หลักการออกแบบสวนในพื้นที่จำกัด สำหรับที่พักอาศัย

"งานภูมิทัศน์" หมายถึงพื้นที่ภายนอกอาคารที่มีการปรับแต่งพื้นที่ให้มีประโยชน์ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ มีความร่มรื่นสวยงามและมีเอกลักษณ์ รวมทั้งการมีองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น ระบบการให้แสงสว่าง ระบบให้น้ำต้นไม้ ระบบระบายน้ำ  ระบบอำนวยความสะดวก เช่น ม้านั่ง ถังขยะ ป้าย ตลอดจนสิ่งประเทืองใจ เช่น น้ำพุ น้ำตก หรือประติมากรรม

งานภูมิทัศน์มีทั้งขนาดเล็กที่ไม่ซับซ้อนที่เรียกว่าสวนประดับ หรือ สวนหย่อม ไปจนถึงงานซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ เช่น สวนสาธารณะขนาดใหญ่ในเมือง งานภูมิทัศน์โรงแรมพักผ่อนหรูขนาดใหญ่ งานผังบริเวณโครงการขนาดใหญ่ งานลานเมืองและสถานที่สำคัญอื่นๆ

สวนขนาดเล็กภายในบ้านพักอาศัย

รูปแบบของสวนสำหรับที่พักอาศัยนั้นมีอยู่หลายแบบและบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับแปลนของบ้าน อย่างเช่น บ้านเดี๋ยวที่อาจจะมีพื้นที่ว่างบริเวณด้านหน้า ด้านข้างหรือหลังบ้าน ทาวเฮาส์ที่อยู่ริมสุด อาจจะมีพื้นที่บริเวณด้านข้างเหลือ การจัดสวนจึงขึ้นอยู่กับพื้นที่ซึ่งมีอยู่เป็นหลัก

  • สวนหน้าบ้าน : พื้นที่ประมาณ 15-24 ตรม.
  • สวนหน้าข้างบ้าน : พื้นที่ประมาณ 16-28 ตรม.
  • สวนหลังบ้านบ้าน : พื้นที่ประมาณ 26-40 ตรม.

 

วางแผนจัดการสวนในพื้นที่ขนาดเล็กอย่างไรดี?

1. พิจารณาทิศทางของแสงธรรมชาติและทิศทางลม

แสงจากธรรมชาติ เป็นปัจจัยพื้นฐานส่วนหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ของอาคารที่พักอาศัยดูกว้างขวางโปร่งโล่งมากขึ้น แสงสว่างโดยธรรมชาติสามารถทำเป็นสวนเพื่อปลูกต้นไม้เพิ่มความร่มรื่นให้กับบริเวณอาคาร เป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนสำหรับผู้พักอาศัย ทางเลือกของตำแหน่งพื้นที่สวน และโถงทางเข้าบ้าน หากอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือทิศใต้จะเป็นทิศทางที่ได้รับอิทธิพลของลมจากทิศใต้ได้ดี ดังนั้น หากบริเวณพื้นที่สวนปลูกต้นไม้หรือมีสวนและบ่อน้ำ จะทำให้ลมที่ผ่านทางนี้ พัดเอาอากาศบริสุทธิ๋สดชื่นเข้าไปในบ้านได้ อีกทั้งยังช่วยกรองแสง ให้แสงที่เข้าบ้านเป็นแสงอ่อนๆ บ้านจะเย็นมากขึ้น แต่ควรระวังเรื่องต้นไม้ที่ใหญ่และอยู่ใกล้กับประตูหรือหน้าต่างของบ้านมากจนเกินไป ก็อาจจะบังลมได้เช่นกัน

2. กำหนดฟังก์ชั่นการใช้พื้นที่ในสวนแบบ MULTI-ZONAL SPACE

จัดสรรพื้นที่การใช้งานบริเวณสวนให้สามารถใช้งานได้หลากหลายและแบ่งแยกเป็นโซนการใช้งานเพื่อให้เป็นสัดส่วน เช่น โซนสำหรับการพักผ่อนหรือนั่งเล่น เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเก็บได้ พื้นที่โซนนี้จะได้ใช้สอยประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้

3. เลือกรูปแบบหรือสไตล์ของสวนที่ต้องการ

การจัดสวนเดิมทีมี 2 รูปแบบที่เห็นบ่อยๆ คือการจัดสวนแบบ Formal Style เป็นการจัดสวนที่อาศัยรูปทรงเลขาคณิตเป็นหลัก เช่น วัดรูปทรงต้นไม้เป็นรูปสามเหลี่ยม ทรงกระบอก สี่เหลี่ยม และอื่นๆ นิยมจัดให้มีความสมดุลกันทั้งด้านซ้ายและขวา อีกหนึ่งรูปแบบคือ Informal Style ที่เป็นการจัดสวนโดยไม่ได้อิงรูปทรงเลขาคณิตเป็นหลัก แต่อาศัยหลักความสมดุล นิยมใช้เส้นโค้งมากกว่าเส้นตรง รูปทรงของต้นไม้จะเป็นอิสระ และเป็นธรรมชาติ ส่วนสไตล์การตกแต่งสวนนั้นก็มีหลายแบบ เช่น แบบสวนสไตล์ญี่ปุ่น หรือเซน  แบบสวนสไตล์ฝรั่งเศส แบบสวนสไตล์อังกฤษ หรือสวนสไตล์บาหลี

กำหนดฟังก์ชั่นการใช้พื้นที่ในสวน

1. โซนตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ

กำหนดสไตล์ในการจัดสวนเพื่อเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสวน เช่น ไม้พุ่ม ที่มีความสูงประมาณ 0.3-1.20 เมตร มีความสูงของไม้พุ่มมากกว่าหนึ่งระดับ เพื่อให้ลดหลั่นเป็นมิติที่สวยงาม ตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ที่สามารถปลูกอยู่กลางแจ้งได้ดี เช่น โกสน ไทรเกาหลี วาสนา ลิ้นมังกร จั๋ง ดาดตะกั่ว แต่ควรระวังเรื่องต้นไม้ที่ใหญ่และอยู่ใกล้กับประตูหรือหน้าต่างของบ้านมากจนเกินไป เพราะอาจจะบังลมได้เช่นกัน

2. โซนทางเดินสวน/โซนสนามหญ้า

เลนทางเดินควรปูด้วยวัสดุปูพื้นที่ไม่ลื่น หลีกเลี่ยงวัสดุปูพื้นที่มีลวดลายมากเกินไป และแบ่งแยกสีแตกต่างจากสีของพื้นดินและหญ้าชัดเจน เพื่อให้ปลอดภัยและสะดวกต่ออผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัย

3. โซนพักผ่อน

เลือกเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งที่เคลื่อนย้ายได้ หรือเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถใช้งานแบบกลางแจ้งได้ หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้มากกว่าหนึ่งวัตถุประสงค์ก็เป็นทางเลือกที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวางแผนไอเดียสวนบนดาดฟ้าที่มีพื้นที่ว่างเหลือเฟือ

4. ระบบแสงสว่าง เช่น เสาไฟ ไฟอินไดเรก ไฟซ่อน

Lighting Design หรือการออกแบบแสงสว่าง สามารถแยกย่อยได้ทั้ง Interior Exterior Landscape ไปจนถึง Light art installation ความสำคัญของการออกแบบแสงนั้น ไม่ใช่เพียงแค่วัตถุประสงค์ในการให้แสงสว่างเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมคุณค่าของงานสถาปัตยกรรม และงานภูมิทัศน์ อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกอภิรมย์ให้แก่ผู้อยู่อาศัย ไปจนถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานในเวลากลางคืน

ข้อมูลวัสดุศาสตร์ และหลักการออกแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

บ้านและสวน

idealhome .co. uk

novabizz. com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ