องการ แผงปุ่มกดมีอยู่ 2 ส่วน คือ

แผงปุ่มกดในลิฟท์ (Car Operating Panel) ประกอบด้วย

การบำรุงรักษา ตรวจเช็คลิฟท์

  1. ตรวจเช็คระบบเบรคและอุปกรณ์
  2. ตรวจเช็คชุดเซฟตี้ Governor
  3. ทำความสะอาดอุปกรณ์ลิฟท์ทุกส่วน
  4. ตรวจเช็คชุดประตูชานพัก ประตูนอก ประตูใน
  5. ตรวจเช็คน้ำมันราง ชุดข้อต่อ จุดหมุนต่างๆ
  6. ตรวจเช็ค การทำงานของไฟแสงสว่างฉุกเฉิน อินเตอร์คอม กระดิ่ง แบตเตอรี่
  7. ตรวจเช็คสัญญาณชั้น ลูกศรการขึ้น-ลง และสัญญาณเสียงแจ้งเตือน
  8. ตรวจเช็คเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดสลิงขับลิฟท์
  9. ตรวจเช็ค ระดับชั้น การจอดเสมอระดับชั้นหรือไม่
  10. ตรวจเช็คสภาพความตึงของลวดสลิงขับลิฟท์
  11. ตรวจเช็ค ผ้าเบรก ทำความสะอาด
  12. ตรวจเช็คชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่มีการเคลื่อนที่ทั้งหมด และทำความสะอาด

Kacha
รอกไฟฟ้า เครนยกของ ชั้นวางของเหล็กราคาโรงงาน ราคาโรงงาน สินค้าของแท้ มาตรฐานรับรอง ตรวจสอบผ่าน จป.1 บริการดี ราคากันเอง ให้คำปรึกษาและวิธีการยกอย่างปลอดภัย.
LINE: @kachathai ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

Kacha

writer

โพสต์เมื่อ

Kacha

writer

โพสต์เมื่อ

Kacha

writer

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ