การออกแบบห้องครัวไทย มีกี่รูปแบบ?

การต่อเติมครัวไทยเพิ่มเติมในบริเวณที่พักอาศัย เป็นที่นิยมสำหรับคนไทยหรือชาวเอเชีย เนื่องจากการประกอบอาหารที่ต้องใช้พื้นที่และค่อนข้างเป็นคราบสกปรกได้ง่าย อีกทั้งยังมีเรื่องของกลิ่นอาหาร การต่อเติมส่วนของครัวไทย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ต้องการพื้นที่สำหรับการทำอาหารที่สะดวกและทำความสะอาดได้ง่าย

แล้วครัวไทยที่ใช้งานได้สะดวกควรเป็นอย่างไร?

  • มีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน เพราะลักษณะการทำอาหารไทยคือมีการโขลก สับ มีการใช้แรงและพื้นที่ค่อนข้างเยอะ
  • การเลือกใช้วัสดุที่ทำความสะอาดง่าย เพราะวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารไทย มักจะมีกลิ่น สี และความมัน ที่ทำให้พื้นที่บริเวณรอบเลอะได้ง่าย วัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย เช่น พื้นกระเบื้องที่มีความกึ่งด้าน ผิวเรียบไม่เป็นร่อง สามารถเช็ดทำความสะอาดง่าย 
  • มีหน้าต่างระบายกลิ่น หรืออยู่ใกล้กับบริเวณสวนซึ่งอากาศถ่ายเทสะดวก และเปิดรับแสงสว่างได้ แต่อาจจะต้องระวังเรื่องทิศทางลมซึ่งอาจจะพัดไปทางบ้านของเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่เข้าไปในบ้านของตัวเอง
  • มีพื้นที่การใช้งานบริเวณเคาน์เตอร์ครัวที่คล่องตัว สามารถหยิบจับทำความสะอาด หรือเก็บของใช้ต่างๆ ได้ง่ายและเป็นสัดส่วน
  • มีส่วนของหลังคาต่อเติมเพื่อกันแดดและฝน ซึ่งต่อเติมขึ้นมาใหม่ และควรมีรางรับน้ำฝน อยู่ภายในแนวเขตที่ดินของบ้านเราเอง

 

การจัดวางผังครัวครัวไทยแบบ L หรือ L-Shaped Kitchen

การจัดวางฟังก์ชั่นผังครัวแบบตัว L จะเหมาะกับพื้นที่ตั้งแต่ 6 ตร.ม. ขึ้นไป และจะต้องมีช่องเปิดอย่างน้อย 2 จุด ตัวอย่างเช่น ห้องชุดคอนโดมิเนียมที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ร้านอาหารขนาดเล็ก หรือ บ้านพักอาศัยทั่วไป

นอกจากพื้นที่ และจำนวนช่องเปิดที่เป็นข้อพิจาณาหลักแล้ว การจัดผังครัวในลักษณะนี้มักไม่มีรูปแบบการวางฟังก์ชั่นที่เจาะลึกตายตัว 100% ดังนั้นการจะจัดวางตำแหน่งฟังก์ชั่นใดๆ จะต้องดูความเหมาะสมของตำแหน่งพื้นที่ตั้ง การถ่ายเทอากาศ บริบทสภาพแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุ ลักษณะรูปแบบการใช้งาน ความเหมาะสมในด้านสุขลักษณะ (เช่น กลิ่น ความสกปรก และความชื้น) ฯลฯ ประกอบเพิ่มเติมในการพิจารณาด้วยเช่นกัน

การจัดวางผังครัวแบบตัว L ที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในระดับสากล สามารถแบ่งลักษณะ Zoning ความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานได้ ดังนี้

  • 1. พื้นที่สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง ซึ่งมักนิยมใช้ตู้เย็นเป็นส่วนใหญ่
  • 2. พื้นที่สำหรับล้าง และทำความสะอาด ควรอยู่ในส่วนเคาน์เตอร์ด้านที่มีความยาวมากที่สุด และจะต้องจัดวางในบริเวณใกล้เคียงที่จะสามารถเชื่อมต่อกับ ส่วนที่ 1 และ 3 ได้อย่างสะดวก เพื่อความต่อเนื่องในการใช้งาน
  • 3. พื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร จะจัดวางอยู่ในบริเวณเคาน์เตอร์ด้านที่อยู่ติดกับส่วนที่ 2 เพื่อความต่อเนื่อง และความสะดวกในการใช้งาน

การจัดวางผังครัวแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen 

เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ขนาด  9 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวในร้านอาหาร การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้ ควรจัดวางพื้นที่สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง และพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหารให้อยู่ตรงข้ามกัน

โดยจัดวางพื้นที่สำหรับล้าง และทำความสะอาดและพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร ให้อยู่ในฝั่งเดียวกัน โดยพื้นที่ตรงกลางจะต้องมีความกว้างตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป ซึ่งเป็นความกว้างที่สามารถเดิน หมุนตัว หรือ กลับตัวทั้งด้านหน้า และหลังในระหว่างปรุงอาหารได้อย่างสะดวก และไม่เป็นอันตราย 

เนื่องจากการจัดวางผังแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen จะกินพื้นที่มากพอสมควร ดังนั้นควรมีช่องเปิด หรือ หน้าต่าง สำหรับการระบายถ่ายเทอากาศอย่างน้อย 2 จุด แต่ถ้าหากมีช่องเปิดน้อยกว่าที่กล่าวมา จะต้องติดตั้งระบบระบายอากาศ เช่น พัดลมดูดควัน และ พัดลมช่องระบายอากาศ ให้มีจำนวนที่เหมาะสมสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ครัว และรูปแบบการปรุงอาหาร

การจัดวางผังครัวแบบเกาะกลาง หรือ Island Kitchen 

เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ 12 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย(ขนาดใหญ่) หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวร้านอาหาร การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้ถ้าหากจัดวางในพื้นที่แบบ Open Space จะมีความสวยงามโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง

การจัดวางผังแบบเกาะกลาง หรือ Island Kitchen มีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่ เพื่อความเหมาะสมลงตัวในการเข้าคู่ได้กับผังครัวทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผังครัวแบบ I-Shaped Kitchen ผังครัวแบบ U-Shaped Kitchen หรือ ผังครัวแบบ L-Shaped Kitchen โดยตัวเกาะกลางจะต้องมีความสูงอย่างน้อย 90 ซม. และจะต้องมีพื้นที่ช่องว่างระหว่างเกาะกลาง และเคาน์เตอร์ติดผนังสำหรับใช้เป็นทางเดินกว้างตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดความกว้างที่สามารถเดิน หมุนตัว หรือ กลับตัวทั้งด้านหน้า และหลังในระหว่างปรุงอาหารได้อย่างสะดวก และไม่เป็นอันตราย

ในการออกแบบเกาะกลางนั้น สามารถทำได้ทั้งแบบถาวร และใส่ล้อสำหรับเคลื่อนย้ายได้ โดยรูปแบบของเกาะกลางนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะใช้งานเกาะกลางนั้นอย่างไร ถ้าในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นมากเท่าใดนักก็อาจจะทำเป็นเพียงเคาน์เตอร์โล่งๆสำหรับวางวัตถุดิบ หรือ ทานอาหารเท่านั้น แต่ในกรณีที่ต้องปรุงอาหารจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา เช่น ครัวในโรงแรม หรือ ร้านอาหาร อาจใช้เป็นอ่างล้างจาน หรือ เตาปรุงอาหารก็ได้

ในการทำเกาะกลางนั้น สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆเลยก็คือ งานระบบน้ำ และงานระบบไฟ ควรมีการวางแผนออกแบบให้แน่ชัดก่อนว่าจะใช้งานเกาะกลางเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นหลักก่อนที่จะสร้างจริง ก็เพื่อให้การติดตั้งไม่ยุ่งยาก การเก็บรายละเอียดงานเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูแลรักษาง่าย สามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยไม่เป็นอันตราย

องค์ความรู้ทฤษฏีการออกแบบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

  • บ้านและสวน

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ